12 พ.ย. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
ไม่ด่าใครโทษใครในเรื่องที่เราคุมไม่ได้
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
เราอาจเคยได้ยินเรื่องของคนที่ดูแลสุขภาพอย่างดี กินแต่อาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับเต็มอิ่ม ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า แต่เป็นโรคมะเร็งร้ายหรือหัวใจวาย ตายเร็วกว่าคนที่ไม่ดูแลสุขภาพ
1
เราตั้งคำถามว่าทำไม แต่ในมุมของ Stoicism นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก
ปรัชญา Stoicism เริ่มโดยซีโนแห่งซีเทียม และต่อยอดโดยปราชญ์กรีกหลายคน หนึ่งในคนที่มีชื่อเสียงคือ เอพิคทีตัส (Epictetus)
Epictetus ไม่ใช่ชื่อคน คำนี้แปลว่าการซื้อ เพราะเขาเป็นทาสที่ถูกซื้อมา เขาเกิดที่ Hierapolis, Phrygia (ปัจจุบันคือตุรกี) เขาเป็นคนฉลาด เมื่อได้รับอิสรภาพ เขาก็ไปอาศัยที่กรีซ สอนหลักการ Stoicism แก่สานุศิษย์ เขียนหนังสือหลายเล่ม
อาจเพราะผ่านชีวิตทาสมาก่อน เอพิคทีตัสเห็นว่าปัจจัยภายนอกเราเป็นเรื่องที่เราคุมไม่ได้ ดังนั้นเราควรยอมรับมัน รับมือกับมันอย่างมีสติและเยือกเย็น หรือที่เรียกว่า stoic calm
2
เอพิคทีตัสสอนหลักสโตอิกอย่างมีอารมณ์ขันว่า “ข้าฯต้องตาย ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ ข้าฯก็จะตายเดี๋ยวนี้ แต่ถ้าเป็นภายหลัง ข้าฯก็ขอกินอาหารเที่ยงก่อน เพราะตอนนี้เป็นเวลาเที่ยง ส่วนเรื่องตาย เอาไว้ทีหลัง”
5
ความหมายคือเขาคุมได้เฉพาะเรื่องอาหารเที่ยง ส่วนเรื่องความตาย เขาคุมไม่ได้
1
ในเมื่อคุมไม่ได้ ไยต้องปวดหัวกับมัน
3
ชีวิตมีสองด้าน ด้านที่คุมได้ กับที่คุมไม่ได้
2
คุมไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียเวลากับมัน เราเรียกหลักนี้ว่า Dichotomy of Control
4
หลักนี้บอกว่าบางอย่างเราคุมได้ บางอย่างเราคุมไม่ได้
นักปรัชญา Stoicism อีกคนหนึ่งคือ Seneca หรือชื่อเต็มว่า Lucius Annaeus Seneca the Younger ก็พบชะตากรรมที่ทดสอบ Dichotomy of Control เช่นกัน เซเนกาเป็นที่ปรึกษาของจักรพรรดิเนโร
ในปี ค.ศ. 65 มีความพยายามลอบสังหารเนโร ด้วยความระแวงว่าเซเนกาอาจเกี่ยวข้อง เนโรสั่งประหารเซเนกา เซเนกาก็ฆ่าตัวตายด้วยความเยือกเย็น
เรื่องตายคุมไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปคุม
Dichotomy of Control ก็มีส่วนคล้ายเซน
นิทานเซนเรื่องนี้เล่ากันมานาน และมีคนตีความต่างๆ นานา
1
ชายคนหนึ่งเดินทางผ่านป่าแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าเสือตัวหนึ่งไล่จะกินเขา เขาวิ่งหนีเสือไปถึงหน้าผาแห่งหนึ่ง ไต่เถาวัลย์ลงไปจากผา ขณะที่เสือตัวนั้นรอเขาอยู่ข้างบน เขามองลงไปเบื้องล่าง มีจระเข้ตัวหนึ่งก็รอกินเขาเช่นกัน
ชีวิตของเขาแขวนอยู่บนเถาวัลย์เส้นนี้
1
ทันใดนั้นก็ปรากฏหนูตัวหนึ่งเริ่มแทะเถาวัลย์ทีละน้อย หากเถาวัลย์ขาด เขาจะตกลงไปเป็นอาหารจระเข้ แต่หากเขาปีนผาหนีขึ้นไปก่อนเถาวัลย์ขาด ก็จะเป็นอาหารของเสือ
ชายคนนั้นมองเห็นผลไม้ป่าบนเถา เขาเอื้อมมือหนึ่งไปเด็ดผลไม้ผลนั้นมากินแล้วเอ่ยว่า “ช่างหวานฉ่ำเสียนี่กระไร!”
