6 ก.ย. 2022 เวลา 13:58 • ปรัชญา
รัฐโลกวิสัยคืออะไร? (Secular state)
รัฐโลกวิสัย(Secular state) คือรัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางศาสนา เป็นการไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือปฏิบัติการทางศาสนาใดๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค ไม่ว่าศาสนาใดหรือไม่มีศาสนาก็ตาม โดยส่วนมากจะไม่มีศาสนาประจำชาติ หรือหากมีศาสนาประจำชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน และแยกบทบาทรัฐกับศาสนาออกจากกัน
2
( คำว่า secular state บางคนก็แปลว่ารัฐโลกียวิสัย หรือ รัฐโลกียะ หรือรัฐฆราวาส ผู้เขียนขอใช้คำว่ารัฐโลกวิสัย ตรงข้ามกับ religious state ซึ่งก็แปลว่ารัฐศาสนา หรือรัฐโลกุตระวิสัย)
2
Secular state ทั่วโลก มีทั้ง secular แท้ๆ ทั้งเป็นรัฐที่มีศาสนาประจำชาติ และรัฐกึ่งๆสรุปยาก หรือไม่ก็ไม่มีข้อมูลด้านความเชื่อ
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือประเทศต้นกำเนิดศาสนาใหญ่ๆหรือนิกายใหญ่ๆ อย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน อินเดีย เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ล้วนเป็น secular state ทั้งสิ้น
2
แล้วคำถามก็คือประเทศไทยเป็นรัฐโลกวิสัยหรือไม่?
จากนักวิชาการหลายๆคนได้กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้ถือตนเป็นรัฐโลกวิสัย เป็นรัฐแบบกึ่งๆรัฐศาสนา ด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยได้มีศาสนาเป็นเสาหลักของประเทศ เสมือนว่าเป็นรัฐที่มีศาสนาประจำชาติในเชิงวัฒนธรรม (พุทธศาสนา) โดยในกลุ่มประเทศที่เป็น “รัฐศาสนา” จะจัดว่า ไทย เป็น 1 ใน 5 ประเทศพุทธศาสนา และประเทศไทยก็มีดีเบตมาโดยตลอดว่าควรจะใส่ “พุทธศาสนา” เป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ในรัฐธรรมนูญ ?
2
ถ้าในแง่รัฐธรรมนูญไทยจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกระบุว่า "คลุมเครือ" เนื่องจากในรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุศาสนาประจำชาติไว้ แต่มีบางมาตราที่เกี่ยวข้องและยกชูศาสนาศาสนาหลักเป็นพิเศษ และในเชิงวัฒนธรรมและกิจกรรมต่างๆของทางภาครัฐก็ ล้วนมีกิจกรรมทางศาสนาผูกไว้อย่างแน่นแฟ้น หรือในทางองค์กรทางศาสนา และการเรียนการสอนในโรงเรียนก็มีวิชาเรียนพุทธศาสนา และกิจกรรมมางศาสนาต่างๆ
2
หากลองดูตัวอย่างจากประเทศอื่นที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานั้น มีเพียงกัมพูชาประเทศเดียว ที่ระบุไว้โดยใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมาเช่นนั้น ทั้งนี้รัฐธรรมนูญของกัมพูชา ระบุว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ (Buddhism shall be the religion of the State)
2
แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ และประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เขาเลือกวิธีที่จะไม่ระบุโดยตรงว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่เขาเลือกใช้ถ้อยคำว่า "สาธารณรัฐศรีลังกายกย่องพระพุทธศาสนาไว้ในลำดับแรก พร้อมกันนั้นก็เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องพิทักษ์ และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ขณะเดียวกันกับที่ต้องคุ้มครองศาสนาอื่นโดยเท่าเทียม และให้หลักประกันว่าบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้..."
2
ประเทศในโลกนี้ซึ่งมีจำนวนรวมเกือบสองร้อยประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ มีประเทศฝ่ายข้างน้อยเพียง 28 ประเทศที่มีบทบัญญัติในทำนองดังกล่าว ในจำนวนนี้มี 18 ประเทศเป็นประเทศมุสลิม
2
อย่างไรก็ดี รัฐโลกวิสัยจะดำเนินการปกครองบ้านเมืองโดยปราศจากอิทธิพลจากศาสนา และพึงให้องค์การศาสนาปกครองตนเองโดยปราศจากอิทธิพลของรัฐ ตามหลักการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร
2
โฆษณา