Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GEO-HIS | ภูมิประวัติศาสตร์
•
ติดตาม
25 ก.พ. 2023 เวลา 13:10 • ประวัติศาสตร์
" พลับพลาไชย "
จากน้ำผึ้งหยดเดียว? สู่จลาจลใหญ่กลางกรุง
ภายหลังการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของพลังมวลชน 14 ตุลาคม ทำให้รัฐบาลทหารยอมลาออก พร้อมทั้งมีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น
ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นสมัยที่เรียกว่า "ช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน"
ช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน มีการเรียกร้องสิทธิของตัวแทนมวลชนต่างๆ เช่น ชาวไร่ ชาวนา กรรมกร นิสิต นักศึกษา นำไปสู่การเดินขบวนและการนัดหยุดงานหลายครั้ง (ภาพจาก บันทึก 6 ตุลา)
ประชาชนมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง มีการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มตัวแทนมวลชนต่างๆ
ความหวาดระแวงของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารยังคงมีอยู่มากในสังคม
ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ย่านพลับพลาไชย ตำรวจสายตรวจ 2 นายได้ผ่านมาพบกับรถแท๊กซี่จอดในที่ห้ามจอด ตำรวจจึงเข้าไปสั่งให้เคลื่อนรถ
นายพูน ล่ำลือประเสริฐ คนขับแท๊กซี่คันดังกล่าวมีท่าทีไม่พอใจ พร้อมล็อกประตูรถ ไม่ยอมเจรจาเพราะอารมณ์ไม่ดี เนื่องจากถูกใบสั่งกรณีจอดในที่ห้ามจอดไปก่อนหน้านี้
ตำรวจจึงล้อมรถไม่ให้ไปไหน นายพูนจึงยอมออกมาจากรถและถูกจับกุม
นายพูนมีท่าทีขัดขืนและตะโกนว่า "ตำรวจทำร้ายประชาชน" ประชาชนบริเวณนั้นจึงมามุงดูและตามไปจนถึงสน. พลับพลาไชย
ต่อมาบริเวณหน้าสน. มีประชาชนล้อมเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงราว 2 พันคน
ข่าวลือที่ว่าตำรวจทำร้ายประชาชน ทำให้มีการขว้างปาสิ่งของเข้าไปในสน. ปิดถนน ทำลายข้าวของ เกิดไฟไหม้ ไฟดับ และมีผู้ชุมนุมพยายามบุกเข้าสน.
รถบัสกำลังถูกไฟไหม้
แม้ทางตำรวจจะออกมาชี้แจงแต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้ตำรวจยิงต้านผู้ที่พยายามบุกเข้าสน. จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 แม้เหตุการณ์จะเริ่มสงบลงในช่วงเช้า แต่เมื่อถึงช่วงเย็นการชุมนุมก็กลับมาอีกครั้งและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
มีกลุ่มที่พยายามยึดรถบรรทุกและรถพยาบาล เพื่อนำมาใช้ปิดถนน มีการใช้ระเบิดขวด เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตลอดทั้งคืน
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วกรุงเทพฯ มีการนำทหาร ตำรวจพลร่ม และตชด. เข้ามาควบคุมสถานการณ์ร่วมกับตำรวจ
ถึงกระนั้นก็ยังมีการปะทะอย่างรุนแรงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่เป็นระยะ มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 สถานการณ์เริ่มกลับสู่สภาวะปกติ แต่มีผู้ก่อเหตุอยู่เล็กน้อยประปราย
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 เหตุการณ์กลับสู่สถานการณ์ปกติอย่างสมบูรณ์ ร้านค้าย่านพลับพลาไชยกลับมาเปิดอีกครั้งตามปกติ
พ่อค้าขายขนมรังผึ้ง บริเวณถนนพลับพลาไชย พ.ศ. 2518 (ภาพของ Yves Guillemot)
ส่วนนายพูน ล่ำลือประเสริฐ ที่หลบหนีไปก่อนหน้านี้ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจ และรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 27 คน บาดเจ็บราว 120 คน (ตัวเลขทางการ)
นับว่าเป็นเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างรัฐกับผู้ชุมนุมที่รุนแรงที่สุดเหตุการณ์หนึ่งของไทย
โดยคำกล่าวของฝ่ายรัฐต่อกลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึงผู้ที่เสียชีวิตสรุปไปทางที่ว่า คนกลุ่มนี้เป็นพวกแก๊งอันธพาลย่านไชน่าทาวน์ คือเป็นอาชญากร
แม้ผู้เสียชีวิตบางคนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมก็ตาม เพียงแต่ถูกลูกหลงจนเสียชีวิต
เหตุการณ์จลาจลที่พลับพลาไชยแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของอำนาจรัฐในการใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายประชาชน นอกจากนี้หนังสือพิมพ์หลายฉบับยังเขียนสนับสนุนการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย
1
เหตุการณ์เผาหมู่บ้านนาทราย จังหวัดบึงกาฬ 24 มกราคม พ.ศ. 2517 เป็นปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐแบบตาต่อตาฟันต่อฟันเพื่อปราบคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้มีชาวบ้านเสียชีวิต 4 ราย
ประกอบกับเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ของรัฐในช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่จะเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในเวลาต่อมา
การจลาจลที่พลับพลาไชยจึงไม่ใช่เหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียวที่เกิดขึ้นโดดๆ แต่เป็นหนึ่งในความรุนแรงต่างๆ ในสมัยนี้ที่นำไปสู่เหตุการณ์ที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อการเมืองกว่ามากในเวลาต่อมา
1
อ้างอิง :
https://www.researchgate.net/profile/Sittithep-Eaksittipong/publication/328872952_claclphlabphlachiybnchxngwangkhwamthrngcacinsyamsuksa/links/5be7f220a6fdcc3a8dcddebb/claclphlabphlachiybnchxngwangkhwamthrngcacinsyamsuksa.pdf
https://www.silpa-mag.com/history/article_48188
https://thematter.co/thinkers/before-thammasat-university-massacre/125100
https://voicetv.co.th/read/qkVyzCbt7
1
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ประวัติศาสตร์ไทย
1 บันทึก
7
2
1
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย