17 ก.ย. 2022 เวลา 10:21 • สิ่งแวดล้อม
มันคงเป็นความรัก (โลก) ไม่ได้มีแค่ความรักง่ายๆแบบเบสิคนะคะ ยังมีความรัก (โลก) แบบแอดวานซ์ อัพเลเวลให้คนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ กลายเป็นนักรักบันลือ...โลก ไปอัพเลเวลกันค่ะ :)
คอลัมน์ มันคงเป็นความรัก (โลก)
เรื่อง รักวัวให้ผูก...รักโลกต้องใส่ใจ EP.2 : 3R สู่ 8R
โดย ดู๊ตตี้
สนับสนุนข้อมูลและเจ้าของโครงการต่างๆเพื่อสิ่งแวดล้อม
อ.ภูสิต ห่อเพชร อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเล
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ปรึกษาชมรมพิทักษ์ทะเล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จาก EP.1 ที่ดูตตี้ได้นำเสนอข้อมูลขยะทะเลในประเทศไทย และเมื่อจัดอันดับโลก ประเทศไทยมีขยะล้นทะเลติด 1 ใน 5 มีปริมาณขยะพลาสติกล้นทะเลเป็นอันดันที่ 5 ของโลก มากถึง 22.8 ล้านกิโลกรัม
พอเห็นตัวเลขก็ทำเอาตกอกตกใจ แต่ก็มีวิธีการง่ายๆที่ เราจะช่วยกันดูแลโลก จัดการขยะซะตั้งแต่ต้นทาง ไม่เป็นปัจจัยที่เพิ่มภาระขยะให้ล้นโลก...วิธีการง่ายๆมีดังนี้
+คัดแยกขยะก่อนทิ้ง +และทิ้งให้ถูกที่ถูกทาง +รวมพลคนรักทะเลไปช่วยกันเก็บขยะคนละไม้คนละมือ +ใช้ปิ่นโต หรือกล่องข้าวแทนการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติก +พกถุงผ้าไปช็อปปิ้ง
กิจกรรมที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการของชมรมพิทักษ์ทะเล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ริเริ่มโดย อ.ภูสิต ห่อเพชร อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และที่ปรึกษาชมรมพิทักษ์ทะเล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โดยได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะทะเล ไม่ว่าจะเป็น
• โครงการ เผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนัก เพื่อการจัดการขยะทะเลจากต้นทาง การคัดแยกขยะ
 
• กิจกรรมเก็บขยะชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน ร่วมกับเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง
 
• บูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอน งานวิจัย บริการวิชาการ เผยแพร่ผ่านกลุ่ม “ทะเลสุข คนสุข”
นอกจากนี้ยังมีโครงการและการเผยแพร่ข้อมูลการกำจัดขยะทะเล
• ชุดโครงการจัดการปัญหาขยะทะเล ร่วมกับชุมชนชายฝั่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
• ร่วมโครงการ “Closing the Loop: Scaling up Innovation to Tackle Marine Plastic Pollution in ASEAN Cities”ร่วมกับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช Japan Space System (JSS)และ UN ESCAP
 
• เผยแพร่ผลงานในเวทีการประชุมขยะทะเลสากล 6IMDC (2018, USA) และจะนำเสนอผลงานต่อเนื่องในเวที 7IMDC (2022, South Korea)
โดยกิจกรรมต่างๆ จะช่วยลดขยะได้ภายใต้แนวคิด 3 Rs ทำง่าย ทำได้ทุกวัน จัดการขยะด้วยตัวเอง
 
- R : Reduce ใช้น้อย
- R : Reuse ใช้ซ้ำ
- R : recycle นำกลับมาใช้ใหม่
cr.google
และเพิ่มความ Advance ในการจัดการขยะด้วยการ Up Level
 
