6 ธ.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หนี้สาธารณะทั่วโลก อยู่ในระดับที่น่ากังวลใจอีกครั้ง
หนี้สาธาณะทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังสร้างความเจ็บปวดให้กับประเทศต่าง ๆ
โดยเฉพาะประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา
ตัวเลขหนี้ที่ถือครองโดยครัวเรือน รัฐบาล และภาคธุรกิจขณะนี้อยู่ที่ 290 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
1
ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง และ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจผลักดันให้โลกเข้าสู่วิกฤติหนี้ระลอกที่ 5 และเปลี่ยนจากยุคต้นทุนเงินถูกไปสู่ยุคต้นทุนเงินแพง
แม้ว่าระดับหนี้ทั่วโลกจะลดลงจากสถิติของปีที่แล้วที่เป็นผลจากการระบาดของโควิด 19
แต่ความน่ากังวลใจในระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินกลับไม่ได้ลดลงเลย
เพราะผู้กู้จำนวนมากต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางอื่น ๆ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบหลายทศวรรษ เพื่อพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
คุณ David Malpass ออกมาแสดงความกังวลเรื่องระบบการจัดการทางเศรษฐกิจของโลก
ในเรื่องของการจัดการกับการผิดนัดชำระหนี้ในประเทศที่มีรายได้น้อยและหนี้ที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่มีรายได้สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทาง World Bank ได้จัดตั้งสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศ
ซึ่งเป็นสมาคมที่ช่วยเหลือความยากจนขั้นรุนแรงใน 74 ประเทศที่ยากจนที่สุด
โดยเมื่อรวมหนี้ของประเทศเหล่านี้กันแล้ว พบว่า
ประเทศเหล่ามีหนี้สูงถึง 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้
ซึ่งมากกว่าในปี 2021 ประมาณ 35%
ยิ่งไปกว่านั้น การวิเคราะห์โดย United Nations Development Programme พบว่าประเทศกำลังพัฒนา 54 ประเทศที่ระบุว่ามีปัญหาหนี้สินรุนแรงนั้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 3% ของ GDP โลก
และมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากร 600 ล้านคนอาศัยอยู่ในความยากจนขั้นรุนแรง
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนามีหนี้ภาครัฐสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทาง IMF คาดว่าหนี้สาธาณะจะสูงถึง 64.5% ของ GDP ณ สิ้นปี 2022
ทั้ง ๆ ที่ ในปี 2008 หนี้ภาครัฐในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเหล่านี้มีเพียง 33.6 % ของ GDP เท่านั้น
โดยปัญหาที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศเหล่านี้ คือ การผิดนัดชำระหนี้
เนื่องจากสกุลเงินของตัวเองมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้รัฐบาลยังกำลังเผชิญกับค่านำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
และรัฐบาลหลายแห่งก็ยังกู้เงินมาช่วยเหลือแก่พลเมืองของตน
วิกฤติหนี้สาธารณะที่มีอยู่กำลังเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง เช่น อียิปต์และปากีสถาน ในขณะที่ศรีลังกาและแซมเบียมีการผิดนัดชำระหนี้แล้ว
และจากข้อมูลของ IMF ประเทศที่มีรายได้น้อยมากกว่าครึ่งกำลังดิ้นรนกับหนี้สินของตน
ในส่วนของประเทศที่ร่ำรวย โดยทั่วไปแล้วประเทศเหล่านี้สามารถจัดการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นสำหรับหนี้ภาครัฐได้ระยะหนึ่ง แต่นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับหนี้ของประเทศอิตาลีและสหราชอาณาจักรที่เพิ่งประสบกับวิกฤติตลาดตราสารหนี้มา
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงส่วนใหญ่ตกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
โดยเฉพาะประเทศที่กู้เงินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับภาคธุรกิจ หลาย ๆ ภูมิภาคของระบบการเงินโลกกำลังแสดงสัญญาณของวิกฤติสินเชื่อแล้ว
แม้ว่ารัฐบาลในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งกู้ยืมเงินในสกุลเงินของตนเองมักจะไม่ประสบกับความยากลำบากในทันทีเช่นเดียวกับครัวเรือนหรือภาคธุรกิจเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
แต่พวกเขาก็ยังเผชิญกับภัยคุกคามจากอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร Liz Truss ที่ได้เปิดตัวแผนการลดภาษีที่ไปกระตุ้นความกังวลในหมู่นักลงทุนและสร้างความกลัวในตลาดเงิน
ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการดังกล่าว คือ การ ปัญหาความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาล
และสหราชอาณาจักรยังคงเผชิญกับต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปีหน้า
📌 ผู้บริโภคกำลังจะถูกบีบด้วยหนี้สิน
หนึ่งในหนี้ที่อันตรายที่สุด คือ หนี้ที่อยู่อาศัย ที่ถ่วงรายได้ผู้บริโภค
ตลาดที่อยู่อาศัยมักมีอัตราดอกเบี้ยในอัตราลอยตัวสูง
ซึ่งหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่เพิ่มขึ้นจะถูกส่งผ่านไปยังผู้กู้อย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น
ประเทศทางตอนเหนือของยุโรปก็กำลังประสบปัญหานี้
ประเทศสหราชอาณาจักรที่ตอนนี้มีการชำระหนี้ที่อยู่อาศัยอยู่ในเกณฑ์ที่เกิน 10% ของรายได้ครัวเรือนทั้งหมดแล้ว
ในขณะที่ผู้ครอบครองที่อยู่อาศัยในประเทศแถบเอเชีย เช่น เกาหลี มาเลเซีย และไทย ก็กำลังจะถูกบีบจากการที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา