29 ก.ย. 2022 เวลา 02:52 • ประวัติศาสตร์
"ทิกกว๋างดึ๊ก (Thích Quảng Đức)" พระภิกษุที่ประท้วงด้วยการ "เผาตนเอง"
11 มิถุนายน ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) คืออีกหนึ่งวันที่จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์
วันนี้เป็นวันที่ "ทิกกว๋างดึ๊ก (Thích Quảng Đức)" พระภิกษุชาวเวียดนามที่ประท้วงด้วยการ "เผาตนเอง" ได้เผาตนเองจนมรณภาพ เพื่อเป็นการประท้วงรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งได้ออกกฎหมายที่กดขี่และไม่ยุติธรรมต่อนักบวช
อาจจะเรียกได้ว่า การฆ่าตัวตายของท่านทิกกว๋างดึ๊ก เป็นการฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลที่ใช้วิธีการที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้
2
เรื่องราวทั้งหมดนี้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) โดยในวันนั้น ที่เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ชาวพุทธได้ทำการเฉลิมฉลองในวันสำคัญทางศาสนา
ทิกกว๋างดึ๊ก (Thích Quảng Đức)
บนท้องถนนเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย และผู้คนจำนวนมากก็ได้โบกธงที่มีสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ
การกระทำนี้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมา เนื่องจากในเวลานั้น การประดับธงศาสนาถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในเวียดนาม โดยกฎหมายข้อนี้ ได้ผ่านการรับรองจาก "โงดิ่ญเสี่ยม (Ngô Đình Diệm)" ประธานาธิบดีแห่งเวียดนามในเวลานั้น โดยตัวของโงดิ่ญเสี่ยมนั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และโงดิ่ญเสี่ยมก็ให้การรับรองกฎหมายนี้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้เวียดนามก้าวทันโลก มีความเป็นตะวันตกมากขึ้น
1
แต่ชาวเวียดนามกลับไม่ชื่นชอบกฎหมายข้อนี้เท่าไรนัก โดย 90% ของชาวเวียดนามในเวลานั้นนับถือศาสนาพุทธ และเรื่องศาสนาก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การจะเปลี่ยนแปลงศาสนาของชาติ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย
1
ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) นี้เอง โงดิ่ญเสี่ยมได้ส่งกองทัพตำรวจและกองทัพทหารเข้ามาในบริเวณที่จัดงาน และเกิดการปะทะระหว่างกองทัพกับฝูงชน ซึ่งจบลงด้วยการที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100 คน เสียชีวิตทั้งหมดเก้าคน โดยสองในเก้านั้นยังเป็นเด็ก
โงดิ่ญเสี่ยม (Ngô Đình Diệm)
ภายหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงสงบลง ความตึงเครียดก็ได้แผ่ซ่านไปทั่วเวียดนาม ได้เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศ ก่อนที่อีกสองเดือนต่อมา ข่าวนี้จะหลุดไปเข้าหูของพระทิกกว๋างดึ๊ก
ด้วยความที่พระทิกกว๋างดึ๊กได้จำวัดอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแถบหุบเขา ห่างไกลจากตัวเมืองและผู้คน ทำให้พระทิกกว๋างดึ๊กได้รับรู้ข่าวนี้ช้ากว่าผู้อื่น
เมื่อพระทิกกว๋างดึ๊กทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่านก็คิดว่าจะต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อให้ชุมชนชาวพุทธนั้นอยู่รอด
10 มิถุนายน ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) "มัลคอล์ม บราวน์ (Malcolm Browne)" นักข่าวชาวอเมริกัน ได้รับทราบข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัวตน บอกเล่าว่าในวันพรุ่งนี้ (11 มิถุนายน ค.ศ.1963) จะมีเหตุการณ์สำคัญบางอย่างเกิดขึ้น และบราวน์ก็เชื่อในแหล่งข่าวนี้
1
มัลคอล์ม บราวน์ (Malcolm Browne)
วันต่อมา บราวน์ได้เดินทางไปยังสถานทูตกัมพูชา และ ณ ที่นั้น พระทิกกว๋างดึ๊กก็ได้ออกมาต้อนรับบราวน์ด้วยตนเอง และยังมีพระและแม่ชีอีก 350 รูป ปักหลักเพื่อเตรียมประท้วง
1
ในเวลานี้ บราวน์ยังไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่จะติดอยู่ในประวัติศาสตร์โลก
พระทิกกว๋างดึ๊กได้นำเบาะรองนั่งมาวางไว้กลางถนน ก่อนจะนั่งลงบนเบาะ นั่งขัดสมาธิ ราวกับกำลังจะนั่งสมาธิ
พระอีกรูปได้เดินตรงไปที่รถยนต์ และนำน้ำมันจำนวนห้าแกลลอนออกมาจากรถ และราดลงบนร่างของพระทิกกว๋างดึ๊ก ในขณะที่พระทิกกว๋างดึ๊กนั่งตัวตรง และสวดมนต์ราวกับไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
ณ ตอนนั้น บราวน์พอจะเดาออกว่าอะไรจะเกิดขึ้น เขาจึงเตรียมกล้องให้พร้อม พร้อมที่จะจับภาพที่เกิดขึ้นและนำเสนอไปทั่วโลก
เมื่อพระทิกกว๋างดึ๊กสวดมนต์เสร็จ ท่านก็ล้วงไม้ขีดออกมา จุดไฟ และเผาตัวท่านเอง
ฝูงชนหวีดร้อง แตกตื่นด้วยความตกใจ โดยมีพระรูปหนึ่งตะโกนใส่เข้าไปในไมโครโฟน
"พระชาวพุทธได้เผาร่างท่านเอง พระท่านนี้คือผู้เสียสละ"
ท่ามกลางความแตกตื่นวุ่นวาย ผู้ที่ดูจะสงบนิ่งมีเพียงผู้เดียว นั่นคือ พระทิกกว๋างดึ๊ก โดยพยานที่เห็นเหตุการณ์ได้เล่าว่า ขณะที่ร่างของพระทิกกว๋างดึ๊กติดไฟ ท่านไม่แม้แต่กระพริบตาหรือขยับร่างกาย
พระทิกกว๋างดึ๊กนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลาราว 10 นาที ก่อนจะล้มลง แสดงให้เห็นว่าพระทิกกว๋างดึ๊กได้จากไปแล้ว
ภายหลังจากไฟดับลง ได้มีการนำศพของพระทิกกว๋างดึ๊กไปยังสถูปเพื่อทำการฌาปนกิจ และภายหลังการฌาปนกิจเสร็จสิ้นลงเพียงไม่กี่นาที ตำรวจก็เข้าล้อมสถูป โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องที่เกิดขึ้นเล็ดรอดออกไปจากเมืองหรือประเทศเวียดนาม ไม่ต้องการให้เรื่องนี้แพร่ออกไป
1
แต่ก็สายไปแล้ว บราวน์ได้ถ่ายภาพและส่งภาพพร้อมจดหมาย อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังสหรัฐอเมริกา
วันต่อมา ภาพของพระทิกกว๋างดึ๊กที่กำลังลุกไหม้ได้ปรากฎบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทั่วโลก
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้ชาติต่างๆ กดดันให้รัฐบาลเวียดนามเปลี่ยนกฎหมายให้สอดคล้องกับชุมชนชาวพุทธ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนโลก ก็อาจจะจำเป็นต้องมีผู้เสียสละอันยิ่งใหญ่
ในทุกวันนี้ ภาพของพระทิกกว๋างดึ๊กก็ยังคงตราตรึงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ และเป็นอีกหนึ่งภาพถ่ายที่โด่งดังที่สุดภาพหนึ่งในโลก
โฆษณา