12 ก.ย. 2022 เวลา 15:35 • ข่าว
กรมชลฯ กับแผนรับน้ำท่วม กทม. เทียบปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลัก 2554 VS 2565
หน้าฝนปีนี้เรียกว่า ชุ่มฉ่ำ เพราะฝนตกหนักเกือบทุกภาคของประเทศ และในสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ก็คงรู้ดีว่าเจอกับน้ำฝนหนักหนาขนาดไหน เรียกว่า “ระบายไม่ทัน” จนเกิดเหตุการณ์ “รถจมน้ำ” ในหลายๆ พื้นที่
1
ในภาพจำปี 2554 เชื่อว่าหลายคนคงไม่ลืม เพราะโดนน้ำเหนือไหลบ่า จนมาทับถมท่วมใน กทม. และอยู่นานจนเน่าเหม็น ส่วนหนึ่งเพราะ “เขื่อน” ที่เก็บกักน้ำก็มีมาก จำเป็นต้องระบายออก จึงทำให้ผู้คนต่างหวาดผวา และมีคำถามว่า ปีนี้จะเหมือนปี 2554 หรือไม่
2
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ที่ยืนยันว่า ปีนี้กับปี 2554 นั้นมีความแตกต่างกัน
อธิบดีกรมชลประทาน เริ่มอธิบายว่า ตอนนี้ภาพรวมน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ มีน้ำเก็บรวม ประมาณ 49,000 ล้าน ลบ.ม. และยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 27,000 ล้าน ลบ.ม.
เมื่อมาดูที่ 4 เขื่อนหลัก ที่อยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพลเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พบว่ามีปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 4,800 ล้าน ลบ.ม. ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่มีน้ำมากกว่าปีก่อน
“ในช่วงปลายเดือนตุลาคม จะสิ้นสุดฤดูฝน คาดการณ์ว่า ในปีนี้ถ้ามีน้ำใช้มากกว่า 10,000 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปีก่อน 7,700 ล้าน ลบ.ม. ก็จะทำให้สามารถมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ทั้งเรื่องอุปโภค บริโภค เกษตร หรืออุตสาหกรรม ซึ่งปีก่อนเราก็บริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้ง โดยไม่ได้รับผลกระทบทุกกิจกรรม”
1
ถามว่าเราบริหารจัดการน้ำอย่างไร ในช่วงฝนมากในเวลานี้ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบาย ว่า ได้บริหารงานภายใต้ 13 มาตรการ ตาม ครม. ให้ความเห็นชอบ โดยมีแนวทางดังนี้
1
• การกักเก็บน้ำให้ได้มากตามเกณฑ์ให้สอดคล้องกับปริมาณที่ไหลเข้าออก เพื่อนำไปใช้ในช่วงหน้าแล้ง และปล่อยน้ำออกไม่ให้กระทบกับประชาชนกับคนที่อาศัยในพื้นที่ท้ายน้ำ
• วิเคราะห์ความเสี่ยง ที่ผ่านมา เรามีการวิเคราะห์กันว่าพื้นที่ไหนเป็นที่ลุ่มต่ำ หรือ ปรับปฏิทินในการปลูกพืชเพื่อลดความเสี่ยงผลผลิตได้รับผลกระทบของเกษตรกร
• ใช้อาคารชลประทานที่มีอยู่แล้ว ในการช่วยระบายน้ำและบริหารจัดการน้ำ เช่น ซ่อมแซมคันดินที่ไม่แข็งแรง ให้ใช้งานอย่างประสิทธิภาพ
• เตรียมพร้อมเครื่องไม้เครื่องมือ ให้พร้อมใช้งาน เพื่อรับสถานการณ์วิกฤติ
⦿ ยืนยัน กรมชลฯ พร้อมช่วย กทม.
การบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา ที่มีผลกับ กทม. อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า วันนี้เราใช้เขื่อนเจ้าพระยา เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้ เราระบายน้ำ 1,450 ลบ.ม./วินาที เพื่อให้หน้าเขื่อนมีพื้นที่เพียงพอ เพื่อให้น้ำเหนือที่จะไหลมาเพิ่มอีก ซึ่งหากมีน้ำเหนือมาเพิ่มก็ต้องปรับ
ในขณะเดียวกัน ในฝั่งตะวันออก และตะวันตก ของ กทม. กรมชลฯ ปล่อยน้ำเข้าไปในระบบส่งน้ำน้อยมาก เพื่อใ“ยกตัวอย่าง วันที่ 8 ก.ย. คลองระพีพัฒน์ รับน้ำ 30 ลบ.ม./วินาที ในขณะเดียวกันส่วนที่คลองรังสิต ปล่อยแค่ 9 ลบ.ม./วินาที ถือว่าน้อยมาก ซึ่งสิ่งที่กรมชลฯ ทำ คือ การบริหารจัดการน้ำให้ผ่าน “แม่น้ำเจ้าพระยา” เป็นหลัก เพราะแม่น้ำเจ้าพระยามีความกว้าง มีผลกระทบน้อยกว่า ปล่อยให้เข้าทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกของ กทม.”
อธิบดีกรมชลประทาน อธิบายว่า หากมีการเพิ่ม การระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา ทุกๆ 100 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำเจ้าพระยาจะสูงขึ้น 10-15 ซม. ที่ผ่านมา ชาว อ.ผักไห่ และ อ.เสนา ได้รับผลกระทบ
1
ขณะที่ ช่วงนี้ กทม. ยังถือว่ารับน้ำจากฝนอยู่ ซึ่งกรมชลฯ เอง พยายามพร่องน้ำ และเอาน้ำออกจากพื้นที่ โดยมีการเฝ้าระวังไม่ให้ กทม. ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม เนื่องจากมีเกณฑ์ควบคุมดูแล ไม่ว่าจะเป็นพร่องน้ำผ่าน บางปะกง ออกสู่อ่าวไทยให้ได้มากที่สุดห้เพียงพอกับระบบอุปโภคบริโภคเท่านั้น
“ที่ผ่านมา ทาง กทม. ได้มีการหารือกับทาง กรมชลฯ เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องเครื่องสูบน้ำ ทางเราก็ยืนยันว่า จะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยเบื้องต้น ได้อนุมัติการช่วยเหลือไปแล้ว 21 เครื่อง แต่ทาง กทม.เองก็ต้องชี้เป้า ว่าจะไปวางที่จุดไหน เราพร้อมให้ความช่วยเหลือทุกหน่วยงาน ทั้งข้อมูล และวิธีการปฏิบัติ
เพราะเราถือว่าเราทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตามหลักการบริหารจัดการใน 2 มิติ มิติแรก คือ การบริหารจัดการน้ำหลาก และมิติที่สอง เก็บน้ำให้ได้มากที่สุด และลดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีน้ำต้นทุนใช้ในช่วงหน้าแล้ง”
⦿ หลักการเก็บกักน้ำ ต้องดู “สถิติ” หลายส่วนประกอบ
ทีมข่าวฯ ถามว่า หลักการกักเก็บน้ำมีวิธีพิจารณาอย่างไร นายประพิศ กล่าวว่า การเก็บน้ำในเขื่อนมากกว่า 80% อย่ามองว่าอันตราย
เพราะเขื่อนบางเขื่อนต้องมีการบริหารจัดการตามเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่เข้า กับความจุที่เก็บกัก ซึ่งการบริหารน้ำในแต่ละแห่ง ก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ สถิติฝน ปริมาณน้ำ และความจุของเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ
เมื่อถามว่า มีโอกาสจะเกิดน้ำเหนือไหลบ่า เหมือนปี 2554 หรือไม่ นายประพิศ กล่าวว่า น้ำท่วมเกิดจาก 3 น้ำ น้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำหนุน ถ้าเปรียบเทียบปี 2554 กับ ปี 2565 แตกต่างกัน ปีนี้มีพายุเข้าประเทศไทยแล้ว 2 ลูก กับร่องมรสุม 3 ครั้ง หากเปรียบเทียบกับปี 2554 เราเจอพายุหนักๆ มากกว่า
สิ่งที่แตกต่างกัน ที่ชัดเจนในวันนี้ คือ ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ ภูมิพล และ เขื่อนสิริกิติ์ รวมกันประมาณ มีประมาณ 1.3 หมื่นล้าน ลบ.ม. และยังมีช่องว่างอีก 1 หมื่นล้าน ลบ.ม. และหากดูประกาศ จากกรมอุตุฯ ก็ยังไม่พบว่าจะมีพายุเข้าประเทศไทย...นี่คือหลักวิทยาศาสตร์
1
อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อมีการประเมินกันตลอดเวลา ประชาชนเอง ก็สามารถติดตามข่าวสารแจ้งเตือน ได้จากกรมอุตุฯ ทุกวัน หรือจะติดตามข้อมูลของกรมชลประทาน จากเฟซบุ๊ก หรือสายด่วน กรมชลฯ 1460 ได้
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
โฆษณา