27 ต.ค. 2022 เวลา 04:09 • ความคิดเห็น
เขาชี้นิ้วแล้วตะโกนกันทำไมเหรอ
สำหรับคนไทยเราเวลาไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วเห็นเจ้าหน้าที่รถไฟญี่ปุ่นชี้นิ้วและตะโกนตอนรถไฟจะปิด ก็คงแปลกใจอยู่ว่าเขาต้องชี้ทำไม และถ้าสังเกตดีๆ เจ้าหน้าที่รถไฟอีกหลายตำแหน่งก็ทำเหมือนกัน
2
ตั้งแต่คนขับรถไฟพอใกล้ๆถึงก็จะชี้ไปที่หน้าปัดแล้วตะโกน หรือพอรถไฟใกล้ที่ชานชาลาก็จะมีเจ้าหน้าที่ชี้แล้วตะโกนเหมือนกัน ในมุมของคนต่างถิ่นก็จะดูตลกๆเว่อร์ๆน่าขำอยู่เหมือนกัน ลูกสาวผมตอนเด็กๆก็เคยถามด้วยความสงสัย...
โดยชีวิตประจำวันแล้ว เรามักจะไม่ค่อยได้มีสติกับการทำอะไรที่เป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เป็นรูทีน เพราะหัวเราจะคิดโน่นคิดนี่ตลอดเวลา ถ้าถามตัวเองตอนนี้ก็จะจำไม่ค่อยได้แล้วว่าเราเปิดและบีบยาสีฟันแล้วแปรงแบบไหน เมื่อวานกินอะไรบ้าง ขึ้นทางด่วนมาแล้วถึงออฟฟิศสังเกตอะไรระหว่างทางบ้าง ฯลฯ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันโดยใช้ความเคยชิน
ซึ่งความเคยชินโดยที่ไม่ได้มีโฟกัสกับงานที่ทำนั้นค่อนข้างอันตรายโดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความละเอียดและมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงอยู่มาก
1
ญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงทางด้านคมนาคม ไม่พูดถึงเรื่องความตรงต่อเวลาในระดับเป็นวินาทีที่เป็นที่ยกย่องกันทั่วโลก เขามีระบบที่เรียกว่า point and calling system หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า shisa kanko
เป็นท่าบังคับที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่สำคัญๆของกระบวนการรถไฟต้องชี้แล้วตะโกนดังๆออกมาถึงกระบวนการนั้น
2
เช่นรถไฟจะเข้าจอด คนขับก็ต้องชี้ที่หน้าปัดแล้วพูดตัวเลขออกมา พูดความเร็วของรถไฟในตอนนั้น หรือตอนประตูจะปิด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลตรงชานชาลาก็จะต้องชี้ไปที่ประตูต่างๆแล้วพูดออกมาว่ามีคนหรือไม่มีคน เคลียร์หมดแล้วหรือไม่
ที่ต้องทำเช่นนั้นโดยที่ไม่ใช่แค่มองโดยใช้สายตากวาดดูตรวจตราว่าเรียบร้อยซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ทำแบบนั้น ก็เพื่อเอาชนะความเคยชินที่อาจเป็นอันตรายถ้าสติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เป็นการเปลี่ยนจาก non conscious habit ไปเป็น conscious level (หนังสือ atomic habit) ทำให้เกิดการกระตุ้นประสาทของ มือ ปาก หู ตา และสมองให้สังเกตไปพร้อมกันว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
3
ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการใช้วิธี point and calling นั้นสามารถลดอุบัติเหตุไปได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก มีหลายอุตสาหกรรมเช่น รถยนต์ ก็นำไปใช้และได้ผลเช่นกัน
1
ในหนังสือ atomic habit ยังแนะให้ลองเอา point and calling ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันดูด้วยสำหรับอะไรที่สำคัญๆและผิดพลาดไม่ได้ เช่นก่อนออกจากบ้านไปสนามบินต้องชี้แล้วพูดลิสต์ของสำคัญๆจะได้ไม่ลืมเช่น กุญแจ กระเป๋าตังค์ พาสปอร์ต ตั๋ว ฯลฯ เพราะคนเราพอมีความคุ้นชินอะไรมากๆแล้วก็มักจะมองข้ามสิ่งสำคัญไปได้เอาง่ายๆ
3
นอกจากนั้นหนังสือยังชวนให้ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ในความพยายามเปลี่ยนนิสัยแย่ๆได้ด้วย เช่น จะเปลี่ยนแปลงการกินอยากลดน้ำหนัก พอเห็นคุกกี้แล้วอยากกินก็ควรจะชี้ไปที่คุกกี้แล้วพูดดังๆออกมาว่า นี่เรากำลังจะกินคุกกี้หรือนี่ มันไม่ดี มีแต่น้ำตาล กินแล้วอ้วน ทำให้ระดับการรับรู้และสติกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว …หนังสือ atomic habit บอกไว้แบบนั้น
3
แน่นอนว่าการชี้แล้วพูดดังๆนั้นดูน่าอายมาก บางที่เป็นผลลบที่พอเอาวิธีนี้มาใช้กับประเทศตะวันตกในสถานีรถไฟหรือโรงงานก็ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะคนงานบอกว่ามัน “น่าอาย” ที่ญี่ปุ่นเองก็ไม่ใช่ไม่มีปัญหานี้ การชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจึงสำคัญมากในการเอาชนะความอาย
บริษัทที่ให้บริการรถไฟใต้ดินที่ญี่ปุ่นยังต้องอบรมพนักงานใหม่ก่อนเลยด้วยซ้ำว่า “recognize pointing-and-calling as necessary for safe rail operations, and therefore do not feel embarrassment.” เพื่อให้พนักงานเห็นประโยชน์จากการชี้และตะโกนดังๆโดยไม่ต้องเขินมากนัก
ดังนั้นถ้าใครอยากลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้กับการลดความอ้วน หรือป้องกันความผิดพลาดในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นบ่อยๆในที่ทำงานก็อย่าได้อาย ทำบ่อยๆก็น่าจะชินไปเอง แล้วถ้าเห็นใครทำอยู่ก็จะได้เข้าใจและอย่าไปขำอะไรเขาละกันนะครับ …
โฆษณา