26 ต.ค. 2022 เวลา 09:37 • ความคิดเห็น
I) ผมมองว่าเมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เราจะพบว่า
มนุษย์สมัยโบราณอาศัยอยู่ในถ้ำหรือป่าลึก โดยออกล่าสัตว์มาใช้เป็นอาหาร และใช้หนังสัตว์มาเป็นเครื่องนุ่งห่มก่อนที่จะเรียนรู้การทำการเกษตรและเพาะเลี้ยงสัตว์เอง
การล่าสัตว์ก็ต้องใช้ทั้งฝีมือและความพยายาม ไหนจะอันนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสัตว์นักล่าในป่าอีก
เราจึงเห็น “ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์” บนผนังถ้ำในหลายๆแห่งทั่วโลกที่มีการเขียนภาพ “การออกล่าสัตว์” ของมนุษย์ในยุคนั้น
แล้วเหตุอันใดที่มนุษย์ในยุคนั้น “เลือก” ที่จะ “storytell” การล่าสัตว์?
ครับ ผมเองไม่ใช่นักมนุษยวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญในแขนงนั้น แต่ผมเชื่อว่า “เรื่องราวการต่อสู้ผจญภัยและต้องฝ่าฟันอุปสรรค” เผชิญอันตรายนานับประการก่อนที่จะ “บรรลุเป้าหมาย” นั้น มันเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าภาคภูมิใจในการเล่ามากที่สุด ถึงขั้นที่มนุษย์ยุคนั้นเลือกที่จะพร้อมใจกันเขียนภาพ “การล่าสัตว์” ไว้บนผนังถ้ำในหลายๆทวีปทั่วโลก เพื่อเป็นการ “storytell” วิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้อื่นได้รับรู้!
II) โดยส่วนตัวผมมองว่าองค์ประกอบสำคัญในการทำ “storytell” ที่ผมชื่นชอบ ได้แก่
- เป็นเรื่องจริง
- เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น
- เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเองที่เรารู้เป็นอย่างดี
- เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึง “จุดเปลี่ยน” หรือ “turning point” ที่เราใช้ความพยายามและความมานะบากบั่น จนทำให้ “turning point” นั้น นำเราไปสู่จุดหมายใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้!
III) ผมจึงอยากจะขอ “storytell” เรื่องราวในชีวิตจริงของผมไว้เป็นตัวอย่างดังนี้ครับ โดยมีชื่อเรื่องว่า
“รถยนต์, ภาษาญี่ปุ่น, และ ข้าพเจ้า”
ผมเป็นคนชอบรถยนต์มาตั้งแต่เด็กๆ วันหนึ่งผมเปิด magazine รถอ่านดู พบว่ามีงานแสดงรถยนต์ที่กรุงโตเกียว ที่มีชื่องานว่า Tokyo Motor Show และผมอยากไปงานนี้มาก เพราะเป็นงานแสดงรถยนต์ระดับโลกที่อยู่ใกล้ๆบ้านเราที่สุดงานหนึ่ง นอกเหนือจากงานที่จัดในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ผมจึงบอกกับตัวเองว่า ถ้าจะไปจริงๆก็ควรเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วย เพราะชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ครับ มโนกรรม ได้เกิดขึ้นแล้ว และ วจีกรรม ก็คือ ผมเริ่มสอบถามเพื่อนๆที่เรียนขั้นอุดมศึกษาด้วยกันถึงโรงเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ได้มาตรฐาน และไม่น่าเชื่อว่า ญาติของเพื่อนสนิทของผมคนหนึ่งกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่และเขาได้แนะนำโรงเรียนที่มีมาตรฐานและค่าเล่าเรียนไม่แพงเลยให้กับผม!
ขั้นตอนต่อมาคือ กายกรรม ที่ผมต้องขอให้เพื่อนอีกคนหนึ่งช่วยพาผมนั่งรถเมล์ไปสมัครเรียนที่โรงเรียนแห่งนั้น เพราะผมไม่รู้เส้นทางเลย
แม้แต่น้อย
หลังจากเริ่มเรียนได้ไม่นาน ผมก็พบว่า ผมแบ่งเวลาได้ไม่ดีนักในการเรียน เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมกำลังเรียนอยู่ชั้นปีหนึ่งในระดับอุดมศึกษา และต้องทำกิจกรรมอื่นๆด้วย
พอไปเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น ผมก็ไม่ค่อยได้อ่านทบทวน บางครั้งก็ตอบคำถามในชั้นเรียนไม่ค่อยจะได้
หนทางไปก็ยากลำบากเพราะสมัยนั้นยังไม่มีรถไฟฟ้าแล่นผ่าน ต้องต่อรถเล็กสู่ถนนใหญ่ รถเล็กที่ว่าคนก็แน่นมากต้องยืนเบียดกัน พอไปต่อรถเมล์ รถเมล์ก็ไปไม่ถึงโรงเรียน ต้องลงเดินเท้าเป็นระยะทางไกลราวสิบนาทีเดิน!
แต่ผมก็เรียนจนจบหลักสูตร และขั้นต่อมาคือการสอบใบประกาศนียบัตรที่ในที่สุดผมสอบมาได้สามใบ
ปกติผมวางแผนการเตรียมตัวสอบไว้ว่า จะใช้เวลาอ่านหนังสือตำราภาษาญี่ปุ่นเพื่อเป็นการทบทวนทั้งหมด 34 บท และเตรียมทำข้อสอบปีก่อนๆโดยจับเวลาตามเวลาสอบจริง จะใช้เวลาเตรียมตัวราว สองเดือนถึงสองเดือนครึ่ง
การเตรียมตัวเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะผมต้องอ่านตำราวันละอย่างน้อยๆ สองถึงสามชั่วโมงที่ผมต้องสรุปเนื้อหาให้ได้หลังการอ่านในทุกๆวัน
ผมเองเรียนมาทางสายเทคโนโลยี และไม่ได้เรียนเอกภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่นแต่อย่างใด ดังนั้นในการสร้าง “แรงบันดาลใจ” ในการอ่านตำรา ผมจึงบอกกับตัวเองในเชิงเปรียบเปรยว่า
“ในทุกๆวันที่ผมอ่านตำราเตรียมสอบ มันเปรียบเหมือน ผมเดินเข้าไปในอู่รถส่วนตัวของผม เพื่อสร้างรถแข่งขึ้นมาขับเอง และในวันที่ผมเข้าห้องสอบ รถแข่งคันนี้จะต้องมีสมรรถนะที่ดีจนพาผมเข้าเส้นชัยและสอบผ่านได้”
ครับ กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ก็ต้องมีการวางกลยุทธ์กันพอสมควร เพราะข้อสอบมีอยู่ราวสี่ส่วน คือ “คำศัพท์, อักษร Kanji, ไวยากรณ์, และที่ยากที่สุดคือ การฟัง”
การฟังนั้นยากแน่นอนเพราะในยุคนั้นเป็นยุค “pre-Youtube” คือ ยังไม่มี Youtube เลย การฝึกฟังจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้!
ผมเลยวางกลยุทธ์เอาไว้ว่า ผมต้องเตรียมตัวกับสามส่วนที่เหลือให้ดีที่สุด คำศัพท์ทุกคำ, ไวยากรณ์ทุกแบบ, อักษร Kanji ทุกตัว ก็คือ “Nuts & Bolts” ของรถแข่งของผม
ที่จะพาผมเข้าเส้นชัยให้ได้
ในที่สุดเมื่อวันประกาศผลสอบมาถึง ผมสอบผ่าน และเมื่อดูผลสอบในแต่ละ parts ผลคือ ผมสอบตกในเรื่องการฟัง แต่อีกสาม parts ที่เหลือ ผมได้คะแนนเกือบเต็ม!
รถแข่งคันนั้น นำผมเข้าเส้นชัยได้จริงๆ!
จนถึงวันนี้ แม้ผมจะยังไม่เคยไปชมงานแสดงรถยนต์ที่โตเกียวเลย แต่ทุกครั้งที่ผมมองดูใบประกาศนียบัตรภาษาญี่ปุ่นใบแรกที่ผมสอบได้ หลายสิ่งหลายอย่าง ความทรงจำหลายๆอย่างฉายขึ้นในความนึกคิดของผม และมันย้ำเตือนผมว่า
“ชีวิตคือการลุกขึ้นสู้ จากจุดที่เรายืนอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าหนทางจะไกลแสนไกลจะมีอุปสรรคมากมายเพียงใด
ทั้งหมดคือคำถามที่ว่า
“How mad do you want it?”
โฆษณา