29 ก.ย. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
2022 ปีแห่งความหิวโหยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
The World Food Programme ขนานนามให้ปี 2022 เป็นปีแห่งความหิวโหยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ผู้คนกว่า 345 ล้านคนใน 82 ประเทศ ต้องตกอยู่ในภาวะความไม่มั่นคงทางอาหาร
ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตั้งแต่มีการระบาดของโควิด
นอกจากนี้มากกว่า 800 ล้านคน หรือ ประมาณ 10% ของประชากรโลก
ต้องเข้านอนอย่างหิวโหย จากปัญหาที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้
ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ สงคราม และโรคระบาด ได้ทำให้ความมั่นคงทางอาหารย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ
ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอุปทานอาหาร ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น คุกคามผู้คนและประเทศที่เปราะบางที่สุดในโลก
📌 ความหิวโหยในเอเชียทวีความรุนแรงขึ้น
เมื่อปีที่แล้วในเอเชีย มีผู้คนกว่า 1,100 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ
เนื่องจากการระบาดของโควิด สงคราม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทำให้เกิดวิกฤติที่ทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
และต้องเผชิญกับ “ภาวะฉุกเฉินด้านอาหารอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”
การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด 19 การรุกรานยูเครนของรัสเซีย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงได้ผลักดันให้ราคาวัตถุดิบ รวมทั้งน้ำมันพืชและธัญพืชทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตามดัชนีราคาอาหารประจำปีขององค์กรอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
ในเอเชีย ผู้บริโภคยังมองไม่เห็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
เพราะภูมิภาคนี้มีมากกว่า 320 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใน "ความยากจนสุดขีด"
และด้วยจำนวนประชากร 4,600 ล้านคน จึงเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุด
และคาดว่าจะเติบโตถึง 700 ล้านคนในอีกสามทศวรรษข้างหน้า
ด้วยราคาสินค้าเกษตรพุ่งสูงขึ้น ห่วงโซ่อุปทานอยู่ในความโกลาหล และหลายประเทศใช้มาตรการควบคุมการส่งออกสินค้า หรือปัญหาการปิดเมืองของจีนและคลื่นความร้อนของอินเดีย คาดว่าจะทำให้สถานการณ์แย่ลงอีกด้วย
📌 จีนแสวงหาการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ภัยแล้งที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำในจีนลดลงต่ำสุดในรอบทศวรรษ
นำมาซึ่งผลที่ตามมาที่ร้ายแรงที่สุด คือ แหล่งผลิตอาหารของประเทศ
โดยหน่วยงานรัฐบาล 4 แห่งเตือนว่า การเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งปกติแล้วสามารถให้พืชผลถึง 75% ของจีน ตกอยู่ภายใต้ ภัยคุกคามร้ายแรง
1
ถึงแม้ว่าอัตราการเกิดของจีนจะลดลง
แต่จีนยังคงต้องนำเข้าอาหารเกือบ 1 ใน 4 ของอาหารทั้งหมดที่บริโภค
ทำให้จีนแสวงหาการควบรวมกิจการในต่างประเทศ
เพื่อปรับปรุงความมั่นคงด้านอาหารและการจัดหาอาหารอย่างยั่งยืน
หลาย ๆ บริษัทของจีน ซึ่งรวมถึงบริษัทด้านธัญพืชในท้องถิ่น
ได้เร่งทำการควบรวมกิจการระหว่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เนื่องจาก พวกเขาเล็งเห็นความสำคัญด้านความต้องการอาหารของจีนมากขึ้น และจีนเป็นตลาดขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นอีกว่า ถึงแม้จะไม่มีสงครามในยูเครน และวิกฤติอาหารก็กำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
แต่การควบรวมกิจการของจีนถูกหลายฝ่ายมองว่า
จีนกำลังจะเข้ามาควบคุมอุตสาหกรรมอาหารโลก เพื่อสร้างประโยชน์ให้ตัวเอง
📌 นโยบายความมั่นคงด้านอาหารของ APEC
จากปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ APEC จึงให้ความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจาก APEC อยู่ในตำแหน่งที่ดีในฐานะที่เป็นสื่อกลางสำหรับความร่วมมือในประเด็นด้านอาหารและการเกษตร ที่พร้อมจะจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงด้านอาหารในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นในอนาคตในภูมิภาค
โดย APEC จะเข้ามาส่งเสริมผลิตภาพและการเติบโตในภาคเกษตรกรรม
ส่งเสริมการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ ๆ มาใช้ และช่วยเรื่องการค้าอาหารในภูมิภาค
โดยแผนงานความมั่นคงด้านอาหารสู่ปี 2030 จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อสร้างการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและยืดหยุ่นจากการระบาดใหญ่ของโควิด 19
ซึ่งแผนงาน 2030 จะเสนอเส้นทางสู่การจัดหาอาหารที่เข้าถึงได้ มีคุณค่าทางโภชนาการ และเพียงพอสำหรับทุกคนในภูมิภาค APEC
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา