23 ก.ย. 2022 เวลา 09:12 • สุขภาพ
อัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่ขี้ลืม แต่เป็นแล้วตายได้
ภาพจาก https://www.news-medical.net/health/Types-of-Alzheimers-Disease.aspx
เนื่องจากวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมานี้ เป็นวันอัลไซเมอร์โลกเลยมาเล่าเกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์มาฝากค่ะ
# อัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อม
สมองเสื่อมคือกลุ่มอาการ มีหลายสาเหตุ และอัลไซเมอร์ คือ หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยสุดของสมองเสื่อม และรักษาไม่หาย
# ทำไมชื่ออัลไซเมอร์ และเกิดจากอะไร
โรคอัลไซเมอร์นี้ มาจากชื่อของจิตแพทย์ท่านหนึ่ง ชื่อ อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ที่เป็นผู้คนพบโรคนี้ ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากการตายของเซลล์สมอง เซลล์สมองของเราทำหน้าที่ในการเรียนรู้จดจำ โดยทำงานผ่านสารสื่อประสาท ซึ่งตัวทีสำคัญเรียกว่า Acetylcholine ซึ่งค้นพบว่า สารนี้มีปริมาณลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับคนทั่วไป ทำให้ไม่สามารถจดจำเรียนรู้ได้
3
สาเหตุจริงๆของการตายของเซลล์สมองยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่พบว่าสัมพันธ์กับการสะสมของ Amyloid plagues ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียาที่กำจัดเจ้าสิ่งนี้ออกจากสมองได้
# โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นตามอายุ
1 ใน 8 ของผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี จะเริ่มมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเป็น 85 ปี จะพบโรคนี้ได้ถึง 1ใน 4
ปัจจุบันประมาณการว่า คนไทยมีผุ้เป็นอัลไซเมอร์อยู่ราว 8แสน ถึง 1 ล้านคน
ซึ่งจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
2
ดังนั้น เป็นโรคที่สำคัญมากที่อยู่ไม่ไกลตัวเราเลยเรียกได้ว่า ในแต่ละวันที่เจอผู้สูงอายุ จะเจอคนเป็นโรคนี้อยู่ด้วยแน่นอน
# อัลไซเมอร์มีได้ หลายระยะ
การดำเนินโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร
โดยทั่วไป แบ่งง่ายได้เป็น 3 ระยะโรค
ระยะที่1
ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการหลงลืม โดยจะลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมปิดไฟ ลืมว่าทานข้าวแล้ว ถามซ้ำๆ เช่น ถามว่าทานข้าวหรือยัง อีกไม่นานก็ถามใหม่ พูดซ้ำๆเรื่องเดิม เป็นต้น
2
ระยะที่ 2
อาการหลงลืมเป็นมากขึ้น บางครั้งจำบ้านตัวเองไม่ได้ เดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยน เช่น ขี้หงุดหงิด พูดจาหยาบคาย เริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการทางประสาทมากขึ้น เช่น กลัวคนมาทำร้าย คิดว่ามีคนมาขโมยของ ซึ่งทำให้การดูแลยากขึ้น
ระยะที่ 3
มีอาการรุนแรงขึ้น ไม่สามารถดูแลทำกิจวัตรประจำวันได้
ระยะที่สาม ผู้ป่วยอาการแย่ลงในทุกด้าน ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง แทบจะไม่พูดจา การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพราะสมองเสื่อมเป็นวงกว้าง
1
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อาการเริ่มแรกเมื่อเป็นโรคนี้จะมีหลงลืม แต่เมื่อเป็นมากขึ้นๆ จะมีอาการทางจิตใจ หรือพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว หวาดระแวง เป็นต้น
