24 ก.ย. 2022 เวลา 11:11 • ไลฟ์สไตล์
ต้นไม้เเห่งเสรีภาพคือ.. บอนไซ
บอนไซ คือไม้กระถางที่ได้รับการตกแต่งด้วยมือมนุษย์จนกลายเป็นงานศิลปะ ต้นแบบดั้งเดิมเกิดขึ้นเมื่อราว 2,000 กว่าปีก่อนที่ประเทศจีน จากนั้นก็เผยแพร่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นโดยอิทธิพลของนิกายเซ็น พัฒนาจนกลายมาเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันจนมีผู้หลงใหลในบอนไซไปทั่วโลก
ความเป็นมาของบอนไซ
คำว่า “บอนไซ”เป็นคำทับศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น แปลเป็นไทยว่า ไม้แคระ
บอนไซ ได้ถูกพัฒนาจากการปลูกไม้ในกระถางของคนจีนโบราณ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ้น ราวปี พ.ศ. 808-963
ตู หยวน-หมิง จินตกวีผู้หันหลังให้กับราชสำนัก มุ่งสู่ชนบทริเริ่มปลูกต้นไม้ไม้ดอกลงในกระถาง เป็นผู้บุกเบิกบอนไซเป็นท่านแรกก็ว่าได้ต่อมาในราชวงศ์ถัง ต่อกับราชวงศ์ซ้อง ระหว่างปี พ.ศ. 1161-1823 ได้เรียกไม้ย่อส่วนที่ปลูกในกระถางว่า เผิน-วัน
มีผู้นิยมเล่นบอนไซกันมากในประเทศจีน ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ประเทศจีนรุ่งเรืองมาก ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ต่างใช้เวลาว่างมาศึกษาการเล่นบอนไซเป็นงานอดิเรกกันมาก
 
เผิน-ใจหรือ บอนไซอันมีความหมายว่า ต้นไม้โบราณย่อส่วนโดยปราศจากทิวทัศน์ ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้แพร่กระจายเรื่องบอนไซ และมีความสามารถในการเล่นบอนไซได้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น โดย จู-ซุ่น-สุ่ย ข้าราชการจีนผู้หนึ่งที่เข้าไปลี้ภัยในญี่ปุ่น ได้นำตำราการเล่นบอนไซไปด้วย ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บอนไซได้แพร่เข้าสู่โลกตะวันตกยุโรป
สมาคมบอนไซแห่งประเทศญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยมีนาย ชิเกรุ โยชิดะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เป็นนายกสมาคมคนแรก และต่อมาได้มีการจัดตั้ง สหพันธ์บอนไซโลก World Bonsai Federation
มีการยกย่องให้บอนไซเป็นศิลปะแห่งสันติที่จะเป็นสะพานเชื่อมไปสู่สันติภาพของโลก บอนไซได้มีส่วนกล่อมเกลาจิตนำไปสู่ใจใฝ่สงบ
สำหรับในประเทศไทยนั้น ไม้ดัดมีเล่นกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนบอนไซคาดว่าเริ่มรู้จักกันในสมัยอยุธยา โดยชาวญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้ามา เรื่องของไม้ดัดและบอนไซนี้จะเห็นได้จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งบรรยายถึงไม้ดัดและไม้แคระไว้หลายตอน
แต่ในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นความนิยมในไม้ดัดมากกว่าไม้แคระ การเลี้ยงบอนไซหรือไม้แคระ
..
reference
..
ก็เราไปตามอำเภอใจ♥️
โฆษณา