7 ต.ค. 2022 เวลา 23:20 • ประวัติศาสตร์
10 เรื่องเกี่ยวกับพรมแดนทั่วโลก
ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
1. ไทยมีพรมแดนติดกับอินเดีย
2
นอกจากพรมแดนทางบกแล้ว หลายคนอาจลืมไปว่ายังมีพรมแดนทางทะเลด้วย
โดยไทยมีพรมแดนทางทะเลติดกับกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ในฝั่งอ่าวไทย
ขณะที่ฝั่งอันดามันจะติดกับเมียนมาร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอินเดีย
1
เขตแดนทางทะเล อำนาจอธิปไตยลดหลั่นลงไปตามกฎหมายทะเล (law of the sea) รัฐชายฝั่งอ้างสิทธิได้ไกล 200 ไมล์ทะเล หรือราว 370.4 กม.
1
โดยอินเดียมีดินแดนที่เรียกว่าหมู่เกาะอันดามันและนิโคบา (Andaman and Nicobar Islands) ไปทางตะวันตกของภาคใต้ฝั่งอันดามัน ราว 400 กม.
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อเกาะเซนติเนลเหนือ (North Sentinel Island) ในฐานะเกาะคนเปลือยที่ไม่ควรก้าวย่างไป ก็เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะนี้ด้วย
ชนเผ่าบนเกาะเซนติเนลเหนือ
2. จากข้อ 1. ที่ผ่านมา
จะเห็นได้ว่าหลายประเทศมีดินแดนของตนอยู่นอกแผ่นดินหลักของตนเอง เช่น
ดินแดนเฟรนช์เกียน่า (French Guiana) ของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับซูรินาเม และบราซิล
หากรวมเขตแดนทางทะเลแบบข้อ 1 จะเห็นว่าญี่ปุ่นมีพรมแดนทางทะเลติดกับสหรัฐอเมริกา บริเวณหมู่เกาะโอะงะซะวะระ (Ogasawara) และหมู่เกาะกวม (Guam) อาณานิคมของสหรัฐอเมริกา
แผนที่แต่ละประเทศเมื่อรวมกับอาณาเขตทางทะเล
3. เกาะกลางแม่น้ำที่เปลี่ยนสัญชาติทุก 6 เดือน
1
เกาะฟีซองส์ (Faisans) เป็นเกาะกลางแม่น้ำบีดาซัว (Bidasoa River) กั้นระหว่างฝรั่งเศส กับสเปน มีขนาด 3,000 ตร.ม. ยาว 200 ม. กว้างสุด 40 ม.
ฟีซองส์ ในภาษาฝรั่งเศส หรือไฟซาเนส ในภาษาสเปน แปลว่าไก่ฟ้า
ในปี ค.ศ. 1659 ฝรั่งเศส และสเปนตกลงปักปันเขตแดน เพื่อยุติข้อพิพาทระหว่างกัน ในสนธิสัญญาพิเรนีส (Treaty of the Pyrenees) บนเกาะแห่งนี้
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 แห่งสเปน ร่วมลงนามในสนธิสัญญาบนเกาะฟีซองส์
โดยตกลงกัน ให้สเปนเป็นเจ้าของเกาะดังกล่าวในวันที่ 1 ก.พ. - 31 ก.ค. และฝรั่งเศสเป็นเจ้าของเกาะในอีก 6 เดือนที่เหลือ มาจนถึงปัจจุบัน
4. พรมแดนยุโรปตะวันตกอันสงบสุข
ยุโรปตะวันตก เป็นดินแดนต้นกำเนิดแนวคิดรัฐชาติ (Nation State) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1401 - 1850) จากแนวคิดชาตินิยมที่ขยายตัวมากขึ้น
หนึ่งในองค์ประกอบของรัฐชาติ คือ การมีอาณาเขตที่แน่นอน
ยุโรปตะวันตกจึงเป็นทวีปที่มีการแบ่งเขตแดนชัดเจนมาอย่างยาวนาน
และเขตแดนยุโรปตะวันตกไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อีกเลย ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ชายแดนเนเธอร์แลนด์-เบลเยียม ในปัจจุบัน
ปัจจุบันแนวคิดชาตินิยมแบบในอดีตได้ลดลงไปมากแล้ว (แม้ช่วงหลังแนวคิดชาตินิยมในยุโรปจะกลับมาเติบโตขึ้นมากก็ตาม)
ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น ในปีค.ศ. 2016 เบลเยียมตกลงแลกเปลี่ยนดินแดนกับเนเธอร์แลนด์ บริเวณเกาะในแม่น้ำเมิซ (Maas River)
แม้การแลกเปลี่ยนนี้จะทำให้เบลเยียมได้ดินแดนน้อยกว่าเนเธอร์แลนด์ก็ตาม
เกาะดังกล่าวยากต่อการควบคุมทางกฎหมายจากฝั่งเบลเยียม ขณะที่การควบคุมจากฝั่งเนเธอร์แลนด์นั้นง่ายกว่า ส่งผลให้มีการค้าประเวณีและยาเสพติดบนเกาะ
รมว. กระทรวงการต่างประเทศของเบลเยียม ให้ความเห็นว่า ข้อตกลงนี้เป็นเครื่องยืนยันว่า การแก้ไขปัญหาพรมแดนสามารถทำได้อย่างสันติ
อีกตัวอย่างคือ ปีเดียวกันมีการรณรงค์ในนอร์เวย์ให้มอบภูเขาลูกหนึ่งบริเวณชายแดนแก่ฟินแลนด์ เพื่อเป็นของขวัญ 100 ปี วันชาติฟินแลนด์
ยอดเขาเฮาติ (Halti) สูง 1,365 ม. หากฟินแลนด์ได้ไปจะเป็นจุดสูงสุดของประเทศ
รัฐบาลนอร์เวย์จริงจังกับเรื่องนี้มาก ถึงขนาดเสนอเรื่องนี้เข้าสู่รัฐสภา
อย่างไรก็ตามทางนอร์เวย์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ทางรัฐบาลนอร์เวย์จะมอบของขวัญเป็นอย่างอื่นแทน
แม้จะไม่ได้มอบภูเขาให้ แต่อย่างน้อยที่สุดการรณรงค์จากภาคสังคมนี้ก็สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับเพื่อนบ้านทั้งสองชาติ
ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีเช่นนี้ ยุโรปตะวันตกก็ยังมีข้อพิพาทเล็กๆ น้อยๆ อยู่ ซึ่งไม่ได้เกิดความรุนแรง หรือความตรึงเครียดทางการทูตใดๆ
ยอดเขามงบล็อง ยอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก บนเทือกเขาแอลป์
ตัวอย่างเช่น ข้อพิพาทยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ระหว่างฝรั่งเศสกับอิตาลี ที่เป็นประเด็นมากที่สุดเพียงสงครามน้ำลายบนโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
5. หากเดินทางบนบกจากเกาหลีเหนือไปฟินแลนด์ คุณสามารถผ่านแค่ประเทศเดียวได้
1
หลายคนทราบกันดีว่าประเทศหนึ่งอยู่ในเอเชียตะวันออก ขณะที่อีกประเทศหนึ่งอยู่ในยุโรป
แต่หากต้องการเดินทางจากเกาหลีเหนือไปฟินแลนด์ โดยใช้ทางบกจริงๆ สามารถที่จะเดินทางผ่านได้ในประเทศเดียว คือ รัสเซีย
แสดงให้เห็นถึงความใหญ่โตของประเทศรัสเซียได้เป็นอย่างดี
6. ประเทศที่มีเพื่อนบ้านมากที่สุดในโลก
จีนและรัสเซียมีพรมแดนทางบกติดกับประเทศเทศอื่นมากที่สุดในโลก คือ 14 ประเทศ
แม้รัสเซียจะมีพรมแดนยาวกว่าจีนมาก แต่กว่าครึ่งหนึ่งติดกับมหาสมุทรอาร์กติก
ทั้งนี้พรมแดนรัสเซียยังไม่นับรวมอับคาเซีย เซาท์ออสซีเชีย โดเนสก์ และลูฮันสก์ ที่ยังมีข้อพิพาทกันอยู่
รองลงมาคือ ประเทศบราซิล 10 ประเทศ และเยอรมนี 9 ประเทศ
7. ดินแดนที่ไม่มีประเทศใดอยากได้
2
เบียทาวิล (Bir Tawil) และฮาราอิป (Halaib) เป็นดินแดนที่กั้นระหว่างอียิปต์ กับซูดาน
ดินแดนดังกล่าวมีสถานะดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ (No Manland)
เป็นผลมาจากช่วงที่อังกฤษแผ่อิทธิพลเข้ามาปกครองอียิปต์และซูดาน เป็นอาณานิคม
ต่อมาอังกฤษต้องการลากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอาณานิคมทั้งสอง โดยการลากเป็นเส้นตรงบนแผนที่
ปัญหาคือ บริเวณเบียทาวิล เป็นพื้นที่ที่ชาวอียิปต์อยู่มาก ขณะที่ฮาราอิป มีชาวซูดานอยู่มาก
เมื่ออียิปต์และซูดานได้เอกราชจากอังกฤษ ทำให้มีการยกประเด็นนี้มาคุยกันระหว่างสองชาติ
โดยมีข้อตกลงคือ ดินแดนทั้งสองจะเป็นดินแดนที่ปกครองร่วมกัน และห้ามประเทศใดอ้างสิทธิเกินหนึ่งแห่ง
นั้นหมายความว่า หากประเทศใดอ้างสิทธิเหนือฮาราอิป ประเทศนั้นจะอ้างสิทธิเหนือเบียทาวิลไม่ได้
ต่อมาเมื่อมีการพบน้ำมันบริเวณนอกชายฝั่งฮาราอิป ทั้งสองชาติท่าทีจึงเปลี่ยนไป
โดยทั้งสองได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนฮาราอิป ทำให้ไม่มีใครสนใจเบียทาวิล
เบียทาวิลจึงเป็นดินแดนที่ไม่มีใครอยากอ้างสิทธิ
8. พรมแดนซ้อนพรมแดน ซ้อนพรมแดน
1
พรมแดนบังกลาเทศ-อินเดีย หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษจะแบ่งตามศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่
โดยพื่นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม จะอยู่ฝั่งบังกลาเทศ ขณะที่พื้นที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู จะอยู่ฝั่งอินเดีย
อีกแห่งคือ เมืองบาร์เล (Baarle) ชายแดนเนเธอร์แลนด์-เบลเยียม เป็นผลจากการซื้อขาย และแลกเปลี่ยนดินแดนกันของขุนนาง ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 (ค.ศ. 1101 - 1200)
ต่อมาเกิดการปฏิวัติเบลเยียม (Belgian revolution) ในปี ค.ศ. 1831 ทำให้เบลเยียมได้เอกราชจากเนเธอร์แลนด์
มีการปักปันเขตแดนกันในภายหลัง โดยใช้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ระหว่างการซื้อขายและแลกเปลี่ยนดินแดนของขุนนางทั้งสองฝั่ง
ทำให้มีดินแดนซ้อนกันเป็นจำนวนมากมาถึงปัจจุบัน
9. พรมแดนอวกาศ
ในปี ค.ศ. 1958 สหประชาชาติได้ก่อตั้งสำนักงานกิจการอวกาศแห่งสหประชาชาติ (UNOOSA) และคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ (COPUOS) ในปีถัดมา ซึ่งผลักดันโดยสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
ประเทศที่เป็นสมาชิก COPUOS ในปีค.ศ. 2022
เพื่อหารือเกี่ยวกับกฎหมายอวกาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสำรวจอวกาศของมนุษยชาติ
สนธิสัญญาว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับกิจกรรมของรัฐในการสำรวจและใช้ประโยชน์จากอวกาศ รวมทั้งดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น ค.ศ. 1967 (เรียกสั้นๆ ว่าสนธิสัญญาอวกาศ) ถือเป็นธรรมนูญหลักของการดำเนินกิจการอวกาศ
มีการกำหนดหลักสำคัญๆ ไว้ ได้แก่ หลักเขตแดนของมวลมนุษยชาติ หลักว่าด้วยเสรีภาพบนห้วงอวกาศ หลักไม่ให้มีการครอบครองห้วงอวกาศ และหลักการควบคุมกิจการทางทหารในห้วงอวกาศ
โดยสนธิสัญญานี้ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีด้วย หลังจากนั้นได้มีสนธิสัญญาที่สำคัญตามมาอีก 4 ฉบับ
อวกาศหากแบ่งโดยชั้นบรรยากาศโลก
นิยามคำว่าอวกาศตามกฎหมาย หรือโดยทั่วไปของแต่ละประเทศนั้นจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 100 - 160 กม. จากระดับน้ำทะเล หรือน้อยกว่า/มากกว่านั้น โดยอวกาศเป็นพื้นที่ที่ไม่มีชาติใดเป็นเจ้าของ
10. มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ
มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ (Common heritage of humanity) เป็นหลักการในกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยพื้นที่ที่ไม่มีชาติใดเป็นเจ้าของ
อันได้แก่ทะเลหลวง ทวีปแอนตาร์กติก้า และอวกาศ
พื้นที่ดังกล่าวห้ามมีการครอบครองของชาติใด เป็นพื้นที่เสรีในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และการสำรวจ รวมถึงเสรีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรืออื่นๆ ตามสนธิสัญญาเฉพาะ
อ้างอิง :
โฆษณา