6 ต.ค. 2022 เวลา 14:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
การปรับอัตราค่าาจ้างขั้นต่ำ
หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของงาน HR คือกลยุทธ์ด้านการจ้างเงินเดือน หากคนที่ดูแลงานด้านนี้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี จะมีผลกับการกำหนดนโยบายด้านการจ่ายค่าตอบแทน ที่สามารถรักษาคนใน และจูงใจคนนอกให้อยากมาร่วมงาน และยังควบคุม Staff Cost ให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้
เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเมื่อไหร่ ย่อมส่งผลให้สถานประกอบการมีต้นทุนค่าจ้างเพิ่มขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่นายจ้างต้องเตรียมตัวคือหาแนวทางปรับค่าจ้างที่ถูกต้องและเหมาะสม ต้นทุนไม่บานปลาย ไม่เกิดปัญหาแรงงานตามมา เช่น การจ่ายค่าจ้างผิดกฎหมาย หลังจากการปรับแล้วเงินเดือนคนใหม่แซงคนเก่า เป็นต้น
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คืออะไร
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คืออะไร
ค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นค่าตอบแทนต่ำสุด ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือนตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีความหมายเหมือนกับค่าแรงต่ำสุดซึ่งลูกจ้างจะขายแรงงานของตน แม้ว่ากฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลใช้บังคับในหลายรัฐ ก็ยังมีความเห็นต่างในผลดีและผลเสียของค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้สนับสนุนค่าจ้างขั้นต่ำบอกว่า จะเป็นการเพิ่มมาตรฐานชีวิตของลูกจ้างและลดความยากจน
เทคนิคการปรับ ค่าจ้างขั้นต่ำ 6 Model มีอะไรบ้าง
เทคนิคการปรับ ค่าจ้างขั้นต่ำ 6 Model
  • 1.
    Model 1 Traditional
  • 2.
    Model 2 Flat Rate
  • 3.
    Model 3 Compression
  • 4.
    Model 4 Performance Base
  • 5.
    Model 5 Range Salary
  • 6.
    Model 6 Special Adjust
การบริหารค่าตอบแทน
การบริหารค่าตอบแทน หมายถึง การวางแผน การจัดระบบงาน และการควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นประโยชน์โดยตรงและทางอ้อมให้กับพนักงาน ทั้งนี้เพื่อแลกกับผลงานหรือบริการที่พนักงานได้ทำให้กับองค์กร
การบริหารค่าตอบแทน
วัตถุประสงค์ของการบริหารค่าตอบแทน
  • 1.
    เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
  • 2.
    เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
  • 3.
    เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
  • 4.
    เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาการบริหารค่าตอบแทน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 5.
    เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างพนักงานและผู้บริหาร
ค่าตอบแทนที่เป็นค่าจ้าง และไม่เป็นค่าจ้าง
ค่าตอบแทนที่เป็นค่าจ้าง และไม่เป็นค่าจ้าง
ค่าคอมมิชชั่น จะนำมารวมคำนวณประกันสังคมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับลักษณะการจ่าย
HRODTHAI
กระบวนการในการบริหารค่าตอบแทน
กระบวนการในการบริหารค่าตอบแทน
  • 1.
    การสำรวจเงินเดือน
  • 2.
    การประเมินค่างาน
  • 3.
    การรวมกลุ่มงานที่คล้ายคลึงกัน
  • 4.
    ให้เทียบค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยปัจจุบัน กับค่าของงานโดยใช้เส้นค่าตอบแทน
  • 5.
    ปรับปรุงค่าตอบแทน
การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน
การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน
การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ สิ่งที่นายจ้างต้องเตรียมพร้อมกับการปรับค่าจ้างให้กับกลุ่มพนักงาน
ที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำและกลุ่มพนักงานที่มีฐานเงินเดือนสูงกว่าจะทำอย่างไร จะปรับขึ้นด้วยหรือไม่ และนายจ้างทำอย่างไร
ว่าจะปรับแบบไหน ปรับเท่าไหร่ ปรับตามกฎหมายแล้วแต่ยังต้องให้สอดคล้องกับโครงสร้างต้นทุนของบริษัท
HRODTHAI
โฆษณา