30 ก.ย. 2022 เวลา 01:22 • ธุรกิจ
เราจะต้องสเกลพร้อมเพย์ไปถึงไหน?
7
พร้อมเพย์ (หรือ AnyID ในอดีต) นับเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงระบบการเงินของประเทศไทยมากที่สุดอันหนึ่งเลยทีเดียว โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ National e-Payment ตั้งแต่ปี 2558 ภายใต้การขับเคลื่อนจาก ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูล ที่ปรึกษาคณะทำงานพัฒนาระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (ซึ่งบางคนแอบแซวว่า ถ้าไม่มีปฏิวัติ โครงการนี้ก็อาจจะไม่เกิด)
21
ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบพร้อมเพย์ที่เอื้อให้การโอนเงินและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำได้ "ถูก ง่าย สะดวก และปลอดภัย" ได้มาตรฐานสอดรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
2
ในจุดเริ่มต้น (ปี พ.ศ.​ 2560) โครงการนี้ไม่ได้วางแผนที่จะให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นในวันนั้น โทรศัพท์สมาร์ทโฟนยังไม่ได้เป็นที่นิยมอย่างทุกวันนี้ วัตถุประสงค์หลักในตอนแรกจึงเป็นเรื่องของการทำให้เรามีระบบมาตรฐานที่สามารถใช้ ID อะไรก็ได้ที่มีติดตัว
2
เช่น เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประชาชนในการระบุการเข้าถึงบัญชี โดยไม่ต้องมานั่งจำเลขบัญชี และสร้างระบบมาตรฐานที่สามารถทำให้เกิดการโอนเงินข้ามธนาคารได้ง่าย มีต้นทุนที่ถูกลง​ (จากเดิม 25-120 บาทต่อครั้ง กลายเป็นไม่เสียค่าธรรมเนียมหากโอนไม่เกิน 5,000 บาท และถ้าเกิน ก็จะมีค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ)
4
และในปลายปีเดียวกัน ก็มีการต่อยอดระบบการชำระเงินให้ทำผ่าน QR Code ได้ โดยใช้มาตรฐาน EMVCo QR Code ซึ่งสร้างโอกาสให้เกิดการชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าได้
2
จุดเปลี่ยนของพร้อมเพย์นั้น กลับเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 ธนาคารไทยพาณิชย์ลุกขึ้นมาประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงิน 5 ประเภทหลัก อันได้แก่ 1. โอนข้ามเขต 2. โอนต่างธนาคาร 3. เติมเงินต่างๆ 4. จ่ายบิล 5. กดเงินโดยไม่ใช้บัตรข้ามเขต ผ่านแอปพลิเคชัน “SCB EASY” เพื่อดึงลูกค้าจากธนาคารอื่น (โดยเฉพาะธนาคารกสิกรไทย
4
ซึ่งมีลูกค้าใช้บริการ K-Plus กว่า 8 ล้านราย) แต่ธนาคารกสิกรไทยก็เคลื่อนไหวทันทีและประกาศทำเช่นเดียวกันในวันที่ 28 มีนาคม 2561 รวมถึงธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย ในช่วงไล่ ๆ กัน ส่วนธนาคารทหารไทยเองก็เริ่มต้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมมาเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2556 แล้ว
4
และการลุกขึ้นมาลดค่าธรรมเนียมนี้เอง ทำให้เกิดการใช้งานแอปกันอย่างกว้างขวาง และทำให้กระแสการใช้พร้อมเพย์เป็นที่นิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการแพร่ระบาดของโควิดในปี 2563 ก็ยิ่งทำให้ความนิยมยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากโครงการคนละครึ่ง จนล่าสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการลดทะเบียนพร้อมเพย์แล้วกว่า 70 ล้านบัญชี มีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยมากกว่า 38 ล้านรายการต่อวัน
3
หากคิดเป็นจำนวนธุรกรรมต่อวินาที จะได้เพียง 448 ธุรกรรมต่อวินาที ดูเหมือนจะไม่มาก หากหารเฉลี่ยจำนวนพาณิชย์ทั้งหมด แต่ในความเป็นจริง มันมีการกระจุกตัวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
  • ธุรกรรมมักจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มธนาคารใหญ่ ๆ ที่มีจำนวนลูกค้าที่ใช้แอปในการโอนเงินสูง
4
  • ธุรกรรมมักจะเกิดขึ้นทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน หากใครสังเกต คงพอเดากันได้ว่าเป็นวันหวยออก
8
  • และที่สำคัญที่สุด ธุรกรรมเหล่านี้มักจะ peak เพียงช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงของวันเท่านั้น
3
และบางคนคงจะเดาถูกอีกว่า ธุรกรรมเหล่านี้คงไม่ใช่ว่าคนแห่ไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในวันที่หวยออก แต่ธุรกรรมจำนวนมากเหล่านี้กลับเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากหวยใ้ต้ดิน หรือการพนันที่เกี่ยวข้องกับผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล
