2 พ.ย. 2022 เวลา 12:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ภาษีสำหรับแพทย์ ปี 65
ภาษีเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ยิ่งมีรายได้มาก ก็ยิ่งเสียภาษ๊ที่สูง โดยเฉพาะถ้ารายได้นั้นเป็นลักษณะของเงินเดือน ถ้าเราประหยัดภาษีได้ จะทำให้เรามีเงินมาออม หรือลงทุนได้เพิ่มขึ้นได้
ในการคิดว่า ภาษีที่ต้องเสียเท่าไหร่นั้น ตั้งต้นเราต้องรู้ว่า
1.เงินได้ทั้งปีของเราเป็นเท่าไหร่ ลักษณะรายได้เป็นแบบไหน
2.หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ซึ่งหักได้เท่าไหร่นั้นจะขึ้นกับลักษณะประเภทรายได้ กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ซึ่งจะแสดงให้ดูในรูปถัดไปนะ
3. มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ในแต่ละปีรัฐก็จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อนไปบ้าง อย่างเช่นปีนี้มีลดหย่อนจาก SSFX, SSF เพิ่มเติม โดยไม่มี LTF แล้ว ดังนั้นตรงนี้ต้องคอยติดตามว่า แต่ละปีมีอะไรบ้าง
เมื่อเราทราบข้อมูลตรงนี้ เราจะสามารถนำมาคิดคำนวณ “เงินได้สุทธิ” ของเราได้
เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
และเมื่อทราบ “เงินได้สุทธิ” ตรงนี้ จะนำมาคิดอัตราภาษี เพื่อคำนวณออกมาเป็นภาษีที่เราต้องเสีย
ถ้าจะประหยัดภาษีเพิ่ม คือ ปรับเปลี่ยนลักษณะของรายได้ หรือ หาค่าลดหย่อนอื่นมาเพิ่มเติม . ภาษีเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญตัวหนึ่ง ดังนั้นการวางแผนภาษีได้ จะทำให้เราประหยัดเงินที่ต้องจ่าย เพื่อนำไปเก็บออม หรือลงทุนได้เพิ่มขึ้น
จะเห็นว่า ลักษณะของรายได้จะเป็นตัวกำหนดลักษณะของการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งรายได้ที่เป็น 40(1) และ 40(2) เป็นลักษณะของรายได้ที่ต้องเสียภาษีค่อนข้างสูง เพราะหักค่าใช้จ่ายได้น้อย แต่ถ้าเป็นรายได้ที่เป็นลักษณะ DF จะหักค่าใช้จ่ายได้มาก
การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา เราไม่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งเวลาที่ไปอยู่เวรเอกชน และได้เป็น DF จึงหักแบบเหมากัน
ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของรายได้เราได้ สิ่งที่จะมาช่วยให้เราเสียภาษ๊น้อยลง คือ การหาค่าลดหย่อนมาหักเพิ่มเติมนั่นเอง ต่อมามาดูว่า เราสามารถนำอะไรมาลดหย่อนได้บ้าง เมื่อปีภาษี 2565 นี้
ค่าลดย่อนสำหรับปี 2565 นั้นมีการเปลี่ยนแปลง ไปบ้าง ได้แก่
- เงินลดหย่อนจากประกันสังคม เพราะปีนี้มีการลดการหักเงินเข้าประกันสังคมนะ ดังนั้นสูงสุดปกติจะเป็น 9,000 บ. ปีนี้สูงสุดก็จะเป็นแค่ 6,300 บ. นะ
- ประกันสุขภาพตนเอง ปีนี้ 25,000 บ. แต่ยังไงเพดานก็ยังไปรวมกับประกันชีวิตทั่วไป แล้วไม่เกิน 100,000 บ. นะ
- กองทุนประหยัดภาษีปี 65 จะมี SSF และ RMF นะ ไม่มี SSFX กับ LTF แล้วนะ
- มีช้อปดีมีคืนที่เพิ่มมาเมื่อตอนต้นปี ใครจะใช้สิทธินี้ อย่าลืมเห็บเอกสารใบกำกับภาษีไว้ให้ดี เพื่อเป็นหลักฐานให้สรรพากรนะ
- ส่วนถ้าใครเป็นข้าราชการก็จะมี กบข. หรือที่ทำงานใครมี PVD ก็สามารถลดหย่อนได้ตามเดิมนะ
