24 ต.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง จากเงินเยนอ่อนค่า
1
การนำเข้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 45.9% ในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
2
ซึ่งเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออกเพิ่มขึ้น 28.9% ทำให้สุดท้ายแล้วญี่ปุ่นขาดดุลการค้าแตะ 2.09 ล้านล้านเยน (14 พันล้านดอลลาร์) ปรับตัวดีขึ้นมาเล็กน้อยจากสถิติการขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่ 2.82 ล้านล้านเยน
1
การขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นนั้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 แล้ว
เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 45.9% ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนการซื้อน้ำมันดิบ ถ่านหิน และ LNG ที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 28.9% โดยเป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนชิป
1
ข้อมูลเบื้องต้นจากกระทรวงระบุว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 11.01 ล้านล้านเยนในช่วง 6 เดือนที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน
การส่งออกไปยังจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ขยายตัว 17.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกันยายน ปัจจัยหลักมาจากความต้องการรถยนต์และอุปกรณ์ผลิตชิป ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 45.2% ปัจจัยหลักมาจากการจัดส่งรถยนต์ เครื่องจักรก่อสร้างและเหมืองแร่
1
การเติบโตเหล่านี้เป็นข่าวดีสำหรับประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าที่ยืดเยื้อจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของญี่ปุ่นจากการระบาดใหญ่ของโควิด 19
การขาดดุลการค้าจะส่งผลการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและราคาการนำเข้าพลังงานอาจเพิ่มผลกระทบจากการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ
การขาดแคลนอย่างต่อเนื่องจะตอกย้ำความอ่อนแอของค่าเงินเยนซึ่งทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น และการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดต่อดุลการค้าของญี่ปุ่นในปีนี้
Takeshi Minami นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัย Norinchukin กล่าวว่า "การขาดดุลการค้ากำลังเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจเมื่อขาดโมเมนตัม" “ช่องว่างระหว่างการนำเข้าและส่งออก
รวมไปถึงนโยบายการเงินเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเยนอยู่ภายใต้แรงกดดัน การขาดดุลที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้รู้สึกว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังจะตกที่นั่งลำบาก
2
ญี่ปุ่นกำลังจัดทำแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือนนี้ รวมถึงมาตรการสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพื่อตอบโต้ผลกระทบต่อธุรกิจและผู้บริโภค
2
จากข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่น งบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่สองที่จะช่วยในการจัดหาเงินอุดหนุนจำนวน 10,000 ล้านเยนเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มการส่งออกเพื่อใช้ประโยชน์จากเงินเยนที่อ่อนค่าลง
1
หรือเมื่อค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ก็จะมีมาตรการในต้นปีหน้าเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าเช่นกัน
1
เงินอุดหนุนน้ำมันเบนซินนี้ก็จะคงอยู่ต่อไปและจะมีการออกมาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายก๊าซธรรมชาติด้วย
ผลกระทบของการอ่อนค่าของเงินเยนเห็นได้ชัดเจนในข้อมูลการค้า
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 27% ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนหน้าที่ 139.81 เยนต่อดอลลาร์
ญี่ปุ่นใช้เงิน 2.8 ล้านล้านเยนในการแทรกแซงเพื่อขายดอลลาร์และซื้อเยน
ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 25 ปีอันเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของสกุลเงิน เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องแม้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงอย่างผิดปกติ โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบ 32 ปี
แม้ว่าเงินเยนยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงรักษานโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อป้องกันเศรษฐกิจจากการเพิ่มความเสี่ยงในต่างประเทศ
รัฐบาลญี่ปุ่นยังระบุด้วยว่าหากมีความผันผวนของค่าเงินมากเกินไป
อาจจำเป็นต้องมีการแทรกแซงเพิ่มเติม
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวที่ 3.5% ต่อปีในเดือนเมษายน-มิถุนายน เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากการยกเลิกการควบคุมโควิด 19 ได้กระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา