12 ก.ย. 2022 เวลา 01:27 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Thinking
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หลายประเทศงดส่งออก ไทยบอกไม่เป็นปัญหาแต่เป็นโอกาสในการส่งออก
1
จริงไหม?
จากสงคราม โรคระบาด ทำให้เกิดปัญหาทั้งการผลิตและlogistics ทำให้หลายประเทศงดส่งออกอาหารบางประเภท
ประเทศไทยนำเข้า 25% ผลิตในประเทศ 75% เลขนี้น้อยหรือมาก?
ถ้าค่าอาหารขึ้น ไทยจะมีผลกระทบมากกว่าประเทศรายได้สูง ขณะที่ไทยใช้เงินรายได้ไปกับอาหารประมาณ 1 ใน 4 แต่อเมริกาใช้ไม่ถึง 10% ไปกับค่าอาหาร รวมถึงยุโรป ออสเตรเลียที่ใช้เงินกับอาหารในสัดส่วนที่ต่ำเช่นกัน
รอบๆเรา มี อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ที่ใช้เงินไปกับค่าอาหารในสัดส่วนที่มากกว่าเรา อย่างฟิลิปปินส์ที่ใช้เกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ ค่าอาหารที่แพง คนที่มีรายได้น้อยถึงกับต้องไปเก็บกระดูกไก่มาทำเมนูอย่างปักปัก
1
ขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีความมั่นคงทางอาหารมากที่สุด ค่าอาหารต่อรายได้ไม่ต่างจากอเมริกา
คะแนนความมั่นคงทางอาหาร (Global food security index) ที่นำเอาสัมประสิทธิ์ของ food supply, การเข้าถึงอาหาร, คุณภาพและความปลอดภัยมาคิด ประเทศไทยนั้นอยู่กลางตารางของร้อยกว่าประเทศ ทั้งเรื่อง อุปทานของอาหาร, การเข้าถึง, และความปลอดภัยและคุณภาพ
ประเทศที่ได้ค่าสัมประสิทธิ์สูง อาจไม่ได้เด่นเรื่องเกษตรกรรม แต่กลับเด่นเรื่องงานวิจัยและเทคโนโลยีอาหาร, การเพิ่มปริมาณการผลิตต่อไร่ , อุปทานที่สูง, และสัดส่วนการใช้จ่ายอาหารต่อรายได้ที่ต่ำ
ลองคิด
เมื่อโลกขาดอาหาร คนผลิตจะอยากส่งออกมากกว่าเก็บไว้ในประเทศ ถ้าค่าอาหารเพิ่มขึ้นสองเท่า คนที่มีผลกระทบคือคนที่มีรายได้ต่ำ จากที่มีเงิน 100 บาทใช้ไปกับอาหาร 30 บาท จะกลายเป็นใช้เงิน 60 บาท และมีเงินเหลือไปทำอย่างอื่นอีกแค่ 40 บาทเท่านั้น
โฆษณา