เมื่อเราคิดคำนวณ รายได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ก็จะได้ออกเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งจะนำไปเข้า เทียบกับตารางอัตราภาษี
อัตราภาษีนั้นเป็นลักษณะขั้นบันได ยิ่งเงินได้สุทธิมาก จะยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูง ในการคิดอัตราภาษีจะดูเป็นช่วงของเงินได้ และค่อยๆ เดินขึ้นไปในแต่ละขั้นว่าคิดได้เท่าไหร่ และนำแต่ละขั้นที่คิดได้มาบวกกัน ลองดูตัวอย่างในรูปถัดไปจะได้เข้าใจมากขึ้นนะ
ถ้าหมอคนเดิมในตัวอย่างนี้ มีรายได้จากการไปออกตรวจ รพ. เอกชน ที่ได้รายได้เป็นลักษณะ DF ซึ่งเป็นรายได้ 40(6) อีกปีละ 100,000 บ. ส่วนรายได้ 40(1) คือ 600,000 บ. ต่อปี และค่าลดหย่อนอื่นเหมือนเดิม ลองมาคิดกัน
ถ้าเรามีรายได้ทั้ง 40(1) และ รายได้ 40(6) ให้คิดหักค่าใช้จ่ายในแต่ละลักษณะของเงินได้ก่อน และค่อยนำมาหักกับค่าลดหย่อน ลักษณะนี้
เงินได้สุทธิ = [(รายได้ 40(1) – ค่าใช้จ่ายตาม 40(1)) + (รายได้ 40(6) – ค่าใช้จ่าย 40(6))] – ค่าลดหย่อน
รายได้จาก รพ. รัฐ ทั้งปี 600,000 บ. หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บ. เหลือรายได้ 40(1) หลังหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 500,000 บ. ตรงนี้เหมือนตัวอย่างเดิม
ส่วนรายได้ 40(6) เลือกหักแบบเหมา ซึ่งหักได้ 60% ของรายได้ ดังนั้นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายตรงนี้จะได้เท่ากับ 100,000 – (100,000 x 60%) = 40,000 บ.
รวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 500,000 + 40,000 บ. = 540,000 บ.
และจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. ค่าลดหย่อนจาก กบข. 60,000 บ. ตามตัวอย่างเดิม
จะได้เป็นเงินได้สุทธิ = 420,000 บ. และนำรายได้ตรงนี้ไปเข้าเทียบกับ ตารางอัตราภาษี ทำให้ต้องเสียภาษีเป็น
ขั้นที่ 1 = 0
ขั้นที่ 2 = 7,500 บ.
ขั้นที่ 3 = 120,000 x 10% = 12,000 บ.
รวมภาษีที่ต้องเสียทั้งหมด = 19,500 บ. นั่นเอง
การคำนวณแบบเหมาที่คิดอัตรา 0.5% จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อ มีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) และคำนวณแบบเหมาแล้วค่าภาษีเกิน 5,000 บ. ก็คือ ต้องมีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) เกิน 1,000,000 บ. นั่นเอง เพราะ 1,000,000 บ. X 0.005 = 5,000 บ. (ถ้าคิดภาษีแบบเหมานี้ง่ายๆ ก็คือ เสียล้านละ 5,000 บ. นะ) และคิดออกมาแล้วแบบหมาเสียมากกว่า แบบขั้นบันได
สรุปก็คือ ให้คิดภาษีแบบขั้นบันไดที่เล่าไปก่อนหน้าก่อน และถ้ามีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) ที่เกิน 1,000,000 บ. ลองมาคิดแบบเหมาดู และต้องเสียภาษีตามที่คิดออกมาแล้วมากกว่านะ ถ้าแบบบขั้นบันได เสียมากกว่า ก็คือใช้แบบขั้นบันได
#ภาษี #วางแผนภาษี #ค่าใช้จ่าย #มนุษย์เงินเดือน #ยื่นภาษี #คิดภาษี #คำนวณภาษี #ยื่นภาษี #เงินได้ #ประเภทเงินได้ #ค่าใช้จ่าย #หักค่าใช้จ่าย #หมอยุ่อยากมีเวลา #ภาษ๊สำหรับแพทย์ #รายได้แพทย์ #เงินได้แพทย์
โฆษณา