4 ก.ย. 2022 เวลา 05:17 • ปรัชญา
ขออนุญาตผู้ถามนะคะ
ไม่ได้มีเจตนาล่วงเกิน
แต่ต้องการให้ข้อมูลด้วยกุศลเจตนา
การกล่าวถึงผู้มีคุณใหญ่
โดยเฉพาะพระพุทธเจ้า
ยิ่งต้องระวังมาก ทั้งกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม
ถ้าเป็นกุศลกรรมจะมีคุณมากและรวดเร็ว
ในทางตรงกันข้าม
ถ้าเป็นอกุศล ด้วยเจตนา
หรือไม่ก็ตาม จะเป็นโทษ
มหันต์
ขอยกตัวอย่าง 2 เรื่อง
1. กรรมที่ทำให้พระพุทธองค์ต้องบำเพ็ญเพียร
รวมถึงทำทุกรกิริยาถึง
6 ปี จึงตรัสรู้ ทั้งๆ ที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
แบบปัญญาธิกะ
(คือ การสร้างบารมีสูงในด้านปัญญา)
สาเหตุเกิดจากในชาติที่พระองค์เกิดเป็นพระโพธิสัตว์ (คือยังสร้างบารมี
เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า)
ในชาตินั้น ท่านได้พบพระพุทธเจ้า แต่ไม่เชื่อว่าเป็น
พระพุทธเจ้า และไม่เชื่อว่า
ท่านตรัสรู้จริง จึงพูดว่า
"การตรัสรู้ธรรมเป็นของยาก"
กรรมนั้นแม้จะเนิ่นนาน
หลายภพชาติจนข้ามกาล
ของพระศาสนา แต่ก็ตาม
มาให้ผลแม้ในพระชาติสุดท้ายในการตรัสรู้
2. นางอัมพปาลี
ในอดีตชาติ สมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนนางเคยเกิดเป็นภิกษุณี
ได้ด่าว่าภิกษุณีอรหันต์ ว่า
"หญิงแพศยา"
จากกรรมนี้ แม้ในชาตินี้
กรรมดีที่เคยทำจะส่งผล
ให้เป็นอุบาสิกาในพระศาสนา แต่นางก็ต้องเป็น
หญิงคณิกา (โสเภณี)
จึงอยากฝากให้พุทธศาสนิกชนตระหนัก
และเพียรระวังกรรม
ทุกชนิด ทั้งทางกาย วาจา
และใจ อย่าสร้างกรรม
เพราะความไม่รู้
และไม่คิดว่าเป็นกรรม
เพราะเวลาที่กรรมส่งผล
ถ้าเป็นกุศลก็เป็นกำลังให้เกิดความสุขทั้งในปัจจุบัน
และเบื้องหน้าจนถึงความพ้นทุกข์
แต่ถ้าเป็นอกุศล ก็จะคอย
เบียดเบียนให้ได้รับแต่ความทุกข์ตลอดไปจนกว่า
จะหมดกำลังของกรรม
การพ้นจากกรรม
มีได้ทางเดียว คือ มรรค 8
เมื่อดับทุกข์ได้ทั้งหมด
กรรมที่เหลือจึงเป็นอโหสิกรรม
สาธุค่ะ
โฆษณา