20 ก.ย. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Emerging Markets ยังวางใจไม่ได้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ
สำนักงานสถิติสหรัฐ ได้เผยแพร่ตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนสิงหาคมออกมา
โดยมีตัวเลขอยู่ที่ 8.3%
ถึงแม้ว่าราคาพลังงานจะลดลง แต่ปัจจัยด้านราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ เช่น
ราคาที่อยู่อาศัย, ราคาค่าบริการสุขภาพ หรือ ราคาการบริโภคอาหารนอกบ้าน ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
ธนาคารกลางสหรัฐยังคงจับตาดูที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างถี่ถ้วน
อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมทำให้เกิดความกังวลว่า ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรงอีกครั้ง
ถึงแม้ว่า อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว
แต่ตัวเลขที่ออกมาก็ยังคงสูงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้
และความตั้งใจที่จะทำให้เงินเฟ้อกลับลงมาสู่กรอบเป้าหมายที่ทำไว้
อาจเป็นแรงผลักดันให้ ธนาคารกลางสหรัฐ ต้องขึ้นดอกเบี้ยไปอีกสักระยะ
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากครั้งนี้ ก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มประเทศ Emerging Market อีกเช่นเคย
1
เพราะการเพิ่มขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ ทำให้การชำระหนี้เป็นสกุลดอลลาร์มีราคาแพงขึ้น
ซึ่งเหตุการณ์นี้ กำลังค่อย ๆ ทำลายเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
1
จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ พบว่า
นักลงทุนต่างชาติถอนเงินทั้งหมด 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มีนาคม-กรกฎาคมที่ผ่านมา ออกจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
ทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ ค่อย ๆ ประสบภาวะเงินทุนไหลออก
ในขณะที่บังกลาเทศและปากีสถาน ก็กำลังขอความช่วยเหลือจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในขณะที่ประเทศศรีลังกาได้มีการผิดนัดชำระหนี้
Bloomberg ได้วิเคราะห์ หนี้ด้อยคุณภาพในประเทศเกิดใหม่ พบว่า จำนวนหนี้ได้ทะลุ 1 ใน 4 ของล้านล้านดอลลาร์ ส่งสัญญาณถึงจุดเริ่มต้นของการผิดนัดต่อเนื่องหลายครั้ง
โดยประเทศปากีสถาน กานา อียิปต์ ตูนิเซีย เอลซัลวาดอร์ และ กานาต่างก็มีความเสี่ยงมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่น ๆ ก็อยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน เช่น เคนยา อาร์เจนตินา บาห์เรน นามิเบีย แองโกลา และแอฟริกาใต้
นอกจากนี้ ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์
จะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อีกด้วย
ในลาตินอเมริกา หลังจากสถิติเปิดเผยว่าราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม
ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ อย่างรุนแรง
ส่งผลให้ค่าเงินก็อ่อนลงในวันอังคารที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
สกุลเงินหลักทั้งหมดอ่อนค่าลง โดยเงินเปโซของโคลอมเบีย เปโซของเม็กซิโก และเปโซของชิลี ตกลงมากกว่า 1%
สำหรับสถานการณ์ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด
แต่ถ้าหากเงินเฟ้อในสหรัฐจะยังไม่จบง่าย ๆ เรื่องนี้ก็คงจะเป็นฝันร้ายไปอีกนาน
เนื่องจากวิกฤติการณ์มากมายในตลาดเกิดใหม่ เช่น วิกฤติหนี้ในละตินอเมริกาในทศวรรษ 1980
วิกฤติเปโซเม็กซิกันในช่วงต้นทศวรรษ 1990
และวิกฤติการเงินในเอเชียในช่วงปลายทศวรรษ 1990
ส่วนนึงเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา