29 พ.ย. 2022 เวลา 11:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
5 เหตุผลที่ควรลงทุน “เวียดนาม” ในตอนนี้
เศรษฐกิจเวียดนามกำลังน่าจับตามอง เพราะล่าสุดข้อมูลจากสำนักข่าวบลูมเบิร์ก เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ระบุว่า ตัวเลข GDP เวียดนามในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ได้ขยายตัวมากถึง 13.67% นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา GDP เวียดนาม หดตัวอยู่ที่ 6.02% แต่ทั้งนี้ก็ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ที่ 14.35%
1
เหตุผลอะไรบ้าง ? ที่ทำให้เวียดนามสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในรอบทศวรรษ วันนี้ KTAM จะมาเล่าถึงปัจจัยสำคัญให้ฟัง
1) จำนวนแรงงานที่สูง และมีคุณภาพ
เวียดนามเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยประชากรวัยแรงงานในสัดส่วนที่สูง และเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ โดย ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ข้อมูลจาก World Bank ระบุไว้ว่า ในปี 2564 เวียดนามมีกำลังแรงงานอยู่ที่ 56,151,046 คน ในขณะที่ประชากรทั้งประเทศมีอยู่ 98,168,829 คน คิดเป็นสัดส่วนกว่า 57.2% ของประชากรทั้งหมด
2) ฐานการผลิตหน้าใหม่ของแบรนด์ชั้นนำระดับโลก
ล่าสุดเวียดนามเรียกได้ว่าอาจขึ้นแท่นเป็น “เสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย” เลยก็ว่าได้ เพราะเวียดนามมีพร้อมทั้งด้านแรงงาน วัตถุดิบ และภูมิประเทศ อีกทั้งพบว่าเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีบริษัทแบรนด์ชั้นนำระดับโลกหลายแบรนด์ ที่ตัดสินใจมาลงหลักปักฐานการผลิตที่ประเทศเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็น Apple, NIKE, Adidas, LG, Samsung, Panasonic
และล่าสุดบริษัทขนมขบเคี้ยวชื่อดังที่ผลิต เบนโตะ ขนมน่องไก่โลตัส และเบเกอรีเฮาส์ อย่างบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ก็ได้ตั้งฐานการผลิตที่ประเทศเวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้วอีกด้วย ซึ่งก็คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตได้เพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต
1
3) ภาคการส่งออกสินค้าดันเศรษฐกิจโต
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น GDP เวียดนามล่าสุดในไตรมาสที่ 3 เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ ที่ดันให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้สูง ก็มาจากแรงหนุนจากการผลิต และการส่งออกที่แข็งแกร่ง
ซึ่งหากจะให้ระบุเป็นตัวเลข จากข้อมูลสำนักข่าวรอยเตอร์ส เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 พบว่า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 เพิ่มขึ้น 17.3% จากปีก่อนหน้า ซึ่งมีมูลค่าถึง 282.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 9.6% ตามข้อมูลของ สํานักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office : GSO) ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงเป็นอย่างมาก
4) เวียดนามเปิดประเทศ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว
ข้อมูลจาก สถานีวิทยุกระจายเสียงเวียดนาม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ระบุว่า เวียดนามได้มีการผ่อนปรนมาตรการเดินทางเข้าประเทศ และได้ทำการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาที่ประเทศเวียดนามได้เป็นที่เรียบร้อย
และยังกล่าวอีกว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเวียดนาม อยู่ที่เกือบ 91,000 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90 โดยประมาณ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจสูงก็คือ เมืองหลวงอย่างกรุงฮานอย และเมืองอื่น ๆ เช่น ฮาลอง, เว้, ดานัง, ฮอยอัน, ดาลัด, หวุงเต่า, นครโฮจิมินห์
นอกจากนี้เวียดนามก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความแปลกใหม่ และน่าสนใจ ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ไม่น้อย อย่างเช่น สะพานมือยักษ์ บานาฮิลล์ ที่ได้รับฉายานามว่าเป็นเมืองฝรั่งเศสแห่งเวียดนามนั่นเอง
ในส่วนไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 จากข้อมูล vietnaminsider เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2565 ระบุว่า
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนในประเทศเวียดนามในไตรมาสที่ 2 มีจำนวนเกือบ 511,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมากถึง 12.7 เท่า
5) ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศ
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของเวียดนามที่ได้เปรียบกว่าประเทศอื่น ๆ ก็คือ “ตำแหน่งที่ตั้ง” ซึ่งเอื้อต่อการลงทุน เนื่องจากเวียดนามมีพรมแดนที่ติดกับฝั่งจีน ลาว และกัมพูชา อีกทั้งยังมีชายฝั่งที่ทอดยาวไปถึงทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือของหลายสาย
ส่งผลให้เวียดนามสามารถทำการค้าระหว่างประเทศได้สะดวก และทำให้หลายบริษัทระดับโลก เลือกที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิต พร้อมทั้งกระจายสินค้าจากเวียดนามนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หากย้อนดูเศรษฐกิจของเวียดนามเมื่อหลายสิบปีก่อน จะพบว่า เวียดนามเป็นประเทศที่แทบไม่ได้มีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนมากนัก ทั้งเศรษฐกิจภาพรวม ความเป็นอยู่ของผู้คนในเวียดนาม แต่ปัจจุบันต้องบอกว่า ณ เวลานี้ ไม่อาจละสายตาจากเวียดนามได้อีกต่อไปแล้ว
จากทั้ง 5 ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเหตุและผลที่ต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่มีแรงงานจำนวนมากที่มีคุณภาพ รวมถึงทำเลที่ตั้งที่สามารถกระจายสินค้าได้อย่างสะดวก จึงส่งผลให้บริษัทต่างประเทศเลือกที่จะมาตั้งฐานการผลิตที่ประเทศเวียดนาม
KTAM เชื่อว่าทั้งหมดนี้ก็น่าจะทำให้หลายคนเห็นแล้วว่า อนาคตของเวียดนามจะมีโอกาสเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าหากใครมองเห็นโอกาสในการลงทุน กองทุน KT-VIETNAM คือ อีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุน
โดยกองทุน KT-VIETNAM
มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศเวียดนาม รวมไปถึงบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหลัก หรือมีรายได้หลักจากการดำเนินธุรกิจในประเทศเวียดนาม หรือตราสารทุนอื่นใดที่ดําเนินธุรกิจเกี่ยวข้องที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากประเทศเวียดนาม
สำหรับการลงทุนกับประเทศที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาวนั้น KTAM แนะนำว่า การลงทุนระยะยาวจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้งตลาดยังมีความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ดังนั้น การลงทุนระยะยาวจึงเป็นกลยุทธ์ที่จะสามารถลดความเสี่ยงในส่วนนี้ลงได้อีกด้วย ทาง KTAM จึงได้เปิดเสนอขายกองทุนแก่ผู้ที่สนใจลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ใน 3 ชนิดหน่วยลงทุนด้วยกัน ได้แก่ ชนิดสะสมมูลค่า ชนิดเพื่อการออม และชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ
สำหรับท่านใดที่สนใจ หรือต้องการ Fund Fact Sheet สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
KT-VIETNAM-SSF : https://bit.ly/3OfkClJ
KT-VIETNAM-RMF : https://bit.ly/3XiIVmQ
📱 ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 𝟎𝟐-𝟔𝟖𝟔-𝟔𝟏𝟎𝟎 กด 𝟗
1
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้
กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม /กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา