11 พ.ย. 2022 เวลา 12:00 • สุขภาพ
มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 150 ปี จริงหรือ? สำรวจสถิติ “อายุขัยมนุษย์” จะมีชีวิตยืนยาวขึ้นจากอดีตถึง 2 เท่า โดยมีทั้งกลุ่มคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
สำรวจสถิติ “อายุขัยมนุษย์” จะมีชีวิตยืนยาวขึ้นจากอดีตถึง 2 เท่า
เมื่อกลางปีที่แล้ว เว็บไซต์บีบีซีนิวส์ (BBC News) ได้เผยแพร่ผลวิจัยจากบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ "เจโร" (Gero) ว่ามนุษย์มีสถิติอายุยืนยาวได้มากกว่า 120-150 ปี จากการวิเคราะห์เม็ดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 5,000 คน
มนุษย์จะมีชีวิตอยู่นานถึง 150 ปี ได้จริงหรือ? เมื่อลองสำรวจคนอายุยืนที่สุดในโลก สถิติที่เก็บได้คือทวดหญิงชาวฝรั่งเศสที่แม้จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่อายุ ณ วันเสียชีวิตคือ 122 ปี นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมายังมีกลุ่มคนอายุเกิน 100 ปี เพิ่มมากขึ้น
จากผลสำรวจสถิติอายุขัยมนุษย์ขององค์กรอนามัยโลก ซึ่งเก็บข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2562 พบว่า อายุขัยเฉลี่ยของคนทั่วโลกอยู่ที่ 72.6 โดยคนญี่ปุ่น มีอายุขัยเฉลี่ย 85 ปี คนสเปน, สวิตเซอร์แลนด์, อิตาลี, ออสเตรเลีย มีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 83 ปี ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นกลุ่มประเทศที่ผู้คนมีอายุขัยมากที่สุดในโลก ส่วนประเทศแถบแอฟริกากลาง กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอายุขัยที่ต่ำที่สุดในโลก คือเฉลี่ย 53 ปี
กลับมาดูข้อมูลสถิติคนไทยกันบ้าง ข้อมูลจาก ourworldindata ได้รวบรวมสถิติอายุเฉลี่ยคนไทยไว้เช่นเดียวกัน โดยพบว่าในปี 2562 คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ย 77.2 ปี ในปี 2557 อายุขัยเฉลี่ย 75.7 ในปี 2552 มีอายุขัยเฉลี่ย 73.8 ปี และปี 2493 มีอายุขัยเฉลี่ย 49.9
ข้อมูลของ UN Population สรุปว่ายิ่งประเทศไหนมีความมั่นคง และมั่งคั่ง ยิ่งทำให้คนมีอายุยืน ในทางตรงกันข้ามถ้าประเทศไหนที่อยู่ในกลุ่มประเทศยากจน ประชากรก็ยิ่งมีอายุขัยสั้นลงตามลำดับจากการจัดสวัสดิภาพด้านสุขภาพให้กับประชาชนไม่มากพอ ซึ่งในปัจจุบันประเทศที่มีอายุขัยน้อยที่สุดในโลกคือประเทศแอฟริกากลางที่มีเกณฑ์เฉลี่ยแค่ 53 ปี
เรื่องอายุขัยที่เพิ่มขึ้นของคนทั่วโลกในทุกๆ ปี ถูกพูดถึงเป็นวาระใหญ่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีการแพทย์ สวัสดิการสุขภาพ และการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงศาสตร์การชะลอวัย โดยมีการถกเถียงกันในกลุ่มคนที่เห็นด้วย และกลุ่มที่ไม่เห็นสมควรว่ามนุษย์ควรมีอายุยืนยาว
กราฟิก: ณัชชา พ่วงพี
อ่าน “อยู่ได้ถึง 150 ปี! สำรวจ “อายุขัยมนุษย์” ยิ่งอยู่ยิ่งยาว” ได้ที่
โฆษณา