10 ต.ค. 2022 เวลา 04:08 • ข่าว
ฝนสั่งลา เหนือ-อีสาน ภาคใต้จ่อรับมือ จับตาหลายเขื่อนน้ำเกินความจุ
1
ต้องบอกว่าปีนี้น้ำเยอะจริงๆ หลังจากพายุโนรูพัดผ่านไป แต่ก็เจอร่องมรสุมกันต่อ เรียกว่า “ฝนตก” อย่างต่อเนื่อง
1
และประชาชนในหลายๆ จังหวัด ทั้งภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก รวมไปถึง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องเจอกับน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
1
นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) “TEAMG” หรือ ทีมกรุ๊ป ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการน้ำ ระบุว่า
จากรายงาน กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศ (เมื่อ 8 ต.ค.65) ว่า ในช่วงวันที่ 9 ถึง 14 ต.ค. 65 นี้ ลมหนาวจากประเทศจีนจะพัดลงมาสู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1
จะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในบางแห่งของพื้นที่ดังกล่าว และจะเริ่มเย็นลง ทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำที่จะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งที่เวียดนามนั้น อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว มาไม่ถึงไทย
2
แม้จะมีพายุดีเปรสชัน ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกและจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศฟิลิปปินส์เข้ามาสู่ทะเลจีนใต้ และคาดว่าจะขึ้นฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียงกับฮ่องกง และไต้หวัน ประมาณวันที่ 17 ถึง 18 ต.ค.65 นี้
และคาดว่าพายุดังกล่าวอาจจะถูกลมหนาวพัดมาปะทะ ทำให้อ่อนกำลังลง และเคลื่อนที่เข้ามาไม่ถึงประเทศไทย แต่...ก็ต้องติดตาม ข่าวภูมิอากาศ ในช่วงวันที่ 12-13 ต.ค. อย่างใกล้ชิด
1
นายชวลิต กล่าวว่า หลังจากนี้คงต้องติดตาม ในภาคเหนือ และอีสาน อาจจะมีฝนบ้างถึงกลางเดือน เรียกว่า เป็น “ฝนสั่งลา” ก่อนเข้าฤดูหนาว
2
ส่วน ภาคกลาง ยังต้องเฝ้าระวังต่อไปอีกระยะ ในขณะที่ภาคใต้คาดว่าจะมีฝนตามฤดูกาลในประมาณปลายเดือนตุลาคม – ต้นเดือนพฤศจิกายน โดยต้องจับตาตั้งแต่เพชรบุรีลงไป...
ส่วนประเด็นที่ต้องจับตา คือ “น้ำในเขื่อน” ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน รวมไปถึงการบริหารจัดการของ กรมชลประทาน ซึ่งทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน กล่าวว่า
1
แผนการบริหารจัดการน้ำ เราต้องพิจารณาเรื่องปริมาณ เวลา และสถานที่ ซึ่งที่ต้องจับตาในเวลานี้ คือ น้ำในแม่น้ำชี และ แม่น้ำมูล
โดยเฉพาะ “เขื่อนอุบลรัตน์” ที่อยู่ในการดูแลของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งช่วงนี้ยังมีฝนตกอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู จ.เลย หรือแม้แต่ในชัยภูมิ เพราะเป็นต้นน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์
“ที่ผ่านมา กฟผ. ได้แจ้งเตือนประชาชน ที่อาศัยท้ายเขื่อนอุบลรัตน์แล้ว ขณะที่ “เขื่อนลำปาว” เวลานี้ ยังถือว่าควบคุมได้
และขอยืนยันว่าทุกเขื่อนยังมีความปลอดภัย เพราะทุกเขื่อนถูกออกแบบมาให้มีสันเขื่อน และสปิลเวย์ เพื่อทำการระบายน้ำ ซึ่งมีการออกแบบมา และมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราอย่างดี”
1
ดร.ทวีศักดิ์ อธิบายว่า เหตุน้ำท่วมเวลานี้เกิดจากร่องมรสุมพาดผ่าน ตั้งแต่สิงหาคม - กันยายน รวม 7 ครั้ง รวมกับที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยหอบความชื้นจากทะเลอันดามันขึ้นมา ทำให้เกิดฝนตก ภาคกลาง และ ตะวันออกเฉียงเหนือ และพายุโนรูก็เข้ามาซ้ำเติมในพื้นที่ภาคอีสาน