13
โดยคนเล่นมีการโอนเงินให้กับคนเดินโพยหวย และการโอนเงินให้กับเจ้ามือหวย รวมไปถึงการจ่ายผลรางวัล
5
และธุรกรรมเหล่านี้เอง เป็นมีส่วนทำให้จำนวนธุรกรรมในวันเหล่านั้นอาจจะสูงถึง 2,900 ธุรกรรมต่อวินาทีเลยทีเดียว และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จน National ITMX ต้องทำการขยายความสามารถของระบบอย่างต่อเนื่อง
1
จนล่าสุดปรับระบบให้รองรับจำนวนธุรกรรมสูงสุดได้มากกว่า 10,000 ธุรกรรมต่อวินาที จากที่รองรับได้มากกว่า 6,000 ธุรกรรมก่อนหน้านั้น ส่วนธนาคารพาณิชย์เองก็ต้องลงทุนเป็นเงินนับหมื่นล้านบาท เพื่อขยายขีดความสามารถด้วยเช่นเดียวกัน
3
และธุรกรรมในวันที่พีคนี้เอง ยังเป็นต้นเหตุทำให้แอปของธนาคารล่มเป็นประจำ และมักจะพาทำให้แอปของธนาคารอื่นล่มตามกันเป็นลูกโซ่ในอดีต เนื่องจากไม่ได้มีวิธีการรองรับปัญหาหากธนาคารอื่นตอบรับช้าที่ดี
8
วันนี้ ผมจึงอยากจะตั้งคำถามชวนให้คิดกันว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยควรจะต้องยอมรับธุรกรรมผิดกฎหมายนี้หรือไม่ ควรจะต้องประมวลผลธุรกรรมเหล่านี้หรือไม่ หากไม่รับแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
2
ระหว่างที่ท่านคิด ผมขอให้มุมมองบางอย่างที่อาจจะช่วยในการตัดสินใจ
1
  • ธุรกรรมผิดกฎหมายเหล่านี้ มอมเมาประชาชน ซึ่งคงไม่ต่างกับสลากกินแบ่งรัฐบาลมาก แต่กำไรของธุรกิจเหล่านี้สูงมาก แถมยังไม่ได้ชำระภาษีอย่างถูกต้อง ในขณะที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่งเงินเข้ารัฐสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของรัฐวิสาหกิจเลยทีเดียว
4
  • ธุรกรรมเหล่านี้ หากใช้ AI หรือแม้กระทั่งตาดูในการตรวจสอบ ก็จะหาได้โดยง่ายว่า ธุรกรรมใดผิดปกติบ้าง เพราะการโอนบางส่วน ไม่อยู่ในวิสัยที่คนปกติจะกดแอปทำธุรกรรมได้เยอะขนาดนั้น
8
  • ธุรกรรมเหล่านี้ บางส่วนมีการรายงานให้กับหน่วยงานที่ดูแล (ขอไม่บอกว่าเป็นใคร) แต่กลับไม่ได้รับการตรวจสอบ และวินิจฉัย
11
  • สถาบันการเงินจึงไม่สามารถไประงับการใช้งานได้อย่างเต็มที่ เพราะกลัวว่าอาจจะถูกฟ้องร้องในภายหลัง
3
  • แถมหากปฏิเสธการทำรายการจำนวนมาก ก็อาจเกรงว่าจะถูกวินิจฉัยจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่า มีความขัดข้องในการดำเนินงานไปเสียอีก
6
ทุกวันนี้ ธนาคารพาณิชย์ และ National ITMX จึงอยู่ในฐานะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ได้แต่ขยายระบบไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะรองรับปริมาณธุรกรรมที่ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนลูกค้าก็ต้องรับความเสี่ยงจากการที่ระบบอาจจะมีปัญหาเหล่านี้
3
ม้นจะดีกว่าไหมที่เราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เพื่อลดจำนวนธุรกรรมสูงสุดที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น
1
  • แก้กฎหมายให้สำนักงานสลากกินแบ่งสามารถออกสลากกินรวบได้ และร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการรับชำระเงิน และจ่ายเงินรางวัลให้กับผู้ถูก
2
  • ทำให้การออกสลากกินรวบถูกกฎหมาย และธนาคารพาณิชย์ไปร่วมมือกับเจ้ามือหวยใต้กินในการให้บริการการโอนเงินแบบที่มีประสิทธิภาพให้
1
  • ปฏิเสธรายการธุรกรรมที่ผิดปกติ รวมไปถึงการรายงานธุรกรรมเหล่านี้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1
  • ระงับบัญชีที่มีธุรกรรมผิดปกติ จนกว่าเจ้าของบัญชีสามารถที่จะยืนยันได้ว่าธุรกรรมเหล่านั้นเป็นธุรกรรมที่ปกติ และถูกกฎหมาย
3
  • ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยก็อาจจะควรเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์มีเงื่อนไขในการให้บริการได้ หากลูกค้าละเมิดเงื่อนไขเหล่านี้ ธนาคารพาณิชย์ก็ควรมีสิทธิ์ในการปฏิเสธ ระงับการให้บริการ หรือคิดค่าบริการพิเศษเพิ่มเติมได้
6
แต่การทำเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงินทุกแห่ง ไม่เช่นนั้น ธุรกรรมเหล่านี้ก็คงย้ายไปใช้บริการจากธนาคารเจ้าที่ไม่ได้สนใจในเรื่องนี้ และอาจจะพร้อมที่จะลงทุนขยายระบบ เพื่อให้ได้ลูกค้าเจ้าใหญ่นี้มาอยู่กับตน
1
ถ้าเป็นคุณล่ะครับ คุณจะตัดสินใจอย่างไร?
3
ที่มา:
โฆษณา