11 ก.ย. 2022 เวลา 07:44 • ธุรกิจ
• มันขึ้นอยู่กับเราเองว่ากำลังอยู่ในบทบาทไหน:
2
• มุมมองหัวหน้างานทั่วไป: การใช้งาน “คนที่มีอีโก้สูง” ด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายไว้ให้พวกเค้า หัวหน้างานนั้นไม่จำเป็นต้องดูแลคนพวกนี้อะไรมากมาย ค่อนข้างมั่นใจว่างานสำเร็จและออกมาไม่แย่แน่ๆ เพราะความทะเยอทะยานมุ่งมั่นของพวกเค้าจะเป็นตัวขับเคลื่อนและถูกกดดันด้วยอัตตาของพวกเค้าเอง
3
• มุมมองลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน: คงไม่ชอบ “คนมีอีโก้สูง” แบบนี้ มันต้องมีการกระทบกระทั่งอย่างใดอย่างหนึ่งแน่ มันมีในทุกองค์กร อย่างที่กล่าวไป หัวหน้างานชอบเรียกใช้งานคนแบบนี้เสมอ ส่วนใหญ่ไม่สนว่าปัญหาอะไรเกิดขึ้น (รู้อยู่แล้ว) ขอแค่งานเสร็จก็พอ *คุณสมบัติของการสมัครงานอย่างหนึ่งคือ “สามารถทำงานในภาวะกดดันได้”
2
• มุมมองส่วนตัว: การใช้งาน “คนไม่มีความรู้” มันมีความเสี่ยงที่หัวหน้างานต้องแบกรับความรับผิดชอบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่เราในฐานะลูกน้องหรือทีมงานที่ยัง “ไม่มีความรู้” “แต่ได้โอกาสสำคัญนั้น” ก็ต้องรีบขวนขวาย เรียนรู้งานให้เร็วที่สุด “อะไรคือหัวใจของงาน” (ไม่ทำไม่ได้) ด้วยความอ่อนน้อมถ่อนตน เราจะเรียนรู้งานได้มากและเร็วขึ้น (มหาสมุทรยิ่งลึกยิ่งรองรับน้ำได้มาก)
2
***สรุปแล้ว อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนมีอีโก้ มากน้อยแตกต่างกันไป รักษาสมดุลให้พอเหมาะกับสังคมและองค์กรที่เราอยู่ อย่างน้อยสังคมจะบีบคั้นคุณเองในกรณีอีโก้ของคุณมีมากเกินไป (ก็พอมีดีบ้าง)
2
***ความไม่รู้นั้นไม่ผิด แต่ไม่รู้อะไรเลยและไม่รู้นานๆ ก็ทำให้เพื่อนเหนื่อยเหมือนกัน อะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้!!! มันกินแรงเพื่อนร่วมงานมากไป ไม่มีประโยชน์กับหัวหน้างานและองค์กรเลย (ไม่ดีเลย)
2
***คนเราสวมหมวกหลายใบ เพราะมีบทบาทหน้าที่หลายอย่างในแต่ละวัน ต้องพึงระลึกเสมอตอนนี้คุณจะต้องสวมหมวกใบไหน เมื่อไหร่จะต้องถอดออก
2
โฆษณา