โดยพัดมาที่ปลายแม่น้ำมูล ผ่านหลายจังหวัด ก่อนจะค่อยๆ สลายตัวเป็นดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้มีฝนอย่างต่อเนื่อง และทำให้ “เขื่อนป่าสักฯ” ล้นสปิลเวย์ จนเกินความจุที่จะเก็บกัก ซึ่งต้องเร่งระบายออก
“ด้วยเหตุนี้จึงได้ทำการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ท้ายอ่าง โดยมีเส้นทางยาวไปถึง เขื่อนพระราม 6 และจบที่ “วัดพนัญเชิง” ซึ่งลุ่มน้ำชี-มูล ถือเป็นลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นลุ่มน้ำที่ใหญ่และยาว ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของภาคอีสาน ฝนตกที่ไหนอย่างไร ก็จะลงมารวมกันที่อุบลฯ
ซึ่งในเส้นทาง ทั้งน้ำชี และ น้ำมูล ก็มีเขื่อนตามทาง ซึ่งอยู่ในการเร่งระบาย เพราะแต่ละเขื่อนมีน้ำเยอะแล้ว บางเขื่อนก็ล้นสปิลเวย์ออกมา”
ในส่วนลุ่มเจ้าพระยา แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ซึ่งมีเขื่อนหลักอยู่ คือ เขื่อนภูมิพล ซึ่งกั้นแม่น้ำปิง ตอนนี้มีปริมาณน้ำ 11,069 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 82% ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกประมาณ 2,400 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสัปดาห์ก่อนมีฝนตกเหนือเขื่อน ทำให้แม่น้ำวัง มีน้ำไหลมาสมทบที่ จ.ตาก
เมื่อถามว่า มีการายงานว่า ช่วงกลางเดือน เราอาจจะเจอพายุอีก 1 ลูก ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า เชื่อว่าพายุลูกดังกล่าวมีโอกาสยากมากที่จะพัดไปที่ภาคเหนือ โดยหย่อมความกดอากาศสูงอาจจะแผ่ลงมา แต่จะดันลงพื้นที่ภาคใต้ กลางตุลาคมนี้
1
ฉะนั้นหากมีพายุอาจจะไปลงในพื้นที่ เพชรบุรีลงไป ซึ่งในภาคใต้ก็มีหลายเขื่อน ซึ่งกรมชลฯ มีแผนในการรองรับน้ำไว้แล้ว ตามนโยบาย ตอนบนกัก กลางหน่วง ปลายระบาย ฉะนั้นจึงต้องติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด และจากแผนที่อากาศที่ตามดูอยู่ ยังถือว่ามีเวลาเตรียมตัว
ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่เขื่อนใหญ่ อย่างภูมิพล สิริกิติ์ หยุดการระบายน้ำบ้าง เพราะไม่อยากให้มาซ้ำเติมในส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน เขื่อนป่าสักฯ ถือว่าน้ำเยอะ ถือว่าเกินความจุ แต่ก็ยังพอรับน้ำได้ แต่ก็มีการเร่งระบาย
จนทำให้พื้นที่ท้ายน้ำได้รับความเดือดร้อน ปิง วัง ยม น่าน ต้องผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยเราจะตัดน้ำออกทางซ้ายและขวา หากด้านซ้าย (ตะวันตก) ออกแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย คลองมะขามเถ้าอู่ทอง ส่วนฝั่งตะวันออก มีคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งฝั่งนี้จะระบายไม่เยอะ
เพราะตรงนี้จะมีการบรรจบในแม่น้ำป่าสัก จากนั้นจะไปรวมออกเจ้าพระยา โดยมีการระบายที่ 2,840 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ขณะที่ สถานีบางไทร มีการระบาย อยู่ที่ 3,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (ข้อมูลวันที่ 9 ต.ค.)
“การระบายน้ำดังกล่าว ของท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ ได้แก่ สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ส่วนแถวปทุมธานี นนทบุรี ถือเป็นพื้นที่นอกคันกันน้ำ อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้น หากฝนตอนบนหมด ไม่มีมาเติม ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยไว”
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
กราฟิก : Jutaphun Sooksamphun
โฆษณา