11 ธ.ค. 2022 เวลา 13:56 • ครอบครัว & เด็ก
"เด็กเลี้ยงแกะ"
จากประสบการณ์เป็นแม่และเป็นคุณครูชั้นเรียน Sunday school แม่หมีพบว่า เด็กเล็กวัยอนุบาลก็เริ่มพูดไม่ตรงความจริงบ้างแล้ว
กินข้าวหมดมั้ย ...หมด ...แต่ความจริงเหลือเต็มชาม
ใครแกล้งเพื่อน? ...ไม่ใช่ ไม่มี หนูไม่รู้
พฤติกรรมเหล่านี้ หากมองอย่างคนที่ไม่ใช่
ผู้เชี่ยวชาญ เกิดขึ้นจาก 3 สาเหตุ
1) พูดไม่จริงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
2) พูดเพื่อทำให้ผู้ฟังรู้สึกสบายใจ ดีใจ
3) พูดไม่จริงเพื่อหนีความผิด
กินข้าวหมดมั้ย ...หมด ตอบแบบนี้เพราะถ้ากินหมดแม่จะดีใจ ไม่ก็ให้ลูกอม ขนม ต่อ
ใครแกล้งเพื่อน? ...หนูไม่รู้ เพราะกลัวความผิด รู้ว่าผลของการแกล้งเพื่อน พ่อแม่จะทำยังไง ครูจะทำยังไง
หากเป็นกรณีแรก ซึ่งพึ่งเกิดสด ๆ ร้อน ๆ 😅
แม่หมีให้งดลูกอม 1 วัน ต่อให้กินมื้อถัดไปหมดก็ตาม
...หม่าม้าไม่โอเคที่หนูไม่พูดความจริง ดังนั้นอดลูกอมนะครับ แล้วถ้ามื้อถัด ๆ ไปกินข้าวไม่หมดอีก
เราจะอดลูกอมเพิ่มไปอีก 1 วัน
หากเป็นกรณีที่ 2 จริง ๆ ลูกเราหวังดี ไม่ก็อยู่เป็น 😁 เราจึงไม่จำเป็นต้องต่อว่าลูกหรือกระแนะกระแหนเค้าให้รู้สึกเขินอายหรือรู้สึกแย่จากความหวังดีนั้น แต่เราสามารถบอกลูกเป็นนัยได้ค่ะว่า
แม่รู้ว่าที่หนูพูดชมคุกกี้ของแม่ว่าอร่อยเพราะ...แม่ขอบใจมากเลยนะ แต่จะดีกว่าถ้าหนูจะ feedback ตรง ๆ แม่จะได้ปรับปรุงสูตรให้อร่อยสุดยอดไปเลยจ่ะ
สำหรับกรณีที่ 3 อันนี้ ยังไม่เคยเจอกับตัวในฐานะแม่ (แอบดีใจ) แต่มีประสบการณ์ตรงในฐานะลูก
บอกได้เลยค่ะว่า ที่ไม่พูดความจริง เพราะต่อให้พูดจริงไป อาม่าก็โมโหมากอยู่ดี ลงโทษหนักอยู่ดี เลยเลี่ยงดีกว่า อย่างน้อยก็มีโอกาสรอดฟระ 😂
ดังนั้น กรณีที่ 2 นี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องกลับมาย้อนดูแล้วล่ะค่ะว่า เรามีปฏิกิริยาตอบสนองหรือแสดงสีหน้าอย่างไรเวลาที่ลูกกล้าสารภาพความจริง เพราะเราเองนั่นแหละอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ
❤❤❤❤❤❤❤
แม่หมี เพจ #เลี้ยงลูกง่ายๆสไตล์ฉัน
#เลี้ยงลูกเชิงบวก ลูกไม่บวก แม่บวกเองจ้า
โฆษณา