3 พ.ย. 2022 เวลา 15:37 • ประวัติศาสตร์
เส้นทางสู่ดวงดาวล้วนเต็มไปด้วยความยากลำบากและภยันตรายอยู่เสมอ
ซึ่งก็คงไม่มีมนุษย์คนไหนอยากเดินทางออกไปนอกโลก โดยปราศจากหลักประกันใด ๆ ว่าจะกลับลงมาได้อย่างปลอดภัยจริง ๆ
1
และด้วยเหตุนี้ "ไลก้า" สนัขจรจัดวัย 3 ขวบ ที่ใช้ชีวิตอยู่ข้างทางตามริมถนนของกรุงมอสโกไปวัน ๆ โดยที่ไม่รู้ประสีประสาอะไร ก็ได้ถูกทางการสภาพโซเวียตนำตัวไปคัดเลือกให้เป็น "สุนัขทดลองชั้นยอด" ที่จะได้เดินทางขึ้นสู่อวกาศ ก่อนหน้าที่เที่ยวบินของมนุษย์คนแรกจะตามมา
ซึ่งสุนัขทุกตัวที่ถูกจับไปนั้นล้วนเป็นเพศเมียทั้งสิ้น เนื่องจากมีขนาดตัวที่เล็กกว่าที่จะอัดลงไปในกล่องโลหะเล็ก ๆ ที่เป็นยานโดยสารได้ แถมยังว่านอนสอนง่ายกว่าสุนัขจรจัดเพศผู้ด้วย
1
โดยกระบวนการคัดเลือกจะเริ่มจากการดูทักษะการรับคำสั่งและนิสัยสงบนิ่งเป็นหลัก ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะจับตัวสุนัขทั้งหลายไปอยู่ในยานโดยสารจำลองเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่องกันหลายวัน พร้อมกับจำลองเสียงและแรงกระแทกของจรวดช่วงที่กำลังทะยานขึ้นฟ้าควบคู่ไปด้วย จนกว่าจะได้สุนัขที่เหมาะสมสำหรับภารกิจ
เป็นที่แน่นอนว่าสุนัขบางตัวย่อมไม่ชอบการทดลองนี้และต่อต้านด้วยการแสดงทีท่าก้าวร้าว บ้างก็กลัวเสียจนไม่ยอมขับถ่ายเป็นเวลาหลายวันแม้จะได้รับยาถ่ายไปแล้วก็ตาม บ้างก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการที่ได้รับรางวัลเป็นอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ ในภายหลังการทดลอง ซึ่งไลก้าก็เป็นหนึ่งในสุนัขที่ทำได้ดีมาโดยตลอด
จนกระทั่งเมื่อช่วงท้ายของการคัดเลือกมาถึง เจ้าไลก้าของเรา ก็ได้ตกไปอยู่ในตัวเลือกสำรองของทางการสหภาพโซเวียตไป ในกรณีที่ภารกิจทดสอบครั้งแรกล้มเหลว แต่ก็ดันปรากฏว่ามีข่าวลือในหมู่เจ้าหน้าที่ว่าสุนัขที่ได้รับคัดเลือกนั้นกำลังตั้งท้องอยู่ ซึ่งในภาพรวมสุนัขตัวนั้นก็ยังได้รับความทะนุถนอมมากกว่าเจ้าไลก้าอีกด้วย ทำให้ไลก้าได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ขึ้นไปในอวกาศในภารกิจแรกแทน
1
นักวิทยาศาสตร์โซเวียตคาดการณ์ไว้เป็นอย่างดีว่าเจ้าไลก้าจะตายไปด้วยสภาวะขาดออกซิเจนอย่างสงบเหมือนหลับไหลไป หลังจากที่ยานโดยสารได้ใช้เวลาอยู่บนอวกาศได้ราว 7 วัน
1
โดยก่อนที่เที่ยวบินของไลก้าจะเริ่มต้นขึ้นราวสามวัน หนึ่งในผู้ดูแลสุนัขของโครงการอวกาศโซเวียตก็ได้ยื่นเรื่องให้นำไลก้ากลับไปดูแลที่บ้านพักของตนเองอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นครั้งสุดท้าย
