30 พ.ย. 2022 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
มุ่งสู่นวัตกรรมด้วย 3 ระดับของ Psychological Safety
Psychological Safety เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจที่สุดของทางเพจ A Cup of Culture เรา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรกำลังขาดหาย และเป็นหนึ่งในตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของธุรกิจ⁣⁣
โดยหากใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า Psychological Safety คำนี้ถูกนิยามโดยศาสตราจารย์ของ Harvard Business School ที่ชื่อว่า Amy Edmonson ที่นิยาม Psychological Safety ว่าเป็น “การที่พนักงานเชื่อว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษ หรือถูกต่อว่าถ้าเขานำเสนอไอเดียออกไป ตั้งคำถาม ตั้งข้อสงสัย หรือทำผิดพลาด”⁣⁣
⁣⁣
ซึ่ง Psychological Safety นี้ไม่ใช่ความไว้วางใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนว่าไว้ใจกันมากแค่ไหน แต่ Psychological Safety คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสภาพแวดล้อมของทีมที่เปิดรับกันและกัน นอกจากนั้นแล้ว Psychological Safety ก็ไม่ใช่ความใจดีหรือเป็นมิตร แต่มันคือการให้เกียรติความคิดเห็น และความผิดพลาดของคนอื่น โดยตัว Psychological Safety นี่มันช่วยให้บรรยากาศการทำงานของทีมเหมาะแก่การให้ Feedback กันได้อย่างตรงไปตรงมา เอื้อให้สมาชิกยอมรับความผิดพลาด และเรียนรู้จากกันและกัน⁣⁣
⁣⁣
สำหรับใครที่สนใจอยากจะรู้จักกับ Psychological Safety ให้มากขึ้นสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ และในวันนี้ที่เราจะมาพูดถึงหัวข้อของ Psychological Safety กันอีกครั้งหนึ่งนั่นเป็นเพราะว่าเวลาที่เราพูดถึงเรื่องนี้เราจะมีภาพของการที่มันเป็นเรื่องที่ Yes or No คือเรามักจะมองในมุมที่ว่าที่ทำงานเรามี หรือไม่มี Psychological Safety
โดยเมื่อเรามองมันเป็นในมิติเดียวแบบนี้มันทำให้การพัฒนาก็กลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น และก็ยังขัดกับความเป็นจริงด้วยเพราะไม่ว่าเราจะรู้สึกถึงสิ่งที่องค์กรเราขาดมากแค่ไหน แต่ในความเป็นจริงแล้วน้อยองค์กรนักที่จะ Psychological Safety เป็นศูนย์โดยสิ้นเชิง⁣⁣
⁣⁣
ดังนั้น เมื่อเราจึงต้องมองมันให้เป็นระดับ ๆ ไป ว่าตอนนี้องค์กรเรามี Psychological Safety มากหรือน้อยแค่ไหน และคำว่ามากน้อยเหล่านี้มันแปลว่าอะไรกันแน่ นั่นทำให้เรามาพบกับเครื่องมือหนึ่งที่เหมาะกับปัญหานี้มาก ๆ ซึ่งก็คือโมเดลที่ออกแบบโดย Gustavo Razzetti ที่เขาแบ่ง Psychological Safety ออกมาเป็น 3 ระดับ ที่เขาเรียกมันว่า Psychological Safety Ladder
โดยเขาตั้งต้นจากการที่เขามองว่า Psychological Safety นี่เป็นเหมือนขั้นบันได เพราะองค์กรควรที่จะตั้งใจในการพยายามก้าวขึ้นไปยังระดับที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันตัวแปรนี้คือสิ่งที่พร้อมจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาคือขึ้นได้ก็ลงได้เช่นเดียวกันกับการพยายามพัฒนามาขึ้นมา พฤติกรรมแย่ ๆ ของพนักงานที่ถูกปล่อยปะละเลยก็สามารถทำให้องค์กรร่วงจากขั้นบันไดนี้ได้เช่นกัน⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
โดยบันไดของคุณ Gustavo Razzetti ทั้ง 3 ขั้นได้แก่ 1. Belonging 2. Diversity of Thought และ 3. Innovation โดยแต่ละขั้นจะมีรายละเอียดดังนี้⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔴 1. Belonging (การเป็นส่วนหนึ่ง)⁣⁣
⁣⁣
ความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของทีมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นทีมที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ มันคือความรู้สึกของสมาชิกทีมที่รู้สึกปลอดภัยที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานได้ และกล้าที่จะเป็นตัวเองได้เต็มศักยภาพกับที่นี่ โดยหากมีขั้นนี้แล้วจะทำให้พนักงานกล้าที่จะออกความคิดเห็นในการประชุม มีความกระตือรือร้นกับการสนทนา และการวางแผน องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้การเป็นส่วนหนึ่งเรียกได้ว่าเป็นรากฐานของ Psychological Safety หรือเป็น Level 1 ⁣⁣
⁣⁣
แต่หลายคนก็สับสนระหว่างคำว่ารู้สึกปลอดภัย กับการเลี่ยงปัญหา นั่นเป็นเพราะหลาย ๆ องค์กรนั้นมี Psychological Safety ถึงแค่ Level นี้เท่านั้น หรือมีความเข้าใจถึงแค่ระดับนี้ แต่ที่จริงแล้วนั้นการพยายาม Psychological Safety จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ ถ้าเราไม่ตั้งเป้าไปที่การนำมาซึ่งไอเดียที่แตกต่าง และนวัตกรรม และนั่นคือขั้นถัดไป⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔵 2. Diversity of Thought (ความคิดที่หลากหลาย)⁣⁣
⁣⁣
ความคิดต่างที่หลากหลายคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ทีมสามารถสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมให้เกิดขึ้นได้ เพราะความคิดที่แตกต่างกันมาก ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ Groupthink ที่ทุกคนมีความเห็นตาม ๆ กันไปโดยไม่ผ่านการคิดจริง ๆ จัง ๆ⁣⁣
⁣⁣
นั่นทำให้นอกเหนือจากการที่สมาชิกรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งแล้ว สมาชิกยังรู้สึกปลอดภัยที่จะนำทักษะ มุมมอง หรือความเชี่ยวชาญที่เฉพาะทางของตัวเองมาใช้กับการทำงาน กล้าที่จะพูดถึงประเด็นยาก ๆ และคิดต่างจากคนอื่น ๆ โดยใน Level 2 นี้มันคือบรรยากาศที่ชวนให้สมาชิกทีมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของกันและกันโดยไม่มีการรู้สึกว่าถูกโจมตีเป็นการส่วนตัว⁣⁣
⁣⁣
🟡 3. Innovation (นวัตกรรม)⁣⁣
⁣⁣
หัวใจสำคัญของขั้นบันไดนี้คือสำหรับ Psychological Safety แล้วยิ่งเราไต่บันไดนี้ขึ้นมาสูงเท่าไหร่ มันยิ่งรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นที่จะเสี่ยง⁣⁣
โดยใน Level 3 นี้คือจุดหมายปลายทางของการพัฒนา Psychological Safety ของเรา หรือการพัฒนาศักยภาพทีมในขั้นสูงสุด ซึ่งเป็นเป้าหมายที่หลาย ๆ องค์กรตามหา หรือก็คือนวัตกรรม
โดยถ้าองค์กรมาถึงระดับนี้ได้คำว่านวัตกรรมนั้นไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาสินค้า หรือบริการใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ทั้งกับลูกค้า และตัวองค์กรเองที่ทำให้องค์กรปฏิบัติงานกันดีขึ้น ใน Level 3 นี้มันคือความรู้สึกปลอดภัยที่จะท้าทายสิ่งเดิม ๆ ที่มีัอยู่แล้ว และตั้งคำถามไปยังความเป็นไปได้ใหม่ ๆ กล้าที่จะทดลอง และกล้าที่จะผิดพลาด⁣⁣
::::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
หลาย ๆ ที่พยายามสร้าง Psychological Safety เพื่อที่พัฒนาศักยภาพทีม หรือไม่ก็เพื่อกระตุ้นให้พนักงานสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์กร แต่ความยากคือที่ผ่านมาหลายที่มองเรื่องนี้เป็นแค่ขาวกับดำ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว Psychological Safety คือสิ่งที่มีระดับของความมากน้อยที่สามารถพัฒนา และถอยหลังได้
โดยทั้ง 3 ระดับโดยคุณ Gustavo Razzetti ได้แก่ 1. Belonging 2. Diversity of Thought และ 3. Innovation จะช่วยให้องค์กรประเมินตัวเองได้มากขึ้นว่ามาถูกทางมากน้อยแค่ไหน และเป็นพื้นฐานในการสร้าง Psychological Safety ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้ง่ายขึ้น⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture⁣⁣
⁣⁣.
.
โฆษณา