27 ก.ย. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าเงินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อ่อนลงได้อีก เมื่อเฟดไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ย
สงครามระหว่างเงินเฟ้อและธนาคารกลางดูเหมือนจะยังไม่จบลงง่าย ๆ
หลังคุณ Jerome Powell ประธานเฟดออกมาย้ำถึงคำมั่นสัญญาว่า
จะลากเงินเฟ้อกลับลงมาที่กรอบเป้าหมาย 2% ให้ได้
Fed Dot Plot อัปเดตคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไว้ว่า จะมีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะสิ้นสุดปีที่ 4.4% ซึ่งสูงกว่า 4.2% ที่ตลาดคาดการณ์ก่อนการประชุมอย่างมีนัยสำคัญ
นั่นแสดงให้เห็นว่าจะเพิ่มขึ้น 75 basis points ในเดือนพฤศจิกายน
และคาดว่าจะมีการขึ้นอีก 50 basis points ในเดือนธันวาคม
โดยเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบมากขึ้นและเจ็บนานขึ้นจากการอยู่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นเวลานาน
ค่ามัธยฐานของสมาชิก FOMC คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะสูงถึง 4.4% ในปี 2023
ข้อเท็จจริงที่ว่าอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจะเข้ากับ "กฎ Sahm" พอดี
ซึ่งเป็นดัชนีที่ไว้คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
สมาชิกส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะถดถอยในปีหน้า
ซึ่งค่าประมาณการปัจจุบันของคณะกรรมการแสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 4.4% ในปี 2024 และจะลดลงเพียงเล็กน้อยในปี 2025
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้น
แต่ประเทศอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 basis points
ทำให้ความแตกต่างในนโยบายทางการเงินกว้างขึ้น
และสกุลเงินในประเทศเหล่านี้ได้รับแรงกดดันอีกครั้ง
ใขณะที่ดัชนีหนี้ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียที่ขาดทุนประมาณ 1.8%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเอเชียคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนต้องเตรียมพร้อมสำหรับกาอ่อนค่าลงของสกุลเงินจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
ส่งผลให้เกิดกระแสเงินไหลออกในตลาดระดับภูมิภาคมากขึ้น
ความแตกต่างของนโยบายการเงิน
ความแตกต่างของนโยบายการเงินระหว่างสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีการคาดการณ์ว่าจะกว้างขึ้นอีก
จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ที่สำรวจโดย Bloomberg พบว่า
อัตราดอกเบี้ยนโยบายข้ามคืนของมาเลเซียถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.75% ภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งล่าช้ากว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4%
ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสองประเทศจะเท่ากับ 125 basis points
ซึ่งประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ก็อาจจะเจอเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน
ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี Bloomberg JPMorgan Asia Dollar กับผลตอบแทน 10 ปีของสหรัฐฯ นั้นมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกันมากขึ้น และใกล้จะติดลบมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 ซึ่งบ่งชี้ว่าผลตอบแทนของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินเอเชียอ่อนค่าลง
โดยสกุลเงินเอเชียทั้งหมดอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในเดือนกันยายน
เงินเปโซของฟิลิปปินส์ซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุด
หากเรามาดูความสัมพันธ์ระหว่างสกุลเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลตอบแทน 10 ปีในประเทศจะพบว่า มีความสัมพันธ์กันเพิ่มขึ้น
ซึ่งชี้ให้เห็นถึง สกุลเงินอ่อนค่าลง และอัตราดอกเบี้ยในพันธบัตรในประเทศลดลง
นอกจากนี้ กองทุนทั่วโลกได้ถอนเงินจากพันธบัตรอินโดนีเซียจำนวน 948 ล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายน ซึ่งเกิน 579 ล้านดอลลาร์ที่ไหลเข้าในเดือนสิงหาคม
และยังเป็นเดือนแรกในรอบ 6 เดือนที่มานักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดแห่งนี้
อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง กำลังกัดกินอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 7.9% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปี
โดยที่เงินเฟ้อระดับนี้สูงกว่าอัตราผลตอบพันธบัตรชนิด 10 ปีที่อยู่ที่ 3% อย่างมีนัยะสำคัญ
ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ของไทยอยู่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อประมาณ 500 basis points
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา