3 ต.ค. 2022 เวลา 15:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Buy Now Pay Later ฟองสบู่ที่กำลังจะระเบิดลูกถัดไป
1
รายการ Chula Radio Plus เพิ่งพูดถึงเรื่องนี้ไป ตอนแรกว่าจะเขียนเรื่องนี้นานแล้ว แต่ไม่ได้มีโอกาสเขียนถึงสักที
5
และเนื่องจากในรายการพูดถึงในมุมของผู้บริโภคไปแล้วว่า ทำให้เกิดค่านิยมในการบริโภคโดยการก่อหนี้ และทำให้เกิดการขาดวินัยทางการเงินมากมายแค่ไหน จึงไม่ขอเล่าซ้ำ แต่จะมาเล่าในมุมมองของความเปราะบางของระบบนี้ และอาจจะส่งผลกระทบให้กับเศรษฐกิจได้ในรูปแบบใด
6
ก่อนอื่นต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า บริษัทที่ให้บริการ Buy Now Pay Later ทำงานอย่างไร
5
บริษัทเหล่านี้ เช่น Affirm ในสหรัฐอเมริกา Klarna ในยุโรป และ AfterPay ในเอเชียทำงานในลักษณะเดียวกัน คือ เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์กับร้านค้า ในการนำเสนอเครดิตให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้า และบริการได้ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินสด แถมยังมีการให้เครดิตให้ทยอยผ่อนจ่ายได้อีกด้วย จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
5
บริษัทเหล่านี้จะตกลงรายได้กับร้านค้าเป็นค่าบริการที่เรียกว่า Merchant fee อยู่ระหว่าง 3-5% ของยอดชำระเงิน ซึ่งดูไม่ได้ต่างกับต้นทุนค่าบริการที่บัตรเครดิตชาร์จกับร้านค้าเท่าไรนัก และร้านค้าก็ได้ลูกค้าเพิ่มที่ปกติจากการที่ได้สินเชื่อ จึงทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
3
ส่วนลูกค้าก็สามารถเลือกการผ่อนจ่ายได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่เป็นที่นิยมคือ แบบชำระ 3-6 เดือนโดยไม่มีดอกเบี้ย และแบบชำระที่ยาวนานกว่านั้นโดยมีอัตราดอกเบี้ย 10-30%
6
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ คนส่วนใหญ่ที่มีกำลังจ่าย มักจะเลือกแบบที่ไม่มีดอกเบี้ย และชำระเงินคืนในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะถ้าปล่อยไปเป็นเทอมยาว ๆ จะต้องเสียดอกเบี้ยที่สูงมาก
9
ดังนั้นคนที่เลือกผ่อนนาน ๆ มักจะเป็นผู้ที่มีวินัยทางการเงินไม่ดี ร้อนเงินแต่อยากได้ของ จึงยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง ๆ และการที่โฆษณาบริการในลักษณะนี้จึงดูไม่ค่อยเหมือนหนี้ ทำให้คนตกหลุมพรางนี้ได้โดยง่าย
17
แต่การปล่อยหนี้แบบไม่มีดอกเบี้ย จะปล่อยไปทำไมกัน? ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทได้ค่า merchant fee มาโปะในส่วนนี้ แต่จริง ๆ แล้วรายได้กลับปริ่มน้ำหรือไม่เพียงพอต้นทุนค่าดอกเบี้ยเสียด้วยซ้ำ หากจะได้กำไรจากดอกเบี้ยคงจะมาจากการปล่อยประเภทที่สองเสียมากกว่า
10
นี่เป็นกลไกหนึ่งที่คล้ายกับสถานการณ์ในช่วงปี 2008 ที่มีการเล่นแร่แปรธาตุกับเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ (mortgage) นั่นเอง
4
การที่บริษัทปล่อยเงินกู้แบบไม่มีดอกเบี้ยนั้นเป็นเพื่อการพยายามปั้นแต่งให้ loan portfolio ของบริษัทดูดี เพราะคนที่มีกำลังชำระมักจะเลือกแบบแรก และมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ แถมมีจำนวนมาก
6
ในขณะที่บริษัทซ่อนหนี้ในลักษณะที่สองที่ทำรายได้ค่าดอกเบี้ยมาก แต่กลับมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงไว้ ตราบใดที่บริษัทขยายตัวอย่างรวดเร็ว บริษัทก็จะดูมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ (loan loss ratio) ที่ต่ำมาก ในขณะที่ถ้ามีการผิดนัดชำระหนี้ตามมา กว่ามันจะแดงก็เป็นระยะเวลาอีกหลายเดือน
8
พอทำแบบนี้ บริษัทเลยกลายเป็นที่น่าสนใจ สามารถระดมทุนได้มาก กู้เงินได้ง่าย รวมทั้งสามารถนำ loan portflio นี้ไปทำ securitization ได้ง่ายอีกด้วย
2
แต่ในตอนนี้ เหตุการณ์กลับเริ่มไม่เป็นไปตามที่ฝัน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทมีต้นทุนที่สูงขึ้น สภาวะเศรษฐกิจที่ตึงตัวทำให้ลูกค้าลดการใช้จ่ายลงไป และระมัดระวังมากขึ้น เงินเฟ้อที่ทำให้สินค้าและบริการแพงขึ้นจนเกินอำนาจจ่ายของลูกค้าบางคน ทำให้อัตราการเติบโตของบริษัทเหล่านี้ลดลง
6
ในขณะที่ยอดขาดทุนก็ยังพุ่งสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการพยายามขยายตลาดให้ได้มากขึ้น ทำให้วันนี้ตลาดเริ่มตั้งคำถามว่า บริษัทเหล่านี้จะอยู่รอดในระยะยาวได้หรือไม่ และผู้ใช้บริการเหล่านี้จะสามารถชำระเงินค่าสินค้าและบริการได้จริงหรือไม่ ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้จึงปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
5
และตัวเลขของ Buy Now Pay Later ที่มีการคาดการณ์ว่ามากกว่า 130 พันล้านเหรียญสหรัฐ และยังเติบโตเรื่อย ๆ ทำให้นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า มันจะเป็นหนึ่งในระเบิดเวลาที่อาจจะระเบิดขึ้น หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังคงอ่อนแอในระยะยาว
5
ลิงก์ชมรายการ Chula Radio Plus : https://youtu.be/aqbZGT3bIIc
โฆษณา