10 ต.ค. 2022 เวลา 01:00 • ข่าวรอบโลก
รอวันสุดท้าย ธุรกิจสกีเตรียมถึงคราวอวสานจากวิกฤตโลกร้อน
1
ต้นเดือนตุลาคม - ทูรัว - ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขารัวเปฮูซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ มักคราคร่ำไปด้วยนักเล่นสกีจำนวนมาก เพราะเป็นสถานที่เล่นสกีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
1
ผู้คนต่างพากันมาผาดโผนเป็นการส่งท้ายก่อนหิมะจะหมดไปในช่วงสิ้นเดือน
เป็นเช่นนี้เรื่อยมานับจากอดีตที่กีฬาสกีเริ่มเป็นที่นิยม อย่างน้อยๆ ก็ราวๆ 70 ปี ตามเวลาที่มีบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจเล่นสกีบนทูรัว
3
แต่ปีนี้… ทุกอย่างต่างออกไป…
พื้นที่ภูเขาปรากฏเพียงหินภูเขาไฟขรุขระ ไร้ร่องรอยลานหิมะขาวโพลน
หิมะหมดก่อนเวลาที่ควรจากเร็วขึ้นสามสัปดาห์
ไม่มีผู้คน ไม่มีเสียงหัวเราะ-รอยยิ้ม ไม่มีชีวิตชีวา
สภาพที่เกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุอื่นใดไปไม่ได้ นอกจากเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทำคนอยากเล่นสกีพากันอกหักไปตามๆ กัน
แม้บริษัทสกีที่ดูแลพื้นที่จะพยายามอย่างยิ่งยวดในการนำเข้าเครื่องสร้างหิมะเทียม จำนวน 50 เครื่อง มาช่วยต่อเวลาวันเหมันต์ แต่ของเทียมก็มิอาจต้านทานความจริงของวิกฤตโลกร้อน
1
มากกว่าความผิดหวังของนักสกี คือ อนาคตของคนทำบริษัทสกี คนงาน ครูสอนเล่นสกี ร้านค้า โรงแรมที่พักโดยรอบ ต่างพากันขาดทุนยับไปตามๆ กัน
2
Ruapehu Alpine Lifts บริษัทธุรกิจสกีบนทูรัว ตกอยู่ในสถานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทพยายามประคองตัวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวหดหาย พอเปิดทำการได้ใหม่ ก็เจออากาศร้อน ขาดซึ่งหิมะ เป็นปัญหาใหม่ซ้ำเข้าไปอีก
3
ภายใต้สถานการ์ที่คับคันจาก 2 ปีที่ผ่านมา Ruapehu Alpine Lifts คิดว่าพวกเขาจะฟื้นตัวเองได้ในปีนี้
2
แต่วิกฤตโลกร้อนก็เข้าเล่นงานต่อเนื่องไม่ให้ได้พักหายใจ
1
ภายในสถานการณ์ที่คับขันนี้ มีพนักงานอยู่ 135 คน เสี่ยงตกงาน
พนักงานรายหนึ่ง ซึ่งรับหน้าที่เป็นครูสอนสกีบอกว่าทุกวันนี้ เขาต้องดำรงชีพด้วยการออกไปเสิร์ฟกาแฟในโรงแรมแทน
3
นักวิเคราะห์มองว่า Ruapehu Alpine Lifts ไม่ได้ประเมินความเสี่ยงเรื่องโลกร้อนไว้ในรายงาน แต่กลับระบุผลกระทบเพียงเรื่องโควิด-19 นั้นจึงทำให้โอกาสการกู้เงินมาเจือจุนบริษัททำได้ยาก
3
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (National Institute of Water and Atmospheric Research) พบว่าอุณหภูมิฤดูหนาวเฉลี่ยของนิวซีแลนด์ทำสถิติใหม่ในปีนี้ที่เกือบ 10 องศาเซลเซียส
ทั้งยังเป็นฤดูหนาวที่ฝนตกชุกที่สุดในประวัติศาสตร์
(ฝนได้กลายเป็นตัวเร่งเร้าให้หิมะถูกชะล้างหดหาย)
National Institute of Water and Atmospheric Research สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนสำคัญต่อทั้งความอบอุ่นและฝนที่เพิ่มขึ้น
1
จากแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในฤดูหนาวที่ร้อนขึ้น ดูเหมือนว่าพื้นที่เล่นสกีแต่ละแห่งจะอยู่รอดได้ไม่นานนัก
นิวซีแลนด์ ไม่ใช่สถานที่เดียวที่เกิดปัญหาจากการเล่นสกี หลายๆ ประเทศที่เป็นแหล่งเล่นกีฬาประเภทนี้ ต่างตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
1
ตัวอย่างใหญ่ที่เห็นชัดที่สุด คือ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
3
ในการแข่งขันสกีและสโนว์บอร์ดของโอลิมปิกฤดูหนาวทั้งหมดในปีนี้ถูกสร้างขึ้นจาก ‘หิมะเทียม’ มากถึง 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
3
ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้ปีนี้ปักกิ่ง (ซึ่งมีอากาศแห้งแล้งเป็นทุนเดิม) ไม่มีหิมะจริงมากพอต่อการแข่งขันได้ และนี่เป็นครั้งแรกของโอลิมปิกฤดูหนาวต้องใช้หิมะของปลอมในการแข่งขัน
หรือที่ประเทศฝรั่งเศส - สถานที่เล่นสกีที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรีย กลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ตพยายามเอาชนะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยใช้เทคโนโลยีเสกหิมะเทียมแทนหิมะจริงที่หดหาย
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความพยายามเอาตัวรอดไปในแต่ละฤดูกาลที่ผ่านเข้ามา แต่ในอนาคตหากมองทางรอดอย่างยั่งยืนก็คงต้องลงมือทำในสิ่งที่มากกว่า
การสร้างหิมะเทียมมาพร้อมกับข้อแลกเปลี่ยนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำและพลังงานในการทำงานของเครื่องจักร ทรัพยากรมนุษย์และสิ่งที่ต้องเสียไปในการจัดการขนย้ายหิมะให้เข้ารูปเข้ารอย
1
ทั้งหมดนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง รวมถึงหิมะเทียมต้องต่อกรกับสภาพอากาศที่อุ่นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หิมะเทียมละลายเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งบทเรียนที่เกิดขึ้นกับนิวซีแลนด์ในปีนี้ คือ ตัวอย่างที่ชัดเจนแล้วว่า ของเทียมเอาชนะพลังธรรมชาติที่แท้จริงไม่ได้
1
#IsLIFE #Missingsnow #NewZealand #ClimateCrisis
อ้างอิง
Missing snow puts famed New Zealand ski areas on precipice https://citly.me/3tBRF
Winter Olympics: No snow, no problems... yet. https://cnet.co/3utkbML
Photo : AP Photo/Nick Perry
โฆษณา