21 ก.ย. 2022 เวลา 11:32 • การเมือง
[[ น่าจับตา! ตุรกีไม่พอใจสหรัฐฯ จะขายอาวุธให้ไซปรัส ผู้เป็นคู่อริของตุรกี ]]
.
.
ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานว่า สหรัฐฯได้ตัดสินใจเพิกถอนข้อจำกัดการค้าอาวุธกับไซปรัส สร้างความไม่พอใจกับตุรกีอย่างยิ่ง โดยตุรกีเตือนสหรัฐฯว่าการตัดสินใจเช่นนี้ ถือเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพเเถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เเละเรียกร้องให้สหรัฐฯทบทวนใหม่อีกครั้ง
การตัดสินใจของสหรัฐฯนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ไซปรัสปฏิรูปข้อระเบียบต่อต้านการฟอกเงิน เเละไม่ให้เรือน้ำมันรัสเซียเข้าเทียบท่าเรือไซปรัส
เรามาเริ่มจากทำความเข้าใจก่อนว่า ตุรกีกับไซปรัสกลายเป็นคู่อริกันได้อย่างไร จนนำมาสู่ความไม่พอใจสหรัฐฯต่อเรื่องนี้
เริ่มเเรกประเทศไซปรัสเเต่เดิมนั้นประกอบด้วย”เชื้อสายกรีกกับเชื้อสายเติร์ก” เเละประเทศนี้ก็อยู่ระหว่างกรีซกับตุรกี
หลังจากไซปรัสเป็นเอกราชจากอังกฤษได้ไม่นาน กรีซก็สนับสนุนนายทหารเข้ารัฐประหารรัฐบาลไซปรัส เพื่อมุ่งหวังครอบงำ ทหารที่ยึดอำนาจก็ตั้งรัฐบาลที่มีเเนวคิดชาตินิยมสนับสนุนเชื้อสายกรีก
ประเทศไซปรัสเป็นเกาะที่สวยงามมาก
หลังจากนั้นอีก 5 วัน ตุรกีจึงตัดสินใจเข้าเเทรกเเซง ส่งทหารเข้ายึดดินเเดนทางเหนือ 1 ใน 3 ของไซปรัสเพื่อปกป้องเชื้อสายเติร์กในไซปรัส เเละตั้งเป็นประเทศใหม่ที่ชื่อว่า สาธารณรัฐตุรกีเเห่งไซปรัสเหนือ ในขณะที่ไซปรัสตอนล่าง มีชื่อว่าสาธารณะรัฐไซปรัส
1
ผลจากการที่ไซปรัสถูกเเทรกเเซงทั้งจากกรีซเเละตุรกี ส่งผลให้ชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กที่อยู่ทางใต้ต้องอพยพไปทางเหนือ เเละไซปรัสเชื้อสายกรีกต้องย้ายไปทางใต้เเทน โดยทั้งไซปรัสได้เเยกจากกันเป็นเหนือกับใต้เป็นเวลา 40 กว่าปีเเล้ว!
1
ความขัดเเย้ง”ตุรกีกับกรีซ”ในไซปรัสเหนือกับไซปรัสใต้
เท่านั้นยังไม่พอ ทั้งตุรกีเเละกรีซยังขัดเเย้งเรื่องการอ้างสิทธิ์ในน้ำมันเเละเเก๊สเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย
ความขัดเเย้งนี้ยังขยายไปถึงทรัพยากรใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตุรกีถึงไม่พอใจสหรัฐฯ เมื่อจะขายอาวุธให้ไซปรัสตอนใต้ เพราะการเสริมสร้างกองทัพนี้สามารถเป็นภัยคุกคามต่อไซปรัสเหนือเเละตุรกีได้
เเละทำให้เเผนการซื้อเครื่องบินรบ F16 จากสหรัฐฯของตุรกีในการพัฒนากองทัพอาจถูกยกเลิก
เครื่องบินรบ F16 ที่เดิมทีตุรกีต้องการซื้อจากสหรัฐฯส่อแววล่มได้ จากการที่สหรัฐฯจะขายอาวุธให้ไซปรัสใต้
จึงน่าติดตามความสัมพันธ์เหล่านี้ เนื่องจากทั้งสามประเทศ สหรัฐฯ ตุรกี เเละกรีซ ต่างก็อยู่ใน NATO
เเละล่าสุดหลังจากตุรกีได้เข้าร่วมประชุมองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้แล้ว ก็ตัดสินใจเข้าร่วมองค์การนี้ จึงน่าจับตาตุรกีต่อความพยายามถ่วงดุลอำนาจ NATO ซึ่งนำโดยสหรัฐฯ
1
การเข้าร่วมประชุมองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ของตุรกี และล่าสุดตุรกีก็ต้องการเข้าเป็นสมาชิกด้วย
.
.
.
*เพื่อไม่ให้พลาดเนื้อหาสำคัญครั้งหน้า สามารถกดติดตาม Insight การเมืองเศรษฐกิจโลกนี้ได้นะครับ
โฆษณา