และเมื่อวันปล่อยตัวที่ 3 พฤศจิกายน 1954 มาถึง ไลก้าก็ได้ถูกนำตัวกลับไปยังห้องโดยสารแคบ ๆ อีกครั้ง ซึ่งในรอบนี้รอบตัวไลก้าก็ได้ถูกติดไปด้วยเซนเซอร์ตรวจวัดทุกความเคลื่อนไหวในร่างกายเต็มไปหมด จนยากที่จะขยับตัวได้ มิหนำซ้ำไล้ก้าก็ยังต้องใส่ชุดอวกาศที่มีสายรัดโลหะเพื่อล็อกตัวให้อยู่กับที่อีกด้วย
ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยออกมาหลังจากสภาพโซเวียตล่มสลายได้ระบุว่า อัตราการเต้นของหัวใจของไลก้าพุ่งขึ้นสูงถึง 3 เท่าของอัตราปกติ และหายใจรัวขึ้น 4 เท่าในขณะที่จรวดกำลังสั่นสะเทือนและไต่ระดับขึ้นสู่อวกาศอย่างรวดเร็ว จนมีแรงกดมากกว่าที่มนุษย์ทั่วไปได้รับบนพื้นโลกถึง 5 เท่า (5G)
1
ไม่กี่นาทีต่อมาภาพจากหน้าต่างกลม ๆ เล็ก เบื้องหน้าไลก้าก็กลายเป็นสีดำทมึฬ พร้อมกับทิวทัศน์ของโลกสีฟ้านวลทั้งใบประดับอยู่เบื้องล่าง ตอนนี้ไลก้ายังมีชีวิตอยู่ดีท่ามกลางสภาวะไร้น้ำหนักของอวกาศ ราวกับว่าการทดลองดำเนินไปได้อย่างราบรื่นตามที่ได้วางแผนไว้
แต่ทว่า หลังจากที่ยานอวกาศวนรอบโลกได้ราว 103 นาที เกราะกันความร้อนได้ยานก็ได้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้น และทำให้อุณหภูมิภายในห้องโดยสารพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 90 องศาเซลเซียส จากการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก จนเป็นที่แน่นอนว่าเจ้าไลก้า ก็ไม่อาจทนต่อสภาพแวดล้อมที่สุดขั้วนี้ไปได้ และจากไปอย่างทรมาณในที่สุด...
3
โดยภายหลังจากที่ภารกิจได้จบลง ทางการสภาพโซเวียตก็ได้กลบเกลื่อนเรื่องอุบัติเหตุนี้ไว้และชี้แจงให้ชาวโลกทราบว่า ไลก้าอยู่รอดบนอวกาศได้เป็นเวลา 9 วันและจากไปอย่างสงบ "จากสภาวะขาดออกซิเจน" ตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้
1
เหตุการณ์นี้จึงได้ปูทางให้โครงการอวกาศโซเวียตพัฒนายานอวกาศที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ในเวลาต่อมาเพื่อใช้ส่ง "ยูริ กาการิน" มนุษย์คนแรกที่ได้เดินทางไปอวกาศและกลับลงมายังโลกได้อย่างปลอดภัย ซึ่งได้กลายเป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่า "มนุษย์สามารถอยู่รอดบนอวกาศได้"
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้สัตว์ทดลองเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะในวงการแพทย์ที่ใช้หนูและแมงดาทะเล หรือวงการอวกาศที่ใช้ลิงซิมแพนซีและสุนัขก็ตาม
2
แต่ก็น่าเสียดายที่นักวิทยาศาสตร์โซเวียตก็กลับไม่สามารถทำให้ไลก้าจากไปอย่างสงบและปราศจากความเจ็บปวดได้
1
แด่สัตว์และมนุษย์ทุกคนที่สูญเสียชีวิตเพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ
2
ภาพจาก MV เพลง ไม่มีที่มา - Ten to Twelve
โฆษณา