22 ต.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
8 บทเรียนจาก ติช นัท ฮันท์
3
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
1
ติช นัท ฮันท์ เป็นพระที่ตลอดชีวิต สอนเรื่องประโยชน์ของการอยู่กับปัจจุบัน หรือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ
4
ท่านเน้นเรื่องอานาปานัสสติ (mindful breathing) คือสติแห่งการรู้ว่ากำลังหายใจเข้าและออก (อานา = อานะ คือหายใจออก ปานา = ปานะ คือหายใจเข้า)
1
ท่านสอนว่า หากทำอานาปานัสสติบ่อยๆ ชีวิตก็จะนิ่งสงบสุข เป็นความสุขระดับปาฏิหาริย์
5
และมันเป็นปาฏิหาริย์ที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่คนส่วนใหญ่จะลืม หรือหลุดขณะทำ เพราะในช่วงหายใจเข้ากับหายใจออกสั้นๆ นี้ เกิดอะไรขึ้นมากมาย เผลอนิดเดียวความคิดก็แล่นหลุดไปไกลโพ้นแล้ว
7
ทว่าก็เหมือนกล้ามเนื้อทางกาย ฝึกฝนบ่อยๆ ก็แข็งแกร่งขึ้น ใจก็เหมือนกัน ต้องฝึกฝนต่อเนื่อง
10
ท่านติช นัท ฮันท์ สอนเรื่องอานาปานัสสติ เป็นบทเรียน 8 บทดังนี้
3
  • 1 ให้รับรู้ลมหายใจเข้าออก (Awareness of inner & outer breath)
1
เมื่อหายใจเข้า ให้โฟกัสที่จุดหายใจเข้า สลัดทิ้งทุกอย่างที่ไม่เกี่ยวออกไป เช่น เรื่องในอดีต ความกังวลเกี่ยวกับอนาคต ความคิดเรื่องงาน ความกลัว ความโกรธ ความอิจฉา ฯลฯ
3
ติช นัท ฮันท์
จุดหมายเดียวของเรา ณ จุดนี้คือหายใจเข้า เราจะเป็นอิสระตอนนี้เอง
6
ท่านติช นัท ฮันท์ บอกว่า “แค่หายใจเข้าก็เป็นอิสระ”
3
ย้ำอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 1 คือให้รับรู้ตามทันการหายใจเข้าและออก
  • 2 ตามลมหายใจเข้าออก (Follow inner and outer breath)
1
ไม่ใช่ตามธรรมดา แต่ติดตามลมหายใจเข้าออกตั้งแต่ต้นจนจบ
สมมุติว่าความยาวของหนึ่งลมหายใจเข้าคือความยาวของปากกาหนึ่งแท่ง ตอนหายใจเข้าก็ให้จิตจับที่ปลายปากกาหนึ่ง ขณะหายใจเข้า ก็ตามมันไปตามแท่งปากกานั้น ไม่มีจุดสะดุด ต่อเนื่องไปตลอดทั้งด้ามปากกา โฟกัสจิตตรงการเข้าไปจนสุดทาง
2
การหายใจออกก็เช่นกัน ติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ
2
  • 3 รับรู้ร่างกาย (Awareness of body)
หายใจเข้ารับรู้การดำรงอยู่ของร่างกาย อยู่กับปัจจุบัน และรับรู้ว่ามีชีวิต
ท่านว่าหลายคนใช้เวลาสองชั่วโมงหน้าจอคอมพิวเตอร์ เวลาผ่านไปสองชั่วโมงโดยที่เขาไม่รู้ตัว แปลว่าเขาจะ ‘ไม่มีชีวิต’ ในช่วงนั้น
7
เราจะมีชีวิตก็ต่อเมื่อจิตอยู่กับกาย รับรู้การดำรงอยู่ของร่างกาย ณ ขณะจิตปัจจุบัน
4
การรับรู้กายทำให้เราเอนจอยร่างกาย
2
  • 4 ทำให้กายสงบ (Calm your body)
1
หายใจเข้า เราทำให้กายสงบ
2
ตอนหายใจออก ปล่อยให้ความเครียดความเกร็ง (tension) ไหลออกมา
1
ร่างกายสัมพันธ์แนบแน่นกับจิตใจ เมื่อร่างกายเครียดเกร็ง มันจะส่งผลลบต่อจิตใจ
การฝึกจิตก็คือการฝึกกายด้วย เพราะกายกับจิตเชื่อมกัน
3
  • 5 สร้างความรู้สึกยินดีเริงร่า (Generating joy)
1
เมื่อหายใจอย่างรับรู้ มันก็เปิดโอกาสให้เรายินดีเริงร่าได้ง่าย เราบอกตัวเองได้ว่าเราโชคดีที่สามารถมีความสุขที่นี่ ณ​ ขณะจิตนี้ ไม่ต้องวิ่งไปในอนาคตเพื่อหาความสุข มันอยู่ตรงนี้แล้ว
4
มีความสุขในชั่วยามปัจจุบัน ที่นี่ เดี๋ยวนี้
2
ท่านติช นัท ฮันท์ บอกว่า แค่อยู่กับปัจจุบันขณะ มันก็ทำให้เกิดเหตุให้มีความสุขได้แล้ว
1
นี่ก็คือคำสอนของพระพุทธองค์โดยตรง
1
  • 6 สร้างความสุข (Generating happiness)
1
ยามหายใจเข้าออก ให้ผ่อนคลาย มองโลกด้านสุข มองด้านดี สวยงามของโลก มองด้านดีของคนอื่น มองว่าโลกที่เราอยู่มีความสุข มีคุณค่าที่เราจะอยู่
1
  • 7 รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด (Awareness of pain)
2
หายใจเข้า เรารับรู้ความความรู้สึกเจ็บปวดที่กำลังเกิดขึ้นในตัวเรา
ไม่หนีความรู้สึกเจ็บปวดนั้น หรือซ่อน หรือกดทับ แต่ให้รับรู้
2
ท่านติช นัท ฮันท์ สอนว่า เมื่อจิตตื่นรู้ ก็รับรู้ว่ามีความรู้สึกเจ็บปวดนั้นเกิดขึ้น และโอบรับความเจ็บปวดนั้นอย่างอ่อนโยน ไม่ว่าเป็นความโกรธ ความกลัว ความอิจฉา ความสิ้นหวัง
8
เราอาจเอ่ยว่า “สวัสดีจ้ะ ความเจ็บปวด ฉันรู้ว่าเธออยู่ตรงนี้นะ ฉันจะดูแลเธออย่างดี”
6
ไม่ต้องสู้กับความเจ็บปวด ยอมรับมัน ดูแลมันอย่างดีเหมือนแม่ที่ปลอบโยนทารกที่ร้องไห้ ความทุกข์ก็คือทารกที่ร้องไห้อยู่ จิตที่ตื่นรู้คือแม่ที่มีความรัก โอบกอดลูกอย่างอ่อนโยน
5
ก็คือใช้พลังงานของการเจริญสติมาช่วย
1
เมื่อครั้งที่หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ป่วยหนัก ท่านต้องผ่านทุกข์ทรมานทางกายอย่างหนัก แต่ท่านไม่แสดงอาการทุกข์ร้อน กล่าวว่า “เห็น อย่าเข้าไปเป็น” และ “เห็นทุกข์ก็พ้นทุกข์”
7
  • 8 สงบความเจ็บปวดลง (Calm down the pain)
รับรู้ความเจ็บปวด แต่สงบมันลงประหนึ่งแม่โอบกอดลูกอย่างอ่อนโยน ทำให้ลูกมีความทุกข์ลดลง
ท่านติช นัท ฮันท์ กล่าวว่า ข้อ 5-6 คือศิลปะของความสุข
ส่วนข้อ 7-8 คือศิลปะของทุกข์
1
เราต้องรับรู้ทั้งสองอย่าง ไม่ใช่รับแต่สุข ไม่รับทุกข์ แต่เราเปลี่ยนด้านลบเป็นบวกได้ เสมือนใช้ดินโคลนปลูกดอกบัว
3
อย่ากลัวความทุกข์ ความเจ็บปวด อย่าหนีมัน แต่จงอยู่กับมัน
ท่านติช นัท ฮันท์ อธิบายว่า สติสัมปชัญญะของคนแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนล่างกับส่วนบน
1
ส่วนล่างเก็บความรู้สึกไม่ดีทั้งหลายในรูปเมล็ดพันธุ์ เช่น โกรธ กลัว ฯลฯ ถ้าเมล็ดพันธุ์อยู่เฉยๆ ของมัน ไม่งอกเป็นต้น เราก็ไม่เป็นไร
2
ถ้ามันโตเป็นต้นขึ้นมา จะกลายเป็นความโกรธ และอารมณ์อื่นๆ
1
วิธีแก้คือเมื่อรู้ว่าเมล็ดนี้กำลังพุ่งขึ้นมา ให้หายใจ ตามมันให้ทัน มันเป็นพลังงานของการเจริญสติ (energy of mindfulness) พลังงานนี้จะจัดการกับความโกรธนั้น
1
การฝึกเจริญสติบ่อยๆ จะช่วยให้เมล็ดพันธุ์ของการเจริญสติแข็งแรง เติบโต และช่วยเราได้
2
ท่านติช นัท ฮันท์ กล่าวว่าใจของเราไปอยู่ที่ไหนไม่ได้นอกจากปัจจุบัน แม้เราครุ่นคิดเรื่องอดีตหรือกังวลเรื่องอนาคต มันก็เป็นห้วงยามของปัจจุบันนั่นเอง ดังนั้นจงอยู่กับปัจจุบัน
16
โฆษณา