9 พ.ย. 2022 เวลา 13:59 • หนังสือ
📝Getting Things Done "จัดสรร" จนปลอดโปร่ง
หลายครั้งที่ความคิดของเรา ความต้องการของเรา หรือแม้กระทั้งความคิดความต้องการของคนรอบตัวเรา รวมตัวกันจนวุ่นวาย ก่อเกิดเป็นความชิบxาย จบสุดท้ายกลายเป็นความเครียดความกังวลใจที่เคลียร์เท่าไหร่ก็ไม่หมดซักที...
บทความนี้เราจะมารู้จักวิธีเอา "มัน" ออกจากสมองด้วย Getting Things Done กันครับ
#GettingThingsDone หรือ #GTD เป็นแนวคิดจากหนังสือชื่อเดียวกันโดยนักเขียนชื่อดังชาวอเมริกานามว่า David Allen ที่ได้เสนอวิธีที่จะช่วยคลายความเครียดความกังวลของเราลงไปได้ด้วยคอนเซ็ปท์ง่าย ๆ โดย "ย้ายเรื่องที่ต้องทำ ความคิดและความกังวลใจทั้งหมดไปเก็บไว้ในที่ที่เชื่อใจได้แทน" โดยหลักการแล้วก็จะคล้าย ๆ กับการทำ #ToDoList เพียงแต่จะเจาะลึกมากกว่า
ขั้นแรกคือให้เราเตรียมกระดาษเอาไว้เยอะ ๆ แผ่นใหญ่เท่า A4 เลยยิ่งดี (หรือถ้าใครสะดวกทำในไอแพดก็ได้แหละ) เพราะเราจะต้องลงมือเขียนเยอะมาก
จากนั้นให้เราเขียนทุกอย่างที่ทำให้เรากระวนกระวายใจลงไป เช่น 'ต้องทำ...' หรือ 'อันนี้ก็ต้องทำ' ลงไป สิ่งสำคัญคือการเขียนทุกอย่างที่นึกออกลงไปจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม และไม่จำเป็นต้องแยกว่ามันเป็นเรื่องงานหรือไม่ แค่เขียนลงไปให้หมดจนกว่าสมองเราจะปลอดโปร่ง เช่น งานที่ทำค้างอยู่ หนังที่อยากดู สถานที่ที่อยากไป ของใช้ที่ลืมซื้อ หนังสือที่อยากอ่าน งานบ้านที่กองเป็นภูเขา ฯลฯ
เมื่อเราเขียนความกังวลใจเหล่านี้ลงไปจนเต็มหน้ากระดาษ แม้จะยังไม่ได้ทำสิ่งเหล่านั้นจนเสร็จหรือแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ได้ แต่เราก็จะรู้สึกเบาใจขึ้นมาบ้าง และยังรู้สึกสบายใจด้วยว่าเรื่องที่ต้องทำทั้งและสิ่งที่กังวลใจทั้งหมดได้ถูกเขียนออกมาให้เห็นตรงหน้าแล้ว นี่คือสภาพที่เราได้รับการปลดปล่อยจากความเครียดโดยการทำให้สมองปลอดโปร่งนั่นเอง!
จากนั้นให้เราจัดการกับ "เรื่องที่ต้องทำ" ทีละอย่าง ด้วย #Workflow ตามรูปในปกบทความนี้
คำถามแรกคือ "นี่เป็นสิ่งที่เราลงมือทำได้หรือไม่?" เช่น "งานเอกสารที่ต้องส่ง" เป็นสิ่งที่ลงมือทำได้ แต่ความกังวลอย่าง "กลัวว่าจะไม่ได้รับสิทธิ์จองตั๋วงานอีเวนต์" เป็นสิ่งที่เราทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นเราต้องแยกเอาสิ่งที่ลงมือทำได้ไปใส่ไว้ในช่องงานที่ต้องทำ ส่วนความกังวลต่าง ๆ ที่เราทำอะไรไม่ได้ก็แยกจดไว้อีกที่หนึ่ง
คำถามต่อมาสำหรับสิ่งที่เราจัดการหรือลงมือทำได้คือ "นี่เป็นเรื่องที่ทำสำเร็จได้ในขั้นตอนเดียวหรือมีหลายขั้นตอน และสามารถทำให้เสร็จภายใน 2 นาทีได้หรือไม่?" ถ้าได้ก็ให้เราลงมือทำทันทีหลังจากเสร็จ Workflow นี้ แต่ถ้าไม่ได้ในทันทีหรือมีหลายขั้นตอนก็ให้เราวางแพลนสำหรับแต่ละขั้นเอาไว้
เมื่อเราเรียบเรียงหัวข้อต่าง ๆ ที่เขียนออกมาได้ทั้งหมด เราจะเห็นภาพว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำในขั้นต่อไป และอะไรเป็นเรื่องที่อยากทำในอนาคต ที่เหลือก็แค่ทำตามที่เราแยกประเภทเอาไว้
GTD นั้นฟังดูเป็นเรื่องที่เหมือนง่าย แต่จะทำให้ได้ประโยชน์เต็มที่จริง ๆ นั้น เราต้องทำจนมันกลายเป็นนิสัย ให้สมองเราเคยชินกับการเคลียร์ความคิดความกังวลออกจากหัว และจัดระเบียบ "จัดสรรมัน จนสมองเราปลอดโปร่ง"
"Just Take a baby step." 👶🏻 By #มนุดปอ #manudpor
#psychology #จิตวิทยา #พัฒนาตนเอง #selfdevelopment #selfgrowth #Productivity #procastinating #prioritize #important #timemanagement | 082/2022 (มนุดปอ Ep.121)
👨🏻‍🏫อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม
📙หนังสือ
- LIFE HACKS มูฟออนชีวิต เริ่มคิดแบบเล็ก ๆ | Masatake Hori
- The Power of Output "ศิลปะของการปล่อยของ" | Shion Kabasawa
📝บทความ
✍🏻เขียน "แอคชั่น" ลงไปเพิ่มแรงใจในการทำ | มนุดปอ Ep.119
🔥Urgent vs. Important⭐ | มนุดปอ Ep.12
โฆษณา