⁉️ คำถามที่ถามมาบ่อยคือ #มีโรคประจำตัวมาก่อนแล้ว จะสามารถทำประกันได้ไหม? “เป็นอีกหนึ่งคำถามสุดฮิต ที่ตอบบ่อยมากๆ” สิ่งแรกเลยคือต้องดูก่อนว่า ประกันที่จะทำ คือประกันอะไร #ประกันชีวิต #ประกันสุขภาพ #ประกันออมทรัพย์?
จากประสบการณ์การเป็นตัวแทน #ผู้ที่มีโรคประจำตัวมาก่อนแล้วก็จะทำประกันสุขภาพยากกว่าประกันที่เน้นคุ้มครองชีวิต
ส่วนประกันที่ความคุ้มครองน้อยๆ #เน้นออมทรัพย์ จะทำง่ายที่สุดค่ะ ✅
(ต้องดูด้วยว่า โรคๆนั้นคือโรคอะไร ความรุนแรงแค่ไหนนะคะ)
#ถ้าเป็นประกันชีวิต 🛡 เมื่อพิจารณาจากสุขภาพเราแล้ว ฝ่ายพิจารณาจะแจ้งเราเลยว่า รับประกันได้หรือไม่
1️⃣ รับประกันได้
2️⃣ ปฏิเสธ/เลื่อนการรับประกัน
ซึ่งความคุ้มครองชีวิต ก็จะเข้าใจง่าย หากเราจากไป #ไม่ว่าจะจากสาเหตุอะไร ประกันจะให้จ่ายเป็นเงินก้อนให้คนข้างหลัง
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️ 〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
#ถ้าเป็นประกันสุขภาพ 🩺 เมื่อฝ่ายพิจารณาอ่านข้อมูลสุขภาพที่เราแถลง หรือบางคนอาจแนบประวัติการรักษาจากรพ. ผลที่ออกมา เป็นไปได้หลายทาง
1️⃣ รับประกันทั้งหมดเหมือนคนปกติ
เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวเล็กๆน้อยๆ ภูมิแพ้ ที่อาการน้อยๆ หรือโรคที่เป็น หายขาดมานานมากแล้ว เช่น หอบหืดในวัยเด็ก
2️⃣ ยกเว้นความคุ้มครองในบางโรค
เช่น โรคที่อาจมีความเสี่ยงขึ้นมา ถุงน้ำในเต้านม, ไทรอยด์ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตรงนี้ แต่โรคอื่นๆ คุ้มครองได้ตามปกติ และเบี้ยเท่าคนปกติ
3️⃣ ยกเว้นความคุ้มครองและเพิ่มเบี้ยประกัน
เช่น โรคหรืออาการที่อาจรุนแรงขึ้นมา (ในมุมมองของประกัน) ผู้ที่เป็นไขมันในเลือดสูง และมี BMI เกินเกณฑ์ หรือ PCOS และมี BMI เกินเกณฑ์ เป็นต้น ก็จะโดนยกเว้นและเบี้ยสูงขึ้น 10,25,50,100% แล้วแต่ว่าโรคนั้นมีความน่ากังวลแค่ไหน
4️⃣ ปฏิเสธ/เลื่อนการรับประกัน
การเลื่อนการรับประกัน กรณีนี้อาจเพื่อดูว่าโรคนี้ Stable หรือยัง 6 เดือน หรือ 1 ปีถัดมา ค่อยมายื่นสมัครกันใหม่เพราะเราไปแก้ไขประวัติสุขภาพในอดีตไม่ได้แล้ว🕙
โฆษณา