21 พ.ย. 2022 เวลา 06:54 • สุขภาพ
สาร เอ็มเบลิน (embelin)ในพิลังกาสา (Ardisia elliptica)
ยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ HCT116
Embelin เป็นสารองค์ประกอบหน่ึงใน พิลังกาสา(Ardisia elliptica Thunb.) จากรายงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ การศึกษาเบื้องต้นพบว่า embelin มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย (Chitra et al., 2003) มีฤทธิ์ตเานอักเสบท่ีดี (Chitra et al., 1994) มีฤทธ์ิรักษาบาดแผล (Swamy et al., 2007) ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Nikolovska-Coleska et al., 2004; Chen et al., 2006)
ทั้งยังแสดงฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมาของเต้านมมนุษย์ SKBR3 อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย ทั้งยังไม่พบความเป็นพิษอีกด้วย
มะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คือการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการตายอันดับสี่ในประเทศอุตสาหกรรม และอันดับสามของมะเร็งทั่วโลก
ในการสำรวจสารต้านมะเร็ง เพื่อลดความเป็นพิษจากเคมี พืชสมุนไพร จึงได้รับความสนใจในฐานะการรักษามะเร็งทางเลือก เพราะสารไฟโตเคมิคอลหลายชนิดจากพืชสมุนไพร ที่ได้รับการระบุว่ามีผลต่อการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
พิลังกาสา (Ardisia elliptica Thunb) เป็นพืชสมุนไพรไทยที่อยู่ในวงศ์ Myrsinaceae เป็นไม้พุ่มแตกกิ่งก้านเล็ก ใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน ผลมีลักษณะกลมเล็ก เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงเข้มเมื่อแก่จัด ผลรับประทานได้มีรสฝาดเล็กน้อย
 
สรรพคุณทางยาทั่วไป ของพิลังกาสา ผล มีรสฝาด ร้อน สุขุม ใช้แก้ไข้ แก้ทอ้งเสีย ลมพิษ ธาตุพิการ ใบรสเฝื่อนร้อน แก้ตับ ปอดพิการ แก้ลม ดอกแก้พยาธิ รากใช้เป็นยาปิดแผล ถอนพิษงู
ถึงแม้ว่าผลการศึกษาวิจัย สารพฤกษเคมีที่มีอยู่ใน พิลังกาสา จะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่แนวทางการรักษาผู้ป่วย ควรใช้การแพทย์ทางเลือก เป็นการเสริม และใช้ร่วมควบคู่กับการแพทย์หลัก ก็จะยิ่งทำให้การรักษาดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ: การใช้พืชสมุนไพรเพื่อบำบัดรักษาอาการ ไม่ควรใช้ด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
::หมอปู กันตพงศ์:
#การแพทย์ทางเลือก
อ้างอิง
-Basri D.F., Alamin Z.A., Chan K.M. Assessment of cytotoxicity and genotoxicity of stem bark extracts from Canarium odontophyllum Miq. (dabai) against HCT 116 human colorectal cancer cell line. BMC Complement. Altern. Med. 2016;16:36. doi: 10.1186/s12906-016-1015-2. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
-Cancer Genome Atlas Network Comprehensive molecular characterization of human colon and rectal cancer. Nature. 2012;487:330–337. doi: 10.1038/nature11252. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
-Tanzadehpanah H., Mahaki H., Samadi P., Karimi J., Moghadam N.H.,
Salehzadeh S., Dastan D., Saidijam M. Anticancer activity, calf thymus DNA and human serum albumin binding properties of Farnesiferol C from Ferula pseudalliacea. J. Biomol. Struct. Dyn. 2019;37:2789–2800. doi: 10.1080/07391102.2018.1497543. [PubMed] [CrossRef]
-Gao Y., Su Y., Qu L., Xu S., Meng L., Cai S.Q., Shou C. Mitochondrial apoptosis contributes to the anti-cancer effect of Smilax glabra Roxb. Toxicol. Lett. 2011;207:112–120. doi: 10.1016/j.toxlet.2011.08.024. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
-Chikara S., Nagaprashantha L.D., Singhal J., Horne D., Awasthi S., Singhal S.S. Oxidative stress and dietary phytochemicals: Role in cancer chemoprevention and treatment. Cancer Lett. 2018;413:122–134. doi: 10.1016/j.canlet.2017.11.002. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
-Kapinova A., Kubatka P., Golubnitschaja O., Kello M., Zubor P., Solar P., Pec M. Dietary phytochemicals in breast cancer research: Anticancer effects and potential utility for effective chemoprevention. Environ. Health Prev. Med. 2018;23:36. doi: 10.1186/s12199-018-0724-1. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
-Lim T.K. Edible Medicinal and Non-Medicinal Plants, volume 4, Fruits. Springer; Dordrecht, The Netherlands: Heidelberg, Germany: London, UK: 2012. pp. 72–76. [Google Scholar]
-Alias N.Z., Kamisah N., Ishak M. Chemical Constituents and Bioactivity Studies of Ardisia elliptica. Open Conf. Proc. J. 2014;5:1–4. doi: 10.2174/2210289201405020001. [CrossRef] [Google Scholar]
-Ching J., Chua T.K., Chin L.C., Lau A.J., Pang Y.K., Jaya J.M., Tan C.H., Koh H.L. Beta-amyrin from Ardisia elliptica Thunb. is more potent than aspirin in inhibiting collagen-induced platelet aggregation. Indian J. Exp. Biol. 2010;48:275–279. [PubMed] [Google Scholar]
-Dey S.K., Hira A., Howlader M.S., Ahmed A., Hossain H., Jahan I.A. Antioxidant and antidiarrheal activities of ethanol extract of Ardisia elliptica fruits. Pharm. Biol. 2014;52:213–220. doi: 10.3109/13880209.2013.826245. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
-Newell A.M., Yousef G.G., Lila M.A., Ramirez-Mares M.V., de Mejia E.G. Comparative in vitro bioactivities of tea extracts from six species of Ardisia and their effect on growth inhibition of HepG2 cells. J. Ethnopharmacol. 2010;130:536–544. doi: 10.1016/j.jep.2010.05.051. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
โฆษณา