14 พ.ย. 2022 เวลา 14:16 • ไลฟ์สไตล์
ลายเซ็นคนดังกับการเป็น ‘ของสะสม’ ทำกำไรได้ขนาดไหน?
1
ลายเซ็นของคนดังกับการประกาศขายเพื่อทำกำไร กลายดราม่าอีกครั้ง ภายหลังร็อคเกอร์หนุ่ม “เสก โลโซ” ได้โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงกฏเหล็กในการขอลายเซ็น หลังทราบว่ามีแฟนคลับนำไปขายต่อ โดยตั้งราคาสูงเพื่อทำกำไร
ลายเซ็นคนดังกับการเป็น ‘ของสะสม’ ทำกำไรได้ขนาดไหน?
1. เจ้าของงาน (ไม่เกิน 5 รูป)
2. แขก VIP (ไม่เกิน 3 คน)
3. แฟนคลับ (ไม่เกิน 2 คน)
4. งดแจกลายเซ็นแฟนคลับในทุกกรณี (จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)
5. ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่รับรองของศิลปินโดยเด็ดขาด ขอขอบคุณแฟนคลับทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ
ข้างต้นคือส่วนหนึ่งของข้อปฏิบัติที่ทางผู้ดูแลศิลปิน LOSO และ SEK LOSO วางไว้เป็นระเบียบข้อปฏิบัติ โดยประกาศบนเฟสบุ๊ก แฟนเพจทางการของ SEK LOSO ซึ่งมียอดผู้ติดตาม 6 ล้านคน
การเข้าคิวขอลายเซ็นดนดัง ศิลปินผู้มีชื่อเสียง ก่อนจะเอามาขายเพื่อทำกำไร เกิดขึ้นมานาน แต่เราก็จะเห็นบ่อยขึ้นในยุคที่โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหนึ่งในลงประกาศขาย และก่อนกรณีข้างต้นก็เคยมีดราม่าของแฟนคลับรายหนึ่งที่ได้ขอลายเซ็น “ลิซ่า แบล็คพิงค์” ในวันที่ไปรับประทานอาหารกับครอบครัว
แต่จากนั้นก็กลับออกมาทวีตขายลาย โดยการเปิดประมูล ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นดังกล่าวมีทั้งผู้ที่มองเป็นเรื่องธรรมดา และมองเป็นเรื่องไม่สมควร เนื่องด้วยจากกรณีน้องลิซ่า มาพักผ่อนกับครอบครัว การขอลายเซ็นด้วยวิธีการเช่นนั้น ก่อนมาทำกำไรจึงไม่ใช่เรื่องปกติ
ในตลาดขายของสะสม ลายเซ็นคนดังคือหนึ่งในสินค้าที่ถูกจำหน่ายเพื่อเปลี่ยนมือมาทุกยุคทุกสมัย และนับเฉพาะในแวดวงกีฬา ศิลปิน ก็มีธุรกิจจัดจำหน่ายของสะสม เช่น รองเท้า เสื้อฟุตบอลพร้อมลายเซ็น เครื่องดนตรี โปสเตอร์ ฯลฯ ซึ่งของที่ระลึกประเภทนี้จะมาพร้อมลายเซ็น พร้อมใบรับประกัน ซีเรียลนัมเบอร์
2
ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ธุรกิจนั้นเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับสโมสรหรือค่ายเพลง เพื่อส่งต่อให้ผู้ชื่นชอบและนักสะสมทั่วโลก เช่นเดียวกับกรณีการส่งของที่ระลึกมาประมูลเพื่อสมทบทุนในโอกาสต่างๆ แบบที่เราเห็นในข่าว เช่น ในโอกาสวันสำคัญ การเกิดภัยพิบัติซึ่งต้องระดมทุนช่วยเหลืออาสาสมัครต่างๆ
1
หากในตลาดซื้อขายแบบไม่เป็นทางการ เช่น ในโซเชียลมีเดีย มาร์เกตเพลส การนำลายเซ็นและของที่ระลึกขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อ-ขาย รวมถึงหลักฐานการยืนยันว่า สินค้าดังกล่าวนั้นมีที่มาซึ่งเชื่อมโยงกับผู้มีชื่อเสียงจริงๆ โดยราคาการขายจะเริ่มตั้งแต่หลักร้อย หลักพัน และสูงขึ้นตามความหายาก ที่คนคอเดียวกันจะมองว่าเป็น “แรร์ไอเทม” หรือสิ่งของที่มีจำนวนน้อยหรือแทบหาไม่ได้เลย และไม่มีการผลิตขึ้นใหม่
บทความจากเว็ปไซต์ Business Insider นิยามว่า “ลายเซ็น” หรือ “ของสะสม” ถูกขายต่อและทำราคาได้ เพราะมันคือ Tangible Asset หรือ “สินทรัพย์มีตัวตน” ไม่ต่างจาก อาคาร อุปกรณ์ ที่ดิน โดยเป็นสินทรัพย์กายภายซึ่งจับต้องได้ และมี “คนรัก” ในสิ่งนั้นที่พร้อมจะลงทุนกับมัน
แต่ถึงเช่นนั้นก็ไม่มีสิ่งใดจะการันตีว่าว่ามันราคาของมันจะ “แข็งค่า” ขึ้นเมื่อใด ทั้งนี้เนื่องจากของสะสมมีความหลากหลายมาก จึงเป็นเหตุผลที่ราคาของมันคาดเดาไม่ได้ และนอกจากนั้นในบางกรณีของที่มีราคาพุ่งสูงขึ้นในปีหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป มันกลายเป็นของไร้ค่าเกือบทั้งหมด
ลายเซ็น บนสิ่งของ ก็จัดเป็น “ของสะสม” ประเภทหนึ่ง และจากการสืบค้น The World’s Most Expensive Autographs ก็พบว่า มีลายเซ็นที่ถูกจัดอันดับว่ามีราคาสูงมากใน 5 อันดับโลก ได้แก่
1
1.ลายเซ็นของจอร์จ วอชิงตัน ผู้นำของสหรัฐอเมริกาคนแรก ในสำเนาของรัฐธรรมนูญของอเมริกาฉบับแรก โดยลายเซ็นนี้ถูกประมูลโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรองค์หรหนึ่ง เมื่อปี 2012 โดยมีราคาอยู่ที่ 9.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งภายหลังถูกซื้อไปแล้วพวกเขาวางไว้ในห้องสมุดประธานาธิบดี ภายในในทำเนียบขาว
2. ลายเซ็นของ อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยในปี ค.ศ. 1864 หนึ่งปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ลงนามในประกาศการปลดปล่อย 48 ชุด ซึ่งมีเนื้อหายุติการเป็นทาสในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง เอกสารประวัติศาสตร์จำนวน 26 ฉบับยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน และมีการจัดแสดงในมหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ โดยบางส่วนอยู่ในมือของเอกชน ในปี 1991 สำเนาของเอกสารนี้ขายได้ในราคา 7.5 แสนดอลล่าห์สหรัฐ
ก่อนจะมีมหาเศรษฐีอีกคนหนึ่งถูกต่อด้วยเงิน 2 ล้านเหรียญ แต่แล้วก็มีรายงานว่ามีนักสะสมนิรนามรายหนึ่งทุ่มเงินไป 3.7 ล้านเหรียญเพื่อสร้างสถิติใหม่สำหรับลายเซ็นที่แพงที่สุดในขณะนั้น
3. ลายเซ็นของจอห์น เลนนอน สมาชิกของวงของเดอะบีทเทิลส์ ในปี 1880 ราคา 5.25 แส ดอลลาร์สหรัฐ โดยลายเซ็นนี้อยู่ในจดหมายประวัติศาสตร์ที่เลนน่อน เซ็นบนสำเนาอัลบั้ม 'Double Fantasy' ให้กับมาร์ค เดวิด แชปแมน ฆาตกรในไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า แต่ต่อมาผู้ได้รับลายเซ็นกลับเป็นคนเดียวกับที่ยิงใส่ตัวเขาเอง
1
4. ลายเซ็นของ เบ๊บ รูธ เจ้าของฉายะ “Home Run King” ผู้สร้างสถิติ ทำโฮมรันได้ถึง 714 หน ตีลูกได้ 2,873 ครั้ง ตลอดอายุการเป็นนักเบสบอลอาชีพ ราคา 3.88 แสนดอลลาร์สหรัฐ
5. ลายเซ็นของ เจมี่ เฮนดริกซ์ ตำนานมือกีตาร์ของโลก บนสัญญากับค่ายเพลง ในราคา 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ถึงตรงนี้ ลายเซ็นคนดังกับการเป็น ‘ของสะสม’ ทำกำไรได้ขนาดไหน? ก็ต้องตอบว่าทำกำไรได้มาก และมีมูลค่าที่เพิ่มทวีหลายร้อยเท่า เมื่อเทียบกับต้นทุนคือระยะเวลา และโชคชะตา นั่นเพราะไม่มีใครรู้ว่า ชื่อของคนดังหรือศิลปินที่เซ็นบนสิ่งของต่อหน้าเรานั้นจะมีความต้องการเท่าใดในอนาคต
2
นอกจากความชื่นชอบ การทำกำไรจากลายเซ็น จึงเสมือนการคาดการณ์และ “เก็งกำไร” ล่วงหน้า โดยมีระยะเวลาและจำนวนการผลิต ความหายาก-ง่าย เป็นต้นทุนในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ ตลาดลายเซ็นกับการเป็นของสะสม มีทั้งที่ถูกจำหน่ายด้วยนักล่าลายเซ็นมือสมัครเล่นที่ชอบด้วยความรักส่วนตัว และพวก “มืออาชีพ” ที่พวกเขามองเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการลงทุน โดยบทความ See What Company Made $300 Million From Celebrity Autographs Alone อ้างอิงความเห็นของพอล เฟรเซอร์ เจ้าของบริษัทขายของสะสมของอังกฤษว่า มูลค่าของสิ่งของและลายเซ็นของผู้มีชื่อเสียงสามารถเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 300 ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเอาชนะผลกำไรจากการลงทุนในหุ้นและทองคำ
1
นั่นจึงแสดงว่า ขณะที่สกุลเงินต่างๆกำลังผันผวน และ ตลาดหุ้นก็คาดเดาทิศทางยาก แต่ผลกำไรจากการลงทุนทางเลือกกำลังเพิ่มขึ้น ทำให้มีคนเริ่มสนุกที่จะสะสมของเหล่านี้และทำกำไรจากมัน
ถึงเช่นนั้นใครจะการันตีว่า ลายเซ็นของบรรดานักกีฬา ศิลปิน คนดัง ที่เรายืนรอ นั่งรอ ใช้เวลารอคอยนานนับชั่วโมง จะเป็นที่ต้องการจริงๆในอนาคต
2
อ้างอิง : Financesonline, Business Insider, วิกิพีเดีย
1
โฆษณา