5
เรื่องนี้บอกเราหลายมุม มุมหนึ่งคือการใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่ต้องกังวลเรื่องอนาคต เพราะมันไม่มี
3
Seneca
แต่อีกมุมหนึ่งคือวิธีคิดแบบ Stoicism คือเราทำเรื่องที่คุมได้ (ในที่นี้คือกินผลไม้) ส่วนเรื่องอื่น (คือจะถูกเสือหรือจระเข้กิน) เราคุมไม่ได้ ดังนั้นก็ไม่ต้องคิดมาก
2
Stoicism มักยกตัวอย่างการยิงธนูมาอธิบายเรื่องนี้ สมมุติว่าเราเป็นพลธนูกรีกกำลังเข้าสู่สมรภูมิ เราอาจผ่านการฝึกฝนการยิงธนูมาอย่างหนัก เราเลือกธนูที่ดีที่สุด ลูกศรที่ดีที่สุด ตอนที่เราเล็งธนูไปที่ข้าศึก เราเล็งอย่างประณีตที่สุด แต่หลังจากเราปล่อยลูกธนูออกไปแล้ว เราคุมอะไรไม่ได้อีก
2
เราไม่เกี่ยวอะไรกับลูกธนูอีกต่อไป มันจะเข้าเป้าหรือไม่เข้าเป้าไม่ใช่เรื่องที่เราต้องกังวลหรือกลุ้มใจ เพราะเราคุมมันไม่ได้อีกแล้ว ลมอาจตีมาให้ลูกศรไม่เข้าเป้า ทหารข้าศึกอาจเคลื่อนตัวทันใด ทำให้เรายิงไม่ถูก
6
ดังนั้นเราไม่ควรผูกตัวเองกับผลลัพธ์ แต่ผูกได้กับความพยายามของเรา
16
โลกเรามีสองเรื่องเท่านั้นคือสิ่งที่เราคุมได้กับสิ่งที่เราคุมไม่ได้ สิ่งที่เราคุมได้คือความคิดเห็นของเรา ความต้องการของเรา สิ่งที่เราคุมไม่ได้คือร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง
8
เราอาจพยายามคุมร่างกาย ชื่อเสียง แต่มันไม่แน่นอน เราทำได้เพียงแค่พยายามได้เต็มที่ ส่วนผลลัพธ์อาจคุมไม่ได้
1
ในเรื่องสุขภาพ เราสามารถพยายามดูแลตัวเอง แต่มันมีปัจจัยอีกมากมายที่อาจทำให้เราสุขภาพเราเสื่อมลงและอายุสั้น เช่น เชื้อโรค สารเคมีที่เราได้รับมาจากโรงงานใกล้บ้าน ควันบุหรี่ที่เราได้รับจากคนรอบตัว ฯลฯ
1
เรื่องการสมัครงานก็เช่นกัน เราพยายามได้ เตรียม resume อย่างดี แต่ที่เหลือเราคุมไม่ได้ เราอาจไม่ได้งานเพราะผู้สัมภาษณ์หงุดหงิดในวันนั้น เนื่องจากเช้านั้นคนสัมภาษณ์ทะเลาะกับเมีย หรือโดนคนขับรถปาดหน้า ฯลฯ
4
การหาคนรักก็เช่นกัน เราคุมให้ใครมารักเราไมไ่ด้ แต่เราทำตัวเองให้น่ารักได้
10
ดังนั้นเราไม่ด่าใครโทษใครในเรื่องที่เราคุมไม่ได้
4
เอพิคทีตัสจึงกล่าวว่า “ทางเดียวของความสุขคือยุติความกังวลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจและเจตจำนงของเรา”
7
ชีวิตคนทุกคนจะต้องผ่านเหตุการณ์ที่ผิดคาด ไม่เป็นไปตามเป้า ทั้งที่วางแผนไว้อย่างดี คนส่วนมากจะเอ่ยคำว่า “โลกไม่ยุติธรรมเลย”
2
ผมเคยทำงานโฆษณาสิบกว่าปี เคยคิดไอเดียงานที่เชื่อด้วยความสามารถในวิชาชีพว่าดีที่สุดสำหรับสินค้านั้น แต่เมื่อนำเสนอให้ลูกค้า ปรากฏว่าถูกยิงตก
3
เราอาจโพสต์เรื่องที่คิดว่าดีที่สุดในเพจ แต่คนจำนวนมากไม่ชอบ
3
นักเล่าเรื่องตลกจำนวนมากคิดมุขที่ตนเองเชื่อว่าขำมาก แต่เมื่อเล่าไปแล้ว คนฟังเงียบกริบ
1
มีคนทำหนังจำนวนมากที่สร้างภาพยนตร์ดี มีคุณค่าแต่ไม่ทำเงิน หรือคนไม่ดู หรือนายทุนไม่สนใจ
1
ดังนั้นจงทำงานที่ดีที่สุดตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของเรา แต่เมื่อทำงานเสร็จแล้ว ก็ต้องปล่อยวาง เพราะลูกค้าอาจไม่ซื้อ
6
บ่อยครั้งเราทำดีกับคนอื่น แต่คนอื่นไม่รับ หรือไม่แยแส เราอาจเสียใจ แต่ี่เป็นทัศนคติที่ควรเลี่ยง เพราะหากจะทำดี ก็อย่าหวังผลตอบแทน หรือคาดหวังว่าคนอื่นจะขอบคุณ
10
เหล่านี้ไม่เกี่ยวกับว่าโลกไม่ยุติธรรมหรือเราเคราะห์ร้าย ถ้าเราต้องกลุ้มใจทุกครั้งที่งานหรือชีวิตไม่เดินตามทางที่เรากำหนด เราก็จะทุกข์ตลอดชีวิต
5
เราคุมฝนตก แดดออก ไม่ได้ และไม่ต้องคิดไปคุม ทำงานให้ดีที่สุด
2
เราไม่ด่าฝน เพราะเราคาดหมายว่ามันจะตก ถ้าเช่นนั้นทำไมเราไม่คาดหมายเรื่องร้ายๆ อื่น นอกเหนือจากฝน เพิ่มอีกหลายเรื่อง เช่น การถูกหักหลัง การถูกโกง ฯลฯ
ชาวสโตอิกไม่ด่าเหตุร้ายทุกเรื่องที่เกิดขึ้น เราด่าเหตุร้ายเพราะมันมาแบบคาดไม่ถึง
สโตอิกเห็นว่าสรรพสิ่งเป็น cause-effect หลายเรื่องเราคุมไม่ได้
1
สโตอิกไม่ใฝ่ฝันถึงสังคมอุดมคติ ไม่พยายามรื้อระบบ แต่เลือกที่จะอยู่กับสังคมที่เป็นอยู่ได้ และแก้ไขปรับปรุงมัน โดยเริ่มที่ปรับปรุงพัฒนาตนเองก่อนด้วยหลักสี่ข้อ ที่เรียกว่า Cardinal Virtues
14
1 ความสามารถมองสถานการณ์ซับซ้อนด้วยตรรกะ และความใจเย็น
3
2 ความสามารถการควบคุมตนเองและความพอดีในทุกเรื่องของชีวิต
6
3 ยุติธรรมต่อทุกคน แม้กับคนที่ทำผิด
3
4 กล้าหาญ กล้าเผชิญหน้ากับเรื่องต่างๆ และความไม่แน่นอนด้วยความกระจ่าง
2
สโตอิกเชื่อว่ามีแต่คนมีคุณธรรมและควบคุมตนเองได้ จึงจะสามารถเปลี่ยนคนอื่น
2
สโตอิกเห็นว่า เราสามารถหาคุณค่าได้แม้ในยามที่มืดมนที่สุด เช่น ติดคุก หรือสูญเสียทุกอย่างในชีวิต
2
ถ้าใช้หลักนี้ เราก็มีความสุขได้ ในทุกสถานการณ์
1
Stoicism เป็นมากกว่าปรัชญาหรือวิธีคิด มันเป็นวิธีการใช้ชีวิตได้
Stoicism สอนให้เรายอมรับธรรมชาติของเราเอง ทั้งทางกายทางความคิด ยอมรับข้อจำกัดของตัวเอง ตัวตนของเรา เราไม่ต้องเปลี่ยนให้เหมือนคนอื่น และไม่ต้องคิดเปลี่ยนคนอื่นให้เหมือนเรา ยอมรับทุกคน ยอมรับทุกอย่าง
11
ก่อนจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งแอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลา ถูกจับขังคุกนาน 27 ปี หลังออกจากคุกและขึ้นสู่อำนาจ เขาไม่ได้แก้แค้นคู่แค้นทางการเมือง แต่เดินหน้าสร้างความปรองดองของชาติ
เล่ากันว่าในระหว่างที่ถูกจำคุก ใครคนหนึ่งลอบส่งหนังสือเรื่อง Meditations ที่เขียนโดยปราชญ์กรีกโบราณ จักรพรรดิ Marcus Aurelius เกี่ยวกับวิถี Stoicism หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนมุมมองต่อโลก
2
ไม่ว่า เนลสัน แมนเดลา จะได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้จริงหรือไม่ วิถีชีวิตของเขาก็สอดคล้องกับ Stoicism มาก
แมนเดลาติดคุกอย่างไม่ยุติธรรม แต่เขาไม่แก้แค้นใคร เพราะอดีตนั้นแก้ไม่ได้แล้ว และเป็นสิ่งที่เหนือการคุมหรือเปลี่ยนแปลงของเรา มีแต่ก้าวต่อไป
7
วิถีสโตอิกอาจเป็นเรื่องปัจเจก แต่ในภาพรวม มันอาจสร้างสันติภาพแก่โลก
1
โฆษณา