12 ต.ค. 2022 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอยวิกฤติดอตคอมกับฟองสบู่ของหุ้นกลุ่มเทคฯ
ในยุคบุกเบิกของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคยต้องเผชิญกับวิกฤติฟองสบู่ที่เกิดจากการแห่เข้ามาเก็งกำไรในหุ้นที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว จนทำให้ดัชนี Nasdaq ที่ส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี สูงขึ้นจากหลักร้อยจุดไปถึงกว่า 5,000 จุด โดยหลังจากตลาดหุ้นโตได้ไม่นาน ฟองสบู่ก็แตก นำไปสู่การล้มละลายของบริษัทอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
หากนึกไม่ออกว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐฯ มีบริษัทอะไรบ้าง สามารถดูได้ในแอปพลิเคชัน Dime! เลยนะครับ เราแบ่งหมวดหมู่หุ้นแยกตามอุตสาหกรรมไว้ ดูง่ายแถมหน้าตาแอปก็เป็นมิตรกับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วย
เอาล่ะ กลับมาที่เหตุการณ์ที่กำลังจะพูดถึง เราเรียกว่า “วิกฤติฟองสบู่ดอตคอม” ครับ วันนี้เลยจะพาทุกคนย้อนกลับไปดูว่าตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงเกิดวิกฤติฟองสบู่ที่สร้างความเสียหายมากขนาดนี้
🔮 จุดเริ่มต้นของฟองสบู่ดอตคอม
ช่วงทศวรรษ 1990 ผู้คนเริ่มใช้คอมพิวเตอร์และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น จนเกิดเป็นยุคของการทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มีการเปิดตัวบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีชื่อลงท้ายด้วย “.com” อย่างมากมาย และนักลงทุนส่วนใหญ่ก็คาดว่าบริษัทเหล่านี้จะโตได้ดี
เงินลงทุนเลยเริ่มไหลไปสู่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตที่คนมองว่าเป็นธุรกิจแห่งอนาคต โดยบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการ IPO ตอนนั้น เช่น Netscape ผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ (เทียบกับตอนนี้ก็จะเหมือนกับ Google Chrome) โดย Netscape ได้ IPO เข้าตลาดหุ้นครั้งแรก เมื่อปี 1995 โดยราคาหุ้น Netscape จาก 28 ดอลลาร์ ขึ้นไปแตะถึง 58.25 ดอลลาร์ในวันแรกของการเสนอขาย ทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มเป็นมากกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์ทันที
ซึ่งในตอนนั้นการที่ราคาหุ้นของบริษัทดอตคอมเพิ่มหลายเท่าจากราคา IPO เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และนักลงทุนก็ยอมลงทุน แม้ว่าหลายบริษัทจะยังสร้างรายได้หรือทำกำไรไม่ได้เลยก็ตาม
🔮 บทเรียนครั้งใหญ่ของการประเมินมูลค่าหุ้น
ปกติการประเมินมูลค่าหุ้นสักตัว ต้องวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทให้ดี เช่น ศึกษาศักยภาพในการสร้างรายได้ ดูแผนธุรกิจ หรือวิเคราะห์อัตราส่วนการเงินต่าง ๆ
แต่ในยุคดอตคอมกลับมีความเชื่อว่า การประเมินมูลค่าหุ้นแบบเดิมไม่เหมาะกับหุ้นของบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีธุรกิจรูปแบบใหม่ นักลงทุนเลยเลือกที่จะให้น้ำหนักกับการเติบโต ส่วนแบ่งการตลาด และการเกิด Network Effect มากกว่า (Network Effect เช่น หากเรามีโทรศัพท์คนเดียวในโลก เราคงไม่อยากใช้ แต่พอคนใช้อย่างแพร่หลายมันถึงมีประโยชน์)
สอดคล้องกับบริษัทดอตคอมส่วนใหญ่ที่ก็ยอมขาดทุนเพื่อแลกกับการเติบโต ทั้งทุ่มเงินมหาศาลไปกับการโฆษณา นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ผู้ใช้งานได้ลองใช้ฟรีก่อน หรือไม่ก็ให้ส่วนลดจำนวนมากเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน โดยหวังว่าจะสามารถเรียกเก็บค่าบริการเพื่อทำกำไรได้มากขึ้นในอนาคต
และแนวคิด “การเติบโตเหนือผลกำไร” ยังส่งผลให้บริษัทดอตคอมส่วนใหญ่ใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น เช่น ใช้จัดปาร์ตี้ดอตคอมเพื่อฉลองการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ซึ่งพอนักลงทุนยิ่งเข้าไปลงทุน เลยกลายเป็นว่ามูลค่าของบริษัทเหล่านี้เพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่ศักยภาพในการทำกำไรในตอนนั้นมีเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มี
พูดได้ว่าบริษัทที่เสนอขายหุ้น IPO ในยุคดอตคอมส่วนใหญ่ถูกประเมินมูลค่าไว้สูงเกินจริง อีกทั้งยังมีการเก็งกำไรสูง เพราะนักลงทุนมองว่าง่ายที่จะทำกำไรจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เหตุการณ์ทั้งหมดจึงนำไปสู่วิกฤติฟองสบู่ขนาดใหญ่ของหุ้นดอตคอมซึ่งสุดท้ายฟองสบู่ก็แตก และพาตลาดหุ้นกลับสู่ความจริงที่ว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได้มีแผนธุรกิจที่จะทำกำไร หรือไม่มีลูกค้ามากพอที่จะรักษาธุรกิจไว้ นอกจากนี้ “การขึ้นดอกเบี้ยถึง 6 ครั้ง” ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในช่วงปี 1999 ถึงปี 2000 ก็ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้ฟองสบู่นี้แตกลง
🔮 ผลกระทบมันขนาดไหน
ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีที่ฟองสบู่ดอตคอมกำลังก่อตัว ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 1,000 จุดไปถึงจุดสูงสุดที่ 5,048.62 จุด ในวันที่ 10 มีนาคม 2000
และหลังจากฟองสบู่แตก ดัชนี Nasdaq ก็ตกลงไปเหลือแค่ 1,114.11 จุด ในวันที่ 9 ตุลาคม 2002 และต้องใช้เวลาถึง 15 ปี กว่าดัชนี Nasdaq จะกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นหุ้นดอตคอมยังโดนเทขายออกมามาก และบริษัทหลายแห่ง เช่น Pets.com, 360networks และ eToys.com ต้องประกาศล้มละลาย
Pets.com เป็นตัวอย่างที่ดีของความเสียหายจากฟองสบู่ดอตคอม บริษัทนี้ระดมทุนจากการขายหุ้น IPO ได้ถึง 82.5 ล้านดอลลาร์ ในปี 2000 ก่อนที่จะประกาศล้มละลายและมีมูลค่ากิจการเหลือ 0 ในเวลาไม่ถึง 1 ปี แต่ก็ไม่ใช่ทุกบริษัทที่ล้มละลาย เพราะก็มีบริษัทอย่างเช่น Amazon และ eBay ที่ผ่านฟองสบู่ครั้งนั้นมาได้ และเติบโตเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในวันนี้
ท้ายที่สุดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วเป็นสิ่งที่เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ สิ่งที่พอจะทำได้คือ การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้นและทำให้มันไม่เกิดขึ้นอีก และหากเพื่อน ๆ อยากเรียนรู้การลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ด้วยต้นทุนที่ถูกสุด ๆ ต้องลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน Dime! เท่านั้นนะครับ เพราะที่นี่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 50 บาท ก็เป็นเจ้าของหุ้นสหรัฐฯ ได้แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น หากเปิดบัญชีภายในปี 2565 ฟรีค่าคอมมิชชันทุกรายการซื้อขายถึง 30 มิ.ย. 66 และถ้าทำภารกิจซื้อหุ้นสหรัฐฯ หรือกองทุนรวมบนแอป ก็รับหุ้นสหรัฐฯ เพิ่มอีกสูงสุดถึง 200 บาท
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ
◤ = = = = = = = = = = = = = = =
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
= = = = = = = = = = = = = = =  ◢
Dime! ครบเครื่องเรื่องการเงิน แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้อย่างเท่าเทียม
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Dime! และแนะนำบัญชีเงินฝากของธนาคารเกียรตินาคินภัทร
ติดตามเราหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/dime.finance
อ้างอิง
โฆษณา