โรคนี้เมื่อมีคนในครอบครัวเป็น ย่อมทำให้คนรอบตัวมีความเครียด กดดันในการดูแล เพราะบางครั้งคนไข้จะถามซ้ำๆ หรือทำพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียดได้ หรือถ้าหากไม่เข้าใจการดำเนินโรค อาจจะมีการทะเลาะกันในครอบครัว หรือต่อว่าคนไข้ก็มี และเมื่อโรคเป็นรุนแรงขึ้น คนไข้ที่เสียชีวิตจากอัลไซเมอร์ มักเกิดจากภาวะติดเชื้อ ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่แรกจนถึงเสียชีวิตนั้นใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เป็นโรคที่เมื่อวินิจฉัยแล้ว มีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้อีกด้วย จึงทำให้การดูแลรักษาโรคนี้ควรมีแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หรือ แพทย์ระบบสมองที่มีความเข้าใจด้านการดูแลแบบ Palliative care มาเป็นผู้ดูแลร่วมด้วยนั่นเอง
จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมโรคอัลไซเมอร์ จึงเป็นโรคร้ายที่ไม่ใช่มีผลแค่ขี้ลืม ข้อมูลปัจจุบันพบว่าโรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยอันดับ 5 ในผู้สูงอายุ และเป็นโรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นการดูแลแบบ Palliative care จึงจำเป็นในทุกระยะของโรค เพื่อเป้าหมายคือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทั้งคนไข้และครอบครัว
#โรคนี้มียา แต่รักษาไท่หายขาด
เป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การพบแต่แรกๆ จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้ ปัจจุบันถือว่ามียาสำหรับเพิ่มสาร Acetylcholine ทำให้ความจำดีขึ้นและลดปัญหาพฤติกรรม ซึ่งทำได้เพียงชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลง ยังไงจะเป็นมากขึ้นอยู่แล้ว แต่อาจจะช้าลงเล็กน้อย
1
นอกจากการใช้ยา ยังมีการทำกิจกรรมหลายๆอย่างเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพกายและใจให้แก่คนไข้ ที่ครอบครัวทำได้ เช่น การเล่นเกมส์ฝึกสมองง่ายๆ ถามตอบความรู้ทั่วไป คิดเลข เป็นต้น
ทางการแพทย์ทางเลือกที่ช่วยได้ เช่น พบนักกิจกรรมบำบัด พบนักดนตรีบำบัด หรือนักศิลปบำบัด
2
# เพราะอะไรอัลไซเมอร์ถึงควรต้องมี pallaitive care ร่วมดูแล
1
เพราะเป็นโรคที่จัดว่าไม่หายขาด และมีการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเหตุให้คนไข้และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงได้ และเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
1
# ดังนั้น เราควรมีหมอ pallaitve care ร่วมดูแล เพื่อ
-ให้การรักษาที่เหมาะสม เฉพาะตัวคนไข้
-ตั้งเป้าหมายการดูแลร่วมกัน
-พูดคุยถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่
-พูดคุยถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณ
-พูดคุยถึงวันที่โรคเป็นมากขึ้น จนอาจจะเป็นจุดที่สื่อสารไม่ได้แล้ว เราต้องการให้ดูแลแบบใด และการรักษาอะไรบ้าง เป็นการรักษาที่เราไม่ต้องการ
เพราะถ้าคุณเคยเห็นคนไข้สูงอายุที่นอนติดเตียง ไม่สามารถสื่อสารได้แล้ว มีสายยางให้อาหารในจมูกหรือที่ท้อง มีการเจาะท่อที่คอเพื่อดูดเสมหะ สิ่งเหล่านี้ มีอะไรบ้างที่คนไข้ต้องการ มีอะไรบ้างที่ไม่ต้องการ สามารถพูดคุยรายละเอียดนี้ได้ โดยมีแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมพิเศษถึงการสื่อสารเรื่องนี้ให้คำปรึกษาอย่างละเอียดกับคนไข้และครอบครัว
เพราะ คำว่าชีวิตที่ดี ของคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน
บทความนี้ ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลคูน โรงพยาบาลเฉพาะทางด้าน palliative care
โฆษณา