4 ต.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
OECD ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรป
สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกคาดว่าจะชะลอการเติบโตในไตรมาสที่สองของปี 2022
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในหลายประเทศแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลาที่นานขึ้น
สงครามทำให้ราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
กดดันให้เกิดเงินเฟ้อและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอน่างรวดเร็วทั่วโลก
หลายประเทศในยุโรปคาดการณ์ว่าการเติบโตจะชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
และในไตรมาสแรกของปี 2023 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงและวิกฤติด้านพลังงานไปกดดันรายได้ที่แท้จริงของประชาชน
OECD คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ทั้งปีของยุโรปจะชะลอตัว 0.25%
เหตุผลจากความเสี่ยงในหลายประเทศของยุโรปช่วงฤดูหนาว
แม้ว่าสหภาพยุโรปจะสำรองก๊าซไว้เกือบ 90% ของความจุก๊าซทั้งหมด
หากสหภาพยุโรปไม่ลดการใช้ก๊าซ อาจทำให้ปริมาณก๊าซที่สำรองไว้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในฤดูหนาว
ด้วยความเสี่ยงด้านปริมาณก๊าซสำรอง เช่น ไม่สามารถหาก๊าซมาทดแทนได้ในปริมาณที่กำหนด
หรือหากความต้องการใช้ก๊าซสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ในฤดูหนาวที่ใกล้จะถึงนี้
การขาดแคลนก๊าซอาจนำมาซึ่งปัญหาที่ร้ายแรง
การขาดแคลนก๊าซอาจไปเพิ่มต้นทุนพลังงานทั่วโลก
ส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจ
บริษัทไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ จากการจำกัดการใช้ก๊าซ
แรงกระแทกเหล่านี้อาจทำให้การเติบโตของประเทศในยุโรปลดลงมากกว่า 1.25% ในปี 2023 และอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 จุด ในปี 2023
ผลักดันให้เกิดภาวะถดถอยในหลายประเทศในยุโรป
เศรษฐกิจของประเทศเยอรมนีจะมีการขยายตัว 1.2% ในปีนี้ และลดลง 0.7% ในปี 2023
Bundesbank ธนาคารกลางของเยอรมนีประกาศในสัปดาห์นี้ว่า
“ตัวชี้วัดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจเยอรมันกำลังชัดเจนขึ้น” เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ในยุโรป ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน จะมีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อยในปี 2023 ที่ 0.6%, 0.4% และ 1.5% ตามลำดับ
ซึ่งหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้
แต่ ในสิ้นปีนี้เศรษฐกิจจะยังคงเติบโตได้ในเชิงบวกเล็กน้อยถึงปานกลาง
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงจะผลักดันให้ผู้กำหนดนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศเพื่อกดดันเงินเฟ้อและสร้างความมั่นใจว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลงอย่างถาวร
จากข้อมูลของ OECD การลดผลกระทบจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นในภาคครัวเรือนและธุรกิจ จำเป็นต้องมีการสนับสนุนทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม นี่ควรเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวที่กำหนดเป้าหมายไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด การรักษาแรงจูงใจในการลดการใช้พลังงาน และมาตรการช่วยเหลือนี้ควรยกเลิกไปเมื่อแรงกดดันด้านราคาพลังงานบรรเทาลง
การหลีกเลี่ยงมาตรการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ประเทศเผชิญเงินเฟ้อสูง
และการสร้างความเชื่อมั่นทางการคลังควรนำมาพิจารณา
เมื่อนำนโยบายการคลังระยะสั้นมาซัปพอร์ตปัญหาค่าครองชีพของประชาชน
รัฐบาลต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงด้านพลังงานได้รับการสนับสนุนร่วมกัน
ควรใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดยิ่งขึ้นร่วมกับความพยายามในการเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีสะอาดและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและความสามารถในการใช้จ่ายซื้อพลังงานในระยะสั้นผ่านความช่วยเหลือทางการเงิน การกระจายอุปทาน และการใช้พลังงานที่ลดลง
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา