Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เบื่อเมือง
•
ติดตาม
14 ก.ย. 2022 เวลา 08:38 • ยานยนต์
ระวังโดนแกง! มาตรฐานระยะทางรถ EV อันไหนแม่นสุด? มาดูกัน!
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระแสรถไฟฟ้า หรือรถ EV ในปีนี้ แรงดีไม่มีตกจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ ต่างก็มียอดจองต่อคิวยาวเป็นหางว่าว จนประสบปัญหาส่งมอบรถกันไม่ทันเลยทีเดียว และในบ้านเราเองก็เช่นกัน หลังจากที่มีรถไฟฟ้าเปิดตัวไป แฟนๆ ชาวไทยก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี พอๆกับทั่วโลกเลยก็ว่าได้ โดย 1 ในจุดขายที่คนไทยให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ “ระยะทางในการวิ่งของรถไฟฟ้า”
ถ้าลองสังเกตดีๆ จะเห็นว่าส่วนใหญ่รถไฟฟ้ารุ่นเดียวกันในแต่ละประเทศ จะมีตัวเลขระยะทางวิ่งไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นรถจากแบรนด์เดียวกันก็ตาม นั่นก็เป็นเพราะแต่ละประเทศหรือภูมิภาคจะใช้มาตรฐานในการวัดที่แตกต่างกัน โดยจะเห็นได้จากตัวหนังสือภาษาอังกฤษที่ต่อท้ายตัวเลข อย่างเช่น รถไฟฟ้าคันนี้วิ่งได้ไกลสุด 345-420 กม. ตามมาตรฐาน “WLTP” เป็นต้น
ซึ่งราจะมาคลายข้อสงสัยให้ทุกคนกันว่า แต่ละมาตรฐานมีความเป็นมาอย่างไร? และเมื่อเทียบกับการขับขี่ในชีวิตจริงแล้วจะแม่นยำมากน้อยแค่ไหน?
➡️ NEDC (New European Driving Cycle)
NEDC เป็นมาตรฐานแรกๆ ในยุโรป ที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุค 70-80s โดยเป็นมาตรฐานสำหรับรถที่ใช้งานในเมือง และถนนชานเมือง ซึ่งตัวเลขอาจจะไม่ค่อยแม่นยำสักเท่าไหร่นัก ต่อมาภายหลังทางยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้มาตรฐานใหม่เป็น WLTP แต่ในปัจจุบันก็ยังมีรถที่มาจากประเทศจีนหลายคันที่ใช้มาตรฐาน NEDC อย่างเช่น GWM, MG, และ NETA ที่ขายในบ้านเรา เป็นต้น
➡️ CLTC (China Light-Duty Vehicle Test Cycle)
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานใหม่ของประเทศจีนที่มีการอ้างอิงการทดสอบจาก NEDC อีกที ซึ่งรถจากแบรนด์จีนรุ่นใหม่ๆ ก็เริ่มใช้มาตรฐานนี้กันแล้ว และถึงจะเคลมว่าเป็นมาตรฐานใหม่ แต่ตัวเลขก็ยังถือว่าแม่นยำน้อยไม่แตกต่างจากมาตรฐาน NEDC มากนัก โดยสังเกตได้จากรถ Tesla ที่ขายในจีนซึ่งอ้างอิงมาตรฐาน CLTC จะมีตัวเลขระยะทางที่วิ่งได้สูงกว่าฝั่งยุโรป และอเมริกาที่อ้างอิงมาตรฐานอื่นๆ อยู่พอสมควร แต่จะมีระยะทางใกล้เคียงกันกับมาตรฐาน NEDC
➡️ WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure)
หลังจากที่ยุโรปขยับจากมาตรฐาน NEDC มาเป็น WLTP ในปี 2017 WLTP ก็กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของสหภาพยุโรป ที่มีความแม่นยำมากกว่า NEDC โดยค่าประมาณระยะทางการขับขี่ของ WLTP จะน้อยกว่า NEDC อยู่ประมาณ 20-30% ซึ่งรถยุโรปส่วนใหญ่อย่าง Volvo, BMW, Audi และ Mercedes จะใช้มาตรฐานนี้เป็นตัววัดระยะทาง
➡️ EPA (Environmental Protection Agency)
EPA เป็นมาตรฐานวัดระยะทางของรถไฟฟ้าที่ใช้ในอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่โหดที่สุดในบรรดามาตรฐานทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เพราะการวัดตามมาตรฐานแบบ EPA นั้น จะเป็นการจำลองการทดสอบให้ใกล้เคียงกับการใช้งานในชีวิตจริงมากที่สุด โดยจะทดสอบทั้งวิ่งในเมือง และวิ่งทางไกล ซึ่งค่าประมาณระยะทางการขับขี่ของ EPA จะน้อยกว่า WLTP อยู่ประมาณ 11% แน่นอนว่ารถไฟฟ้าทุกคันที่ขายในอเมริกาจะต้องผ่านการวัดตามมาตรฐานนี้ทั้งหมด
เราควรใช้มาตรฐานไหน?
เนื่องจากขณะนี้ที่ไทยเองยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการวัดระยะทางรถไฟฟ้าจากหน่วยงานภาครัฐ แต่จากที่เล่ามาทั้งหมด มาตรฐานที่ถือว่าแม่นยำที่สุดในตอนนี้ คือ มาตรฐาน EPA ของอเมริกา รองลงมาเป็นจะเป็น WLTP ของยุโรป ตามมาด้วย CLTC ตามลำดับ
ส่วนมาตรฐาน NEDC ที่ค่ายรถหลายค่ายในไทยนิยมอ้างอิงมาตรฐานนี้จะมีความแม่นยำน้อยที่สุดในบรรดามาตรฐานทั้งหมดในตอนนี้ แต่มาตรฐาน EPA ถูกบังคับใช้ในอเมริกาเท่านั้น ซึ่งรุ่นรถและสเปกที่จำหน่ายจะแตกต่างจากที่ไทยอยู่พอสมควร ในขณะที่มาตรฐาน WLTP ถูกบังคับใช้ในยุโรป ซึ่งรุ่นรถและสเปกจะใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าที่จำหน่ายในไทยมากกว่า
หากใครก็ตามที่กำลังมีแผนจะซื้อรถไฟฟ้า นอกจากจะตัดสินใจจากระยะทางที่วิ่งได้ตามสเปกจากโรงงานแล้ว อย่าลืมดูมาตรฐานการวัดระยะทางของแต่ละผู้ผลิตทุกครั้งด้วยนะครับ
#WLTP #EPA #NEDC #CLTC
#รถไฟฟ้า #ระยะทางวิ่ง #อีวี
#Tsuit #ที่สุดของเรื่องรีวิว
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย