มาทำงานสาย บริษัทฯ หักค่าจ้างได้จริงหรอ?
หักค่าจ้างจากการมาทำงานสาย ซึ่งก็น่ามีเพื่อนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนหรือเพื่อนๆ HR น่าจะเคยได้ยินหรือคุ้นเคยผ่านมาบ้าง โดยบางบริษัทก็มีกฎออกมาอย่างเช่น หากมาทำงานสาย 15 นาที จะหักค่าจ้างครึ่งงวัน หรือบางบริษัทก็ให้หักนาทีที่มาทำงานสายโดยหักตามจริง ซึ่งท่านก็คงมีคำถามที่อยู่ในใจว่า “มาสายเนี่ย มันสามารถหักเงินเดือนได้จริงหรือ” ในวันนี้ I AM HR มาจะไขประเด็นเหล่านี้ให้กระจ่างกัน
หากเราหยิบยกมาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่หักเพื่อ... แต่ก็ไม่มีระบุถึงเรื่องหักค่าจ้างจากการมาทำงานสาย ซึ่งก็ทำให้เห็นว่านายจ้างหรือบริษัทเองก็ไม่สามารถนำที่จะหักค่าจ้างหรือเงินจากการมาทำงานสายได้เลย
แต่ I AM HR ก็ได้หาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มีบางเอกสารระบุที่สามารถให้ นายจ้างหรือบริษัท จ่ายค่าจ้างเท่ากับลูกจ้างมาทำงานจริง ซึ่งมีเอกสารจากแหล่งที่มาของหนังสือกองนิติการ ที่ รง.0504/002110 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ประเด็นหารือเรื่อง การหักค้าจ้างกรณีพนักงานมาทำงานสาย จากความคิดเห็นสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ได้ยกตัวอย่างไว้ดังนี้
นายชัย ได้รับค่าจ้างวันละ 191 บาท มาทำงานสาย 6 นาที บริษัทจ่ายค่าจ้างให้นายชัยเท่ากับ 7 ชั่วโมง 54 นาที เป็นเงิน 188.61 บาท จังหวัดสมุทรสาครเห็นว่า กรณีดังกล่าวบริษัทฯ ไม่ได้หักค่าจ้างตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 แต่เป็นการจ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างต่างตอบแทนเพราะเมื่อพนักงานมาทำงานสาย บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างเท่ากับลูกจ้างมาทำงานจริง ตามหลักกฎหมายสัญญาต่างตอบแทน โดยไม่ต้องจ่ายตามส่วนของระยะเวลาที่ลูกจ้างมาสายหรือขาดงานก็ได้ จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 76 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
โดยสรุปให้เราใช้หลัก “จ่ายเท่ากับลูกจ้างมาทำงานจริง” หรือ “No work No pay” คือมาทำงานได้กี่ชั่งโมงกี่นาที นายจ้างหรือบริษัทก็จ่ายเท่าที่ทำงาน หากพนักงานมาทำงานสาย 10 นาที นายจ้างหรือบริษัทก็สามารถที่จะไม่จ่ายค่าจ้าง 10 นาทีนั้นได้ แต่ในขั้นตอนปฏิบัตินั้นไม่ใช่ว่านายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างของจำนวนที่สาย แต่หากจะต้องให้พนักงานยอมรับว่า มาทำงานสายจริงๆ เช่น ก่อนที่จะดำเนินการจ่ายเงินเดือน ก็สรุปจำนวนที่สายไม่รับค่าจ้างให้พนักงานรับทราบและลงนามยินยอมนั้น เพื่อให้เกิดการลดข้อพิพากที่ยืดยาวในอนาคต
ถึงอย่างไรหากนายจ้างหรือบริษัทจะดำเนินการนโยบายสายไม่รับค่าจ้างรวมถึงบทลงโทษตามข้อบังคับบริษัท ก็ควรทำเป็นประกาศให้ชัดเจน มีการสื่อสารที่ดีให้พนักงานรับทราบโดยทั่วกัน
ความเป็นธรรมเกิดขึ้นง่ายนิดเดียว เพียงแค่ทำให้ถูกต้อง
ธนากร งามเจริญสุวรรณ(อาจารย์แบงค์)
บริษัท ไอแอมเอชอาร์คอนซัลแทนส์ จำกัด
✅ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ จัดหลักสูตรฝึกอบรม วางระบบงาน HR
📞02 430 6596
2แชร์
260รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
    • กำลังนิยมในบล็อกดิต
      ทำไม หุ้นกู้เครดิตสวิส 6 แสนล้าน กลายเป็น 0 ในพริบตา ตามปกติแล้วถ้าเราลงทุนในหุ้นกู้ เราจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
      " สิงห์ เอสเตท " จ่อเปิดเฟล็กชิฟใหม่ บ้านหลังละ 550 ล้าน แพงสุดในไทย "สิงห์ เอสเตท" เขย่าวงการอสังหาฯไทย จ่อเปิดขาย โครงการเฟล็กชิฟ บ้านระดับอัตราลักชัวรี บนทำเลทอง แห่งที่ 2 ราคาเริ่ม 550 ล้านบาทต่อหลัง โค่นแชมป์ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส ของตัวเอง ที่เคยเปิดขายในราคามากกว่า 250 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีก่อนหน้า
      ผ่าขุมทรัพย์ "เจ เจตริน" นักร้องดังยุค Y2K ผ่าขุมทรัพย์ "เจ เจตริน วรรธนะสิน" นักร้องดังมากความสามารถ เเถมเป็นหนุ่มฮอต ขึ้นแท่นขวัญใจแฟนคลับใน ยุค Y2K หรือ ยุค 90
      Tiktok ปลุกกระเเสชาวสหรัฐ “กลับมาใช้เงินสด” เพื่อรัดเข็มขัด ในยุคที่ข้าวของราคาแพงขึ้น เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้หลายคนต้องหาวิธี ประหยัดรายจ่าย ล่าสุด มีการแชร์คลิปใน Tiktok ที่ปลุกกระเเสให้ชาวสหรัฐ “กลับมาใช้เงินสด” เพราะ “ช่วยทำให้พวกเขาประหยัดรายจ่ายได้”
      ดูทั้งหมด