10 พ.ย. 2022 เวลา 03:39 • การศึกษา
5 หลักการสำคัญของพระราชบัญัติการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการยุติธรรม พ.ศ.2565👈👈
ความล่าช้าของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหลายหน่วยงานที่ให้บริการประชาชนตามอำนาจหน้าที่ เป็นความหงุดหงิดที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงและบางที่ไม่มีคำตอบว่าจะทราบผลเมื่อไหร่ เมื่อเราไม่รู้ระยะเวลาในการดำเนินการ หรือมีกรอบเวลาให้ดำเนินการให้ชัดเจน แล้วก็รอไปเรื่อย ๆ
ภาพจาก pixabay
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ดำเนินการปฎิรูปประเทศในด้านกระบวนการยุติธรรม กำหนดระยะเวลาดำเนินงานขั้นตอนที่ชัดเจนเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า
พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ฉบับนี้ มี 12 มาตรา หลักการสำคัญพอที่จะช่วยบรรเทาความล่าช้าของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้พอสมควร
ก่อนที่จะกล่าวถึงหลักการสำคัญ ก็ต้องทราบบทนิยามที่เกี่ยวข้องกันเสียก่อนได้แก่
"การดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม" ก็หมายถึงการดำเนินงานทั้งทางแพ่งทางอาญา และทางปกครอง
"ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง "หมายถึง คู่ความ คู่กรณี ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย รวมถึงผู้ที่มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลที่กล่าวมาแล้วตามกฎหมาย หรือแม้แต่ในฐานะทนายความ
ภาพจาก คมชัดลึก
"หน่วยงานในกระบวนการบุติธรรม" ตามพระราชบัญญัตินี้มีทั้งหมด 11 หน่วยงาน แต่ที่สำคัญที่ประชาชนต้องใช้บริการเป็นส่วนใหญ่ก็คือ กระทรวงมหาดไทย , กระทรวงยุติธรรม ,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,ศาล ,องค์กรอัยการ ฯ
เมื่อทราบบทนิยาม แล้ว ก็มาถึง 5 หลักการสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้กันดีกว่า
1. พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม กำหนดเวลาดำเนินการยุติธรรมทุกขั้นตอนให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า ผู้มาติดต่อหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถทราบได้ว่าเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการจะเสร็จเมื่อใด และตรวจสอบความคืบหน้าได้
2.หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตามบทนิยาม ต้องกำหนดระยะเวลา เรื่องที่ขอให้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินการที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจ ตามลักษณะ สภาพ หรือประเภทของคดี รวมทั้งปริมาณงานที่อยู่ในความรับผิดชอบด้วย
ซึ่งกำหนดระยะเวลานั้น ต้องมีการประกาศและเผยแพร่ โดยที่ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย
3. ผู้ที่ดำเนินงานรับผิดชอบ ต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ได้ประกาศไว้ หากไม่เสร็จในกำหนดเวลาต้องบันทึกเหตุที่ล่าช้า รวมทั้งกำหนดระยะเวลาว่าจะเสร็จให้เร็วที่สุด และแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงความล่าช้า และระยะเวลาที่คาดว่าจะเสร็จด้วย รวมทั้งมีหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้
4. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ต้องมีระบบเทคโนโลยี่ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว เพื่อจะได้ตรวจสอบความคืบหน้าได้
5.ให้มีผู้รับผิดชอบเฉพาะเพื่อรับเรื่อง กรณีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน อันเนื่องมาจากความล่าช้าและตรวจสอบความคืบหน้า พร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้รับความเดือนร้อนทราบภายใน 15 วัน
ภาพจาก pixabay
หลักสำคัญของพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็พอที่จะเยียวยาระยะเวลาที่เนินช้า ของหน่ายงาน ได้บ้างผมว่าท่านผู้อ่านก็เคยเห็นหรือพบตามสื่อ หรือในสังคมข่าวอยู่บ่อย "ไปแจ้งตั้ง 2 เดือนแล้วไม่มีอะไรคืบหน้าเลย" หรือ" ดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหนก็ไม่แจ้ง บอกแค่ว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ " พระราชบัญญัตินี้ออกมาเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้
ดูแล้วก็ยังไม่ใช่ยาแรงอะไรที่ขจัดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างน้อย ประชาชนทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายแล้วมาขอรับงานบริการ หรือ ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ กล่าวโทษ ให้เขารู้สึกว่า ยังมีกรอบเวลาที่ชัดเจนและมีความหวังที่จะทราบผลในระยะเวลาอันรวดเร็วและเป็นธรรม
พระราชบัญญัตินี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 25 ตุลาคม 2565
บับจากวันที่ 25 ตุลาคม 2565เป็นต้นไปภายใน 90 วัน หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้ต้องไปวางกรอบเวลาในการดำเนินงานของตนเองและประกาศให้ประชาชนทราบ
อย่างน้อยเราก็พอมีกระบี่อยู่ในมือบ้างแม้จะไม่คมกริบ แต่ก็พอจะทำให้เจ็บปวดได้เหมือนกัน ❤️‍🩹❤❤️‍🩹
ขอบคุณครับ🙏🙏🙏
โฆษณา