18 พ.ย. 2022 เวลา 01:50 • ดนตรี เพลง
1,000 ล้านคนทั่วโลก กำลังเสี่ยงหูหนวก!!!
33
อะไรที่เกินความเหมาะสมล้วนส่งผลเสีย โดยถ้าเรื่องนั้นใกล้ตัวและถึงขนาดที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องออกมาเตือนก็ต้องยิ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ‘การฟัง’
7
WHO เผยผลการศึกษาที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์เซาท์ คาโรไลน่า ของสหรัฐ ผ่านการเก็บข้อมูลนานกว่า 20 ปีที่ว่า ประชากรโลกวัย 12-34 ปี ราว 670,000-1,350 ล้านคนทั่วโลก เสี่ยงหูหนวกหรือประสาทสัมผัสทางการได้ยินเสื่อมลงไป เพราะใช้หูฟังในระดับเสียงดังเกินและนานเกินไป
ผลการศึกษานี้ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 19,000 คน ระบุว่า 24% ของประชากรในกลุ่มช่วงวัยดังกล่าว มีพฤติกรรมการฟังที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้หูฟัง และพบว่า 48% มักไปอยู่ในสถานที่เสียงดังในระดับที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไนต์คลับผับบาร์หรือคอนเสิร์ต
ลอเรน ดิลลาร์ด นักโสตสัมผัสของมหาวิทยาลัยเซาท์ คาโรไลน่า ระบุว่า ทั้งที่เรื่องนี้สามารถป้องกันได้ผ่านการตั้งเตือนถึงระดับการฟังที่อันตรายของหูฟังเอาไว้ หรือใช้โหมดตัดเสียงรบกวนหรือที่อุดหู แต่ผู้คนก็ยังชอบฟังเสียงเพลงดังๆ
และการฟังไปใกล้ลำโพงจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการดูคอนเสิร์ต แต่ถ้าบ่อยครั้งเข้าก็จะไม่ใช่เรื่องดี เพราะจะทำให้ความสามารถด้านการฟังเสื่อมลงไป
ลอเรน ดิลลาร์ด ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามแนวทางการฟังอย่างปลอดภัย WHO และเฝ้าตรวจตราว่าบรรดาสถานบันเทิงกับที่จัดคอนเสิร์ตไม่ได้เปิดเสียงดังเกินไป
ส่วนผู้ผลิตหูฟังก็ควรทำฟีเจอร์เตือนผู้ใช้ และพ่อแม่ผู้ปกครองก็ควรมั่นดูแลบุตรหลายในการใช้หูฟังด้วย
ขณะที่ผู้ใช้เองก็ควรลดระดับเสียงลงเมื่อ Gadget ที่ใช้อยู่ ขึ้นข้อความเตือนว่าระดับเสียงที่ใช้อยู่นั้นดังเกินไป
ด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ ระบุว่าขอบเขตการฟังที่ปลอดภัยของหูฟังในไฟล์ MP3 คือไม่ควรเกินกว่า 105 เดซิเบล ส่วนระดับเสียงตามเวทีคอนเสิร์ตที่ปลอดภัยก็ควรอยู่ที่ระหว่าง 104-112 เดซิเบล แต่ทั้งหมดก็ไม่ควรบ่อยและนานเกินไป
ผลการศึกษาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจเพื่อให้ประสาทในการฟังยังคงใช้งานได้ดีต่อไปนานๆ และเราคงไม่อยากเป็น 1 ใน 5 ของประชากรที่หูหนวกในปัจจุบัน
โดยทั้งหมดสามารถทำได้ทันทีผ่านการเบาเสียงหูฟังของ Gadget คู่ใจ ไม่ว่าเป็น ของโน้ตบุ๊กระหว่างการทำงานแบบไฮบริดในปัจจุบัน หรือหูฟังของ Smartphone ระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน
ผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังขนาดมากกว่า 90 เดเซิเบลขึ้นไปเป็นเวลานานๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในความถี่สูง ๆ (เสียงสูง) มักเกิดอาการหูตึงได้ เนื่องจากเซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายอย่างถาวร และไม่มีทาง แก้ไขให้กลับคืนดีได้
ผู้ป่วยมักจะเริ่มจากการได้ยินเสียงสูง (เช่น เสียง กระดิ่ง)สู้เสียงต่ำ (เช่น เสียงเคาะประตู)ไม่ได้ ถ้ายังคงทำงาน อยู่ในที่ที่เสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนถึงขั้นหูหนวกได้ แต่ถ้าเลิกทำงานในที่ที่ เสียงดัง ๆอาการหูตึงจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เอง
การป้องกัน หูตึงจากอาชีพ
ผู้ที่มีอาชีพที่เสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวควรหาทางป้องกัน ดังนี้
สวมเครื่องป้องกันหูขณะที่อยู่ในที่ทำงาน
ควรให้แพทย์ทำการทดสอบการได้ยินเป็นระยะ
หากเริ่มมีอาการหูตึง ควรเลิกทำงานในสถานที่เดิม และย้ายไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดัง
การรักษา หูตึงจากอาชีพ
ในรายที่มีอาการหูตึงอย่างถาวรอาจ ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
MarketeerOnline
โฆษณา