11 ต.ค. 2022 เวลา 00:00 • ธุรกิจ
ชำแหละ "รถไฟฟ้า" กทม. - ปริมณฑล สายไหน อยู่ในมือใครบ้าง? เคยสงสัยกันไหมว่า รถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดินที่ชาวกรุงใช้เดินทางในชีวิตประจำวัน มีใครเป็นเจ้าของและเป็นผู้ให้บริการบ้าง และแต่ละสายมีจุดเด่นแตกต่างกันอย่างไร
ชำแหละ 'รถไฟฟ้า' กทม. - ปริมณฑล สายไหน อยู่ในมือใครบ้าง
ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้ใช้บริการ “รถไฟฟ้า” เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบนดิน และเนื่องด้วยรถไฟฟ้าหลายสายเป็นส่วนต่อขยาย ในบางครั้งเราอาจไม่รู้เลยก็ได้ว่าสถานีต่อไปอาจจะเป็นสถานีที่เป็นจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้าสายใหม่หรือส่วนต่อขยายแล้ว นอกจากนี้รถไฟฟ้าหลายสายก็มี “เจ้าของ” และ “ผู้ให้บริการ” ต่างบริษัทกัน
“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวนไปเจาะรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกันทีละสายเลยว่า สรุปแล้วอยู่ในมือใครบ้าง สำหรับการบริหารงานในการให้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้าเป็นผู้ให้บริการการเดินรถด้วยตนเอง และ ผู้ที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้าว่าจ้างให้บริษัทอื่นดำเนินการให้บริการแทน
1
รถไฟฟ้าที่บริษัทเจ้าของและผู้ให้บริการแยกออกจากกัน
1. MRT สายสีน้ำเงิน บางซื่อ - หัวลำโพง
สำหรับ MRT สายสีน้ำเงิน เปิดให้บริการเมื่อปี ปี 2547 และเป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย มี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ดูแล
2. MRT สายสีม่วง เตาปูน - คลองบางไผ่
MRT สายสีม่วง เตาปูน - คลองบางไผ่ เป็นส่วนต่อขยายจาก MRT สีน้ำเงิน ซึ่งรถไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากวิ่งใต้ดินขึ้นมาวิ่งบนดินที่สถานี บางซื่อ ไปยังสถานีสถานีเตาปูน เปิดให้บริการ เมื่อปี 2559 โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
3. BTS สายสีเขียว หมอชิต-สำโรง (สายสุขุมวิท)
BTS สายสีเขียว หมอชิต-สำโรง (สายสุขุมวิท) เปิดให้บริการตั้งแต่ ธันวาคม 2542 โดยมี กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ภายใต้กลุ่มบีทีเอส เป็นผู้ดูแลระบบให้บริการการเดินรถ
1
4. BTS สายสีเขียวเข้ม สนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า (สายสีลม)
BTS สายสีเขียวเข้ม สนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า (สายสีลม) เปิดให้บริการช่วง ธันวาคม 2542 โดยมีเจ้าของโครงการเป็น กรุงเทพมหานคร และมอบสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลระบบการเดินรถ
5. BTS สายสีเขียวเข้ม หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต
BTS สายสีเขียวเข้ม หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “ส่วนต่อขยาย” เริ่มเปิดให้บริการ ปี 2563 มี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการ และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ให้บริการเดินรถ
6. BTS สายสีทอง กรุงธนบุรี - คลองสาน
BTS สายสีทอง กรุงธนบุรี - คลองสาน เริ่มทดลองเดินรถในปี 2563 และเปิดให้บริการจริงในปี 2564 มีกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของและ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ให้บริการเดินรถ
7. AERA1 แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท - สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท - สุวรรณภูมิ เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2553 เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และมี บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เป็นผู้ให้บริการการเดินรถ
1
รถไฟฟ้าที่บริษัทเจ้าของและผู้ให้บริการเป็นบริษัทเดียวกัน
1. SRTET สายสีแดงเข้ม (รถไฟฟ้าสายชานเมือง) สถานีกลางบางซื่อ - รังสิต
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (รถไฟฟ้าสายชานเมือง) สถานีกลางบางซื่อ - รังสิต เปิดให้บริการเมื่อปี 2564 เป็นของการรถไฟไทย ดำเนินการเดินรถโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในรูปแบบการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
2. SRTET สายสีแดงอ่อน (รถไฟฟ้าชานเมือง) นครปฐม – บางซื่อ – ฉะเชิงเทรา
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (รถไฟฟ้าชานเมือง) นครปฐม – บางซื่อ – ฉะเชิงเทรา เปิดให้บริการในปี 2564 เป็นของการรถไฟไทย ดำเนินการเดินรถโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในรูปแบบการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
1
อ่านรายละเอียดของรถไฟฟ้าแต่ละสายเพิ่มเติม :
โฆษณา