8 พ.ย. 2022 เวลา 02:55 • ธุรกิจ
Buy Now Pay Later กำลังเป็นฟองสบู่ ลูกใหม่ของโลก
8
ปัจจุบันนี้ การซื้อสินค้าแบบซื้อก่อนจ่ายทีหลัง กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการมา
ของการค้าขายออนไลน์ หรือ E-Commerce
1
แต่การซื้อสินค้า ที่สามารถจ่ายเงินทีหลังได้นี้
อาจกำลังเป็นฟองสบู่อีกลูกหนึ่ง ที่ซ่อนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
5
แล้วทำไมแค่การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง ถึงก่อให้เกิดฟองสบู่ได้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Buy Now Pay Later เป็นแพลตฟอร์มรูปแบบหนึ่ง ที่ให้ลูกค้าสามารถซื้อของไปก่อน
แล้วจ่ายเงินค่าสินค้าในภายหลังได้
ซึ่งส่วนมากแล้ว มักจะให้ลูกค้าจ่ายคืน เป็นงวด ๆ คล้ายกับบัตรเครดิต
1
โดยในประเทศไทยเอง ก็มีแพลตฟอร์ม ในลักษณะนี้ออกมา
เช่น SPayLater ของ Shopee, LazPayLater ของ Lazada หรือ Pay Next ของ TrueMoney
1
Buy Now Pay Later นั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในช่วงที่ผ่านมา
3
โดยในประเทศไทย มียอดขายสินค้า ที่ชำระผ่าน Buy Now Pay Later เป็นมูลค่ากว่า 3.4 หมื่นล้านบาท ในปี 2564
23
และมีการคาดการณ์ว่า จะเพิ่มเป็น 6 แสนล้านบาท ในปี 2571 แสดงให้เห็นว่า Buy Now Pay Later จะยังคงเติบโตเป็นอย่างมาก
4
โดยเฉพาะในกลุ่มคน ที่ยังไม่สามารถสมัครบัตรเครดิตได้
รวมถึงร้านค้าเอง ก็มียอดขายมากขึ้น จากการใช้แพลตฟอร์มนี้
7
ทั้งนี้ผู้ให้บริการเอง ก็มีความเสี่ยง
ที่จะไม่ได้รับเงินคืน หากผู้ใช้บริการเบี้ยวหนี้
10
แต่ในตอนนี้ Buy Now Pay Later กำลังเผชิญกับความท้าทาย และอาจกำลังกลายเป็นฟองสบู่อีกลูกหนึ่ง
เพราะด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่มากขึ้น
1
เนื่องจาก Buy Now Pay Later นั้น มีรายได้จากค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ย ของแต่ละยอดขาย
3
แพลตฟอร์มเหล่านี้ จึงได้รับผลกระทบโดยตรง จากพิษเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เพราะผู้คนจะลดการจับจ่ายใช้สอยลง
1
ซึ่งยอดซื้อสินค้าที่ลดลง ก็หมายถึง รายได้ของแพลตฟอร์มที่ลดลงไปด้วย
1
นอกจากนี้ ด้วยความที่ผู้ใช้บริการ Buy Now Pay Later
มักเป็นผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตเป็นของตัวเอง เนื่องจากสมัครไม่ผ่าน และด้วยเงื่อนไขที่เข้มงวดน้อยกว่าการสมัครสินเชื่ออื่น ๆ
3
ทำให้ผู้ที่ใช้บริการส่วนใหญ่ มักเป็นกลุ่มเปราะบางทางการเงิน หรือเป็นประชากรอายุน้อย ที่ยังมีรายได้ไม่แน่นอน และยังไม่มีวินัยทางการเงินที่ดี
5
ที่สำคัญคือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม
4
โดยจากการสำรวจ ผู้ใช้บริการ Buy Now Pay Later ของ LendingTree พบว่า
1
70% ของผู้ใช้บริการ มีการใช้จ่ายมากขึ้นกว่าปกติ และ 42% ของผู้ใช้บริการ ไม่สามารถชำระเงินคืนได้ตรงเวลา
18
จากข้อมูลทั้งหมด ก็คงพอจะคาดการณ์ได้ว่า หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา คนกลุ่มนี้คือกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
5
นอกจากนี้ ด้วยความที่แพลตฟอร์มต้องจ่ายเงินแทนลูกค้าล่วงหน้า ทำให้อาจต้องมีการกู้เงิน เพื่อนำมาใช้ในการทำธุรกิจ
1
แต่ด้วยสถานการณ์ที่ดอกเบี้ยกำลังเป็นขาขึ้น แพลตฟอร์มเหล่านี้ ที่กู้เงินเพื่อนำมาเป็นเงินทุน ในการดำเนินธุรกิจ ก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย
4
หมายความว่า Buy Now Pay Later จะต้องเจอกับ
- ยอดขายลดลง ทำให้รายได้จากค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยลดลง
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
- ความเสี่ยงจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น เพราะความเปราะบางทางการเงินของผู้ใช้บริการ
2
ทั้งหมดนี้ ทำให้ Buy Now Pay Later กำลังกลายเป็นฟองสบู่อีกลูกหนึ่งที่เรากำลังเจอ
2
เพราะถ้าหากมองย้อนกลับไป ตอนวิกฤติซับไพรม์ ในปี 2008 ก็มีจุดเริ่มต้นมาจาก ความสามารถในการชำระหนี้ของเหล่าผู้กู้รายเล็ก ๆ และเงื่อนไขที่หละหลวมในการปล่อยกู้
3
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐของประเทศต่าง ๆ
ก็เริ่มมีการจับตามอง Buy Now Pay Later กันบ้างแล้ว
โดยหน่วยงาน The Consumer Financial Protection Bureau ซึ่งเป็นหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงิน ของประเทศสหรัฐอเมริกา
2
ได้ออกมาแสดงความกังวล เกี่ยวกับ Buy Now Pay Later แล้ว และอาจจะมีการออกมาตรการตามมา
3
ขณะที่ในประเทศไทย ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ก็ได้ออกหนังสือ ขอความร่วมมือกับสถาบันการเงิน รวมถึงกลุ่มนอนแบงก์
ไม่ให้ออกโปรโมชัน หรือแคมเปญจูงใจให้ประชาชน ก่อหนี้เพิ่ม
1
ถึงแม้ ธปท. จะไม่ได้พูดถึงอย่างตรง ๆ แต่ความร่วมมือนี้
ก็ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงทุกอย่าง ซึ่งรวมทั้งบัตรเครดิต และ Buy Now Pay Later ด้วย
2
จะเห็นว่า ถึงแม้ Buy Now Pay Later จะมีความคล้ายคลึงกับบัตรเครดิต
1
แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ
บัตรเครดิต จะมีการเก็บเอกสารจำนวนมาก รวมถึงสลิปเงินเดือน เพื่อประเมินว่าเรามีกำลังก่อหนี้ได้มากน้อยแค่ไหน
3
ในขณะที่ Buy Now Pay Later ก็ปล่อยให้เราก่อหนี้ได้มาก หรือผ่อนสินค้าได้นานไม่ต่างจากบัตรเครดิต
1
แต่กลับอนุมัติการสมัครได้ง่าย ๆ และแทบจะไม่เก็บเอกสารอะไรจากเราเลย..
4
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา