19 ต.ค. 2022 เวลา 13:48 • ข่าวรอบโลก
“เออร์โดกัน” ปธน. แห่งตุรกี ประกาศตอบรับมอสโกอย่างเป็นทางการ
เป็น “ศูนย์กลาง” เส้นทางการลำเลียง “ก๊าซธรรมชาติ” ไปยังยุโรป
1
เครดิตภาพปก: Turkey become natural gas hub (บน) – Ministry of Energy and Natural Resouces, Turkey / ปธน. วลาดิเมียร์ ปูติน ซื้อไอศกรีมให้ ปธน. ตุรกี Recep Tayyip Erdogan (ล่าง) - Sergey Guneev/Sputnik
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 Recep Tayyip Erdogan “เรเจป ไตยิป เออร์โดกัน” ประธานาธิบดีแห่งตุรกี ประกาศเป็นทางการแล้วว่า เขาได้ตกลงกับประธานาธิบดีรัสเซีย “วลาดิมีร์ ปูติน” ว่าจะให้ตั้ง “ศูนย์กลางการลำเลียงก๊าซ” ในตุรกี – ตามรายงานข่าวจากสำนักข่าว RIA Novosti ของรัสเซีย
2
“เรเจป ไตยิป เออร์โดกัน” ประธานาธิบดีแห่งตุรกี เครดิตภาพ: Adem Altan/AFP/Getty Images
ในระหว่างการกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาตุรกี “เออร์โดกัน” ได้อ้างอิงคำพูดของ “ปูติน” ที่กล่าวกับเขาว่า
“ยุโรปสามารถรับก๊าซจากศูนย์กลางในตุรกีได้ ในขณะที่การจัดส่งลำเลียงก๊าซของรัสเซียไปยังยุโรปในตอนนี้ ถูกขัดขวางจากการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับสงครามในยูเครน และ การรั่วไหลของท่อส่งก๊าซหลัก Nord Stream”
  • ไทมไลน์เหตุการณ์ก่อนหน้านี้
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ในที่ประชุมด้านพลังงานที่กรุงมอสโก ประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” ของรัสเซีย เสนอให้เปลี่ยนเส้นทางการลำเลียงก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปผ่านทางตุรกี ส่งผลให้ตุรกีเป็น “ศูนย์กลางการจัดส่งก๊าซ”
1
ลดปริมาณก๊าซที่สูญเสียไปจากท่อส่ง Nord Stream ตามแนวลำเลียงในทะเลบอลติก โดยเปลี่ยนเส้นทางไปยังภูมิภาคแถบทะเลดำ และทำให้เป็นเส้นทางหลักในการจัดส่งก๊าซไปยังยุโรปผ่านตุรกี
ปูตินกล่าวว่า “แน่นอนว่าถ้าพันธมิตรของเรา [ตุรกี] สนใจเรื่องนี้ จะมีความเป็นไปได้ทางการเติบโตทางเศรษฐกิจ”
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เมื่อสัปดาห์ก่อนผู้นำทั้งสองชาติได้หารือเกี่ยวกับการสร้างศูนย์กลางก๊าซในการประชุมแบบเห็นหน้ากัน ณ กรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน ทว่าทางตุรกียังไม่ได้ตอบตกลงกับทางรัสเซียแต่อย่างใด แจ้งเพียงว่า “ต้องนำไปปรึกษาหารือกันก่อน”
ปูติน กับ เออร์โดกัน พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการให้ตุรกีเป็นศูนย์กลางลำเลียงก๊าซไปยุโรป ที่กรุงอัสตานา คาซัคสถาน วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เครดิตภาพ: Turkish Presidential Office via Reuters
“ปูติน” กล่าวไว้ในที่ประชุมกับตุรกีว่า
  • “ตุรกีถือว่าเป็นเส้นทางที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับการลำเลียงก๊าซในตอนนี้ แม้กระทั่งส่งไปยังยุโรป”
  • “ถ้าหากการตั้งศูนย์กลางการจัดส่งก๊าซเกิดขึ้นจริงในตุรกี ราคาก๊าซก็จะปรับตัวลงมาในระดับราคาตลาดปกติ โดยไม่มีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาแทรกแซง”
1
ราคาก๊าซพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน หลังจากที่รัสเซียตัดสินใจลดการจัดส่งก๊าซไปยังยุโรปเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรจากตะวันตก และสหภาพยุโรปพยายามหาแหล่งพลังงานทดแทน
1
บริษัทวิเคราะห์ด้านพลังงาน Rystad Energy ระบุว่า
1
  • การส่งออกก๊าซทั้งหมดของ Gazprom ไปยังยุโรป รวมถึงผ่าน Turk Stream ลดลงเหลือ 70-80 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
2
  • เมื่อเทียบกับเดือนกันยายนเมื่อปีก่อน (พ.ศ. 2564) อยู่ที่ระดับ 380 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
1
  • ปัจจุบันส่วนแบ่งในการซื้อก๊าซของสหภาพยุโรปกับรัสเซีย ไม่เกินร้อยละสิบ
2
เรียบเรียงโดย Right SaRa
19th Oct 2022
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา