15 พ.ย. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤติการณ์เงินปี 2011 ในเกาหลีใต้ อาจจะกลับมาอีกครั้ง ?
1
ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ได้เพิ่มแรงกดดันให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์
เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ประเทศ ขณะนี้ เกาหลีใต้กำลังเข้าร่วมเป็นหนึ่งประเทศที่มีปัญหาเรื่องตลาดตราสารหนี้
2
โดยบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ และ ผู้ควบคุมตลาดการเงินของเกาหลีใต้ กำลังเตรียมความพร้อมสำหรับตลาดที่กำลังเข้าสูาช่วงขาลงในอัตราที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรตราสารหนี้ชนิด 5 ปี เพิ่มขึ้น 157 basis points ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนตุลาคม
ปรากฏการณ์ที่น่ากังวลอย่างหนึ่งคือผลตอบแทนจากตราสารการเงินระยะสั้นในท้องถิ่น ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ใช้เพื่อระดมทุนสำหรับการชำระเงินระยะสั้น ได้เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี
เมื่อผู้พัฒนาสวนสนุก Legoland Korea ในจังหวัด Gangwon ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโซลได้ผิดนัดชำระหนี้สำหรับเงินกู้ประเภทตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น ในปลายเดือนกันยายน
1
ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมในตลาดเงินพุ่งสูงขึ้นอย่างกะทันหันในทันที
และได้มีการประกาศเน้นย้ำถึงความกังวลว่าแม้แต่เจ้าหนี้ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลก็อาจมีความเสี่ยงในยุคของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเช่นกัน
รัฐบาลประกาศหนึ่งในแพ็คเกจการสนับสนุนที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการระบาดของ Covid-19
โดยประกาศเงินอุดหนุน 50 ล้านล้านวอน (36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
เพื่อช่วยเหลือตลาดสินเชื่อ ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารกล่าวว่าบริษัทการเงินจะเริ่มจ่ายเงินจำนวน 3 ล้านล้านวอนเข้ากองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดสินเชื่อ
2
การดำเนินการที่เร่งรีบนี้ไปช่วยลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรลงมา 32 basis points
ซึ่งถือเป็นการลดลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราผลตอบแทนลดลงมาอยู่ที่ 5.41%
อย่างไรก็ตาม แผนช่วยเหลือมูลค่า 50 ล้านล้านวอนนี้ ยังคงไม่อาจลดความกังวลในระยะยาวได้
ซึ่งเกาหลีใต้ยังได้ดำเนินการเพื่อขัดขวางผู้ขายชอร์ตในตลาดหุ้น ต่อสู้กับกระแสการเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีกด้วย แต่การกระทำทั้งหมดนี้ก็ยังดูไม่เป็นผลสักเท่าไร
1
การดำเนินการที่เร่งรีบในเกาหลีในครั้งนี้ ยังได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เพราะเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นนั้นยังคงอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 และส่วนต่างของพันธบัตรบริษัทยังคงสูงขึ้น
ขณะนี้ตลาดอย่างเกาหลียังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากกระแสไหลออกกดดันให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเข้าสู่วงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงที่สุด
ในขณะที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2010 และค่าเงินวอนก็ลดลง 13%
คุณ Yun Won-tae นักวิเคราะห์สินเชื่อของ SK Securities กล่าวว่า ผลกระทบของการอัดฉีดสภาพคล่องจากหน่วยงานด้านการเงินนั้นจำกัด ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพคล่อง ความเสี่ยงจากการบิดพลิ้วของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และความเสี่ยงสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ซึ่งก็เป็นผลมาจากการใช้นโยบายแบบเข้มงวดอย่างรวดเร็ว
1
อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น เพิ่มขึ้น 171 basis points ในไตรมาสนี้
เป็น 4.98% ในวันอังคาร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 ปีก็เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เช่นกัน
แม้ว่าจะตกลงจากจุดสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมก็ตาม
หลังจากการประชุมกับคณะกรรมการบริการทางการเงิน ธนาคารต่างๆ ประกาศว่าพวกเขาจะมีส่วนทำให้ตลาดเงินมีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารแห่งประเทศเกาหลีจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานอีก 250 basis points จะยังคงเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับตลาดสินเชื่อต่อไป
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา