10 พ.ย. 2022 เวลา 05:28
สนามบินพาโร ภูฏาน
ทำไมมีนักบินไม่กี่คนในโลกนี้ที่สามารถบังคับเครื่องลงที่สนามบินแห่งนี้ได้และมีเพียงสายการบิน Drukair หรือ Royal Bhutan Airlines และ Bhutan Airlines ที่ได้รับอนุญาตให้มาลง??
1
นับกันจริงๆ 20 กว่าคนเองครับที่สามารถนำเครื่องลงที่สนามบินพาโร สนามบินที่ยากและท้าทายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประมาณ 10 กว่าคนเป็นนักบินต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวภูฏานครับ และมีกัปตันหญิงชาวภูฏาน Ugyen Dema ด้วย เธอบินกับสายการบิน Drukair มาตั้งแต่ปี ค.ศ 2006
2
ความยากอยู่ที่ภูมิประเทศของภูฏานล้อมรอบไปด้วยเขาสูง บางยอดสูงเกือบ 20,000 ฟุต ตัวสนามบินเองสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 7 พันกว่าฟุต อากาศที่บาง ภูมิประเทศที่อันตราย การบินจึงมีข้อจำกัด ไม่สามารถสร้างอุปกรณ์นำร่องการลงจอดด้วยสัญญาณวิทยุ (ILS) ไม่มีเรดาร์ช่วยระบุตำแหน่งได้ สิ่งที่นักบินทำคือการใช้ประสบการณ์จดจำลักษณะภูมิประเทศ! และการบินเข้าสู่สนามบินโดยการใช้พิกัดดาวเทียม (RNP AR)โดยต้องมีการกำหนดความสูงและความเร็วของแต่ละจุดอย่างชัดเจนเพื่อความปลอดภัย
3
นั่นหมายถึงว่าถ้าวันไหนอากาศไม่ดีมีหมอกลงจัดหรือลมพัดแรง เที่ยวบินอาจจะต้องถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไป เพราะการบินเข้าร่องเขา ควรมองเห็นภูมิประเทศเพื่อความปลอดภัย
ตำแหน่งที่ตั้งของรันเวย์หรือทางวิ่ง(ที่มีความยาวเพียง 7,431) ฟุตจะถูกบังจากเนินเขาเมื่อนักบินผ่านหรืออ้อมเขาลูกนั้นแล้วจึงจะเห็นรันเวย์อยู่ทางด้านขวามือเฉียงไปประมาณ 45 องศา(รันเวย์หรือทางวิ่ง 15) พวกเขาจะต้องเลี้ยวเอียงปีกลง มีเวลาในการมองเห็นรันเวย์ก่อนล้อแตะพื้นในระยะเวลาสั้นมากครับถ้าเทียบกับสนามบินโดยทั่วไปที่จะมองเห็นรันเวย์แต่ไกล ด้วยเหตุนี้จึงอนุญาตให้ทำการบินได้ในวันที่ทัศนวิสัยหรืออากาศดีและเป็นเวลากลางวันเท่านั้น
ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความท้าทายที่ทำให้สนามบินแห่งนี้มีเอกลักษณ์และเป็นที่พูดถึงความท้าทายและความยาก ยังมีอะไรอีกบ้าง รอให้พวกเรามาหาคำตอบกันใน #FacebookLive คืนนี้ 20:45
พร้อม Simulated ภาพที่จะทำให้ท่านรู้สึกเหมือนไปบินสนามบินแห่งนี้จริงๆโดย #MSF2020 บอกเลยกัปตันหมีทดลองบินโดยใช้ MSF2020 แล้วเหงื่อออกมือเลยครับ 😅
1
แล้วเจอกันนะครับ
กัปตันหมี
Facebook: Takeoff Your Life
Cr : SimpleFlying
โฆษณา