จาก 3R สู่ 8R “ชวน ลด ละ เลิก พฤติกรรม” : สร้างขยะเกินความจำเป็น
8R คืออะไร ? Rethink Refuse Reuse Reduce Repair Regift Recycle Recover
cr.#GOGREENTOGETHER
วิธีง่ายๆที่จะช่วยลดการปล่อย และเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน เพียงแค่ใช้ของให้นานขึ้น คุ้มค่าที่สุด เพื่อลดกระบวนการผลิตใหม่อยู่เรื่อยๆที่ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและพลังงาน เกิดการเผาไหม้เชื่อเพลิง และเพิ่มขยะ
• Rethink คิดให้ดีก่อนซื้อหรือบริโภคสินค้า
ถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการหรือไม่? ซื้อแล้วคุ้มค่าไม๊? จะใช้ได้จริงๆไม๊? รวมถึงของกินด้วยเช่นกัน ถ้าซื้อมาแล้วกินไม่หมดจะกลายเป็นขยะอาหารเหลือทิ้ง ที่สามารถก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 6%
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
ลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในการผลิตสินค้าใหม่ และการกำจัดขยะที่เหลือหลังใช้งาน
• Refuse ปฏิเสธสิ่งที่ไม่จำเป็น
อะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นสามารถปฏิเสธได้ ไม่เอาหลอดดูด ไม่เอาถุง สั่งอาหาร
เดลิเวอรี่ก็ไม่เอาช้อน ส้อม ไม่เอาเครื่องปรุง ถ้าคุณมีอยู่แล้ว จากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี 2564 ไทยผลิตขยะมูลฝอย 24.98 ล้านตันเลยทีเดียว
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
ลดขยะ และช่วยลดทรัพยากร พลังงานที่ใช้ในการกำจัดขยะ หรือในการผลิตใหม่
• Reuse ใช้ซ้ำให้นานที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อโลกมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ได้นานที่สุด เราควรลดผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง เช่น หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก ช้อน ส้อมพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก กล่องโฟม เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑืที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้งแทน ถุงผ้าที่เรานำมาใช้แทนถุงพลาสติก ถ้าจะใช้ให้คุ้ม และช่วยโลกได้จริง ควรใช้ 7,000-20,000 ครั้งต่อใบด้วยนะคะ
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
ลดการผลิตใหม่ ลดการใช้ทรัพยากร และพลังงานในการผลิต แน่นอนที่สุดค่ะจะช่วยลดปริมาณขยะใช้แล้วทิ้งอีกด้วย
• Reduce ลดการใช้ที่ไม่จำเป็น เน้นการใช้ของที่เราจำเป็นจริงๆ เช่น เวลาซื้อของขวัญก็ลดการใช้การใช้กระดาษห่อใหม่ ใช้ที่มีอยู่แล้ว หรือการ์ดงานต่างๆ ตอนนี้ก็ส่งแบบออนไลน์ได้ ช่วยลดการใช้กระดาษ ลดการใช้ไฟฟ้า ใช้น้ำเท่าที่จำเป็นอีกด้วย
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
ลดการผลิตใหม่ ลดการใช้ทรัพยากร พละงงานและช่วยลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นหลังการใช้งาน
• Repair ซ่อมแซมของที่เสียแล้ว ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ เพื่อลดการซื้อของใหม่ และใช้ให้นานมากยิ่งขึ้น เช่น กางเกงที่ขาด ก็ซ่อมแซมให้สวยเก๋ ไม่ต้องซื้อใหม่
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
ลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน ลดการผลิตใหม่ที่อาจปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงาน การผลิตเสื้อผ้า 1 ตัว ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 3-4 กิโลกรัมเลยที่เดียว
 
• Regift ส่งของให้ผู้อื่นต่อ ส่งต่อของที่เราไม่ใช้แล้วที่ยังสภาพดีอยุ่ให้คนอื่นใช้ต่อ นอกจากช่วยโลกแล้ว ยังเป็นการแบ่งปันให้คนอื่นที่ต้องการใช้ของเหล่านั้นจริงๆอีกด้วย
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน
• Recycle แปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เริ่มที่แยกขยะให้ถูกต้อง และผลักดันให้เกิดการจัดการขยะที่เข้มงวด แต่ของที่รีไซเคิลได้ เช่น พบาสติก กระดาษ กระป๋องอลูมิเนียมและอื่นๆอีกมากมาย แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด ข้อมูลจาก World bank ในทุกๆปีมีขยะเพียง 13.5% ทั่วโลกที่ถูกนำไปรีไซเคิล ดังนั้น ก่อนซื้อมาใช้ ต้องย้อนกลับไป Rethink, Reduce และ Reuse ด้วยนะคะ
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
ลดขยะที่จะไปจบที่หลุมฝังกลบ ที่ใช้เวลาย่อยสลายนาน และอาจตกค้างในธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการกำจัดขยะ
• Recover นำมาใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่ นำของที่ไม่ใช้แล้วมา DIY สร้างมูลค่าให้กลายเป็นของชิ้นใหม่ เช่น เอาแก้วกาแฟ ล้อรถยนต์มาทำกระถางต้นไม้ ถ้ามีไอเดียดีๆก็อาจขายได้ สร้างรายได้ให้งามๆ
ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม
เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน
cr.https://www.ili-co.me/conscious-brand/theconsciousshopper-feb03-wastefromhome
cr.https://www.ili-co.me/conscious-brand/theconsciousshopper-feb03-wastefromhome
cr.https://www.ili-co.me/conscious-brand/theconsciousshopper-feb03-wastefromhome
มาถึงบรรทัดนี้ เราๆท่านๆก็กลายเป็นนักรักบันลือ...โลกแบบแอดวานซ์...ที่มีครบทั้งหัวใจที่พร้อมไปด้วยความรู้ ความเข้าใจ พร้อมใส่ใจ พร้อมดูแลโลกที่เรารัก ไม่สร้างภาระหนักอึ้งให้กับโลกสวยๆของเราอีกต่อไป :)
นักรักบันลือ...โลก
โฆษณา