Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad Spine Institute
•
ติดตาม
25 ต.ค. 2022 เวลา 03:25 • สุขภาพ
อาการปวดหลังร้าวลงขา (ปวดส่วนกลางร่วมกับมีอาการที่ขา)
อ่านเพิ่มเติม
https://bit.ly/3zan8TQ
อาการปวดหลังร้าวลงขา
สาเหตุอาการปวดหลังร้าวลงขา
●
การหดเกร็งของกล้ามเนื้อและ/หรือมีการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป
●
ความเสื่อมของกระดูกสันหลังช่วงอก
●
หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณช่วงอกเคลื่อนทับเส้นประสาท
●
กระดูกสันหลังบริเวณช่วงอกตีบแคบทับไขสันหลัง
●
อุบัติเหตุ
●
เนื้องอก
●
การติดเชื้อ
●
กระดูกสันหลังคดงอ
การปฏิบัติตัว
●
พยายามนั่งหลังตรง
●
ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
●
นวดเบาๆ
●
รับประทานยา
เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
หากอาการปวดไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถทนได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ทำการนัดหมายแพทย์
หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันที
●
มีอาการปวดรุนแรง
●
มีอาการปวดไม่หายขาดมานานกว่า 3 เดือน
●
มีอาการปวดคอร่วมกับอาการปวดร้าวลงแขน แขนชาหรืออ่อนแรง
●
มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง
●
มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
การรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขา
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการเอกซเรย์ และ/หรือตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รวมถึงวัดการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยแนวทางการรักษาประกอบด้วย
●
การออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
●
การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงอก
●
การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง
●
การผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณช่วงอก
●
การผ่าตัดเข้าทางด้านหลัง
■
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี
■
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมีและการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี
■
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องจุลทรรศน์
●
การผ่าตัดเข้าทางด้านหน้า
■
การผ่าตัดช่วงทรวงอกโดยใช้กล้องส่องช่วยผ่าตัด (การผ่าตัดแบบแผลเล็ก)
■
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกผ่านทรวงอก
bumrungrad.com
ปวดหลังร้าวลงขา - อาการและการรักษา - กระดูกสันหลัง | บำรุงราษฎร์
หากอาการปวดไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ทำการนัดหมายแพทย์
อ่านเพิ่มเติม
bumrungrad
สุขภาพ
กระดูกสันหลัง
บันทึก
3
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคกระดูกสันหลัง
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย