1 ต.ค. 2022 เวลา 08:50 • ข่าว
วันที่ ๑ ตุลาคม เป็นวันเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๔:
5
สมัยผมเป็นสามเณรกำลังเรียนวิธีแต่งฉันท์มคธอยู่ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่ปกครองดูแล ให้ศึกษาบทพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสพระองค์แรกของวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเป็นแนวทาง
1
พอไปศึกษาเข้า ก็เหนือความคาดหมายมากครับ นึกไม่ถึงว่าพระองค์จะทรงอัจฉริยะในทางภาษาบาลีมากมายขนาดนี้ ทรงปราชญ์เปรื่องยิ่งกว่าพระเปรียญ ๙ ประโยคสมัยนี้ด้วยซ้ำ
1
ผมไม่สงสัยเลยที่หลวงปู่มั่นเคยกล่าวไว้ว่าในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นชาวอินเดียกลับชาติมาเกิดในประเทศไทย เพราะทรงแต่งภาษาบาลีได้อย่างละเอียดละออมาก
2
ผมอ่านศึกษาบทพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีของพระองค์หลายรอบตั้งแต่สมัยเป็นสามเณร โดยอาศัยสำนวนแปลที่ท่านน.อ.เมฆ อำไพจริตได้แปลเอาไว้ช่วย ท่องศัพท์บาลีใหม่ๆ ที่พระองค์ทรงใช้แต่ง เช่น อังกฤษ ยุโรป เป็นต้นเอาไว้แต่งฉันท์บาลีสอบในสนามหลวง
ต่อมา พอสึกออกมาและวัดให้ทุนไปเรียนปริญญาเอก ผมก็หยิบเอาพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีที่เคยอ่านสมัยเป็นสามเณรนั่นแหละมาอธิบายภาพรวมและวิจารณ์ลักษณะภาษาบาลีที่ใช้ในบทพระราชนิพนธ์ว่าต่างจากภาษาบาลีในพระไตรปิฎกและอัฏฐกถาอื่นๆ อย่างไร ส่งให้มหาวิทยาลัยพิจารณา มหาวิทยาลัยก็รับเข้าเป็นนักศึกษา
ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ไม่เพียงจะทรงศึกษาพระบาลีจนแตกฉาน ยังทรงก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายธรรมยุตและส่งเสริมให้มีพระกรรมฐานในป่าหรือประเพณีพระป่ามาจนทุกวันนี้
โดยทรงรับศิษยานุศิษย์สองท่านจากอุบลราชธานีมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่ออบรมสั่งสอนในทางพระวินัยและกรรมฐานคือท่านพันธุโล (ดี) และ ท่านเทวธัมมี (ม้าว) ต่อมา เมื่อศิษย์ทั้งสองท่านนี้กลับไปอยู่ที่อุบลราชธานีก็ได้มีศิษยานุศิษย์อื่นๆ มาอยู่ศึกษาและปฏิบัติตามด้วย สืบเนื่องมาถึงหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลและหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยลำดับ
3
ประเพณีพระป่าสายธรรมยุต รวมทั้งสายหลวงพ่อชา สุภทฺโทที่มีทุกวันนี้จึงล้วนสืบทอดมาจากการวางรากฐานที่เป็นต้นกำเนิดคือในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทั้งนั้น
2
เนื่องในวันสวรรคตของพระองค์คือ ๑ ตุลาคม ผมขอเสนอให้คณะสงฆ์ในวัดป่าสร้างประเพณีให้มีพิธีสวดมนต์อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล รำลึกนึกถึงพระองค์ ในฐานะบิดา ผู้ให้กำเนิดพระสงฆ์สายพระป่าของไทยในปัจจุบันครับ
5
โฆษณา