12 ธ.ค. 2022 เวลา 12:10 • ความคิดเห็น
มารู้จัก Ural oil ขุมน้ำมันรัสเซียกันหน่อยดีกว่า...
ทำไมเซเลนสกี้ ถึงไม่พอใจกับเพดานน้ำมัน60$ของ G7?
หลายคนหัวเราะเยาะ มาตรการตั้งเพดานราคาน้ำมันรัสเซียของ G7 ว่าเป็นไปไม่ได้ ?
...ใครที่งงกับเซเลนสกี้และหัวเราะเยาะมาตรการของ G7
นั่นเพราะท่านอาจไม่รู้ความจริงบางอย่าง เพราะสื่อที่ท่านเสพ เขาไม่ยอมพูดถึง เนื่องจากมันดูไม่ดีนักกับรัสเซีย...
1
...ความจริงที่ว่า คือ ความจริงในตลาดน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ของรัสเซีย ว่ามันอาจไม่ได้อู้ฟู่อย่างที่ท่านคิด
...เพราะน้ำมันของรัสเซียนั้นไม่ได้ใช้ราคาอ้างอิงตามราคาตลาดโลก ชาวโลกเรียกมันว่า Ural oil ...
...ว่าจะเขียนมาหลายรอบแล้ว เห็นส่วนมากไม่ค่อยรู้กัน แล้วก็เชื่อข่าวกันผิดๆถูกๆ ซึ่งไม่แปลก นี่ถ้าผมไม่ใช่คนเทรดก็คงไม่รู้เหมือนกัน
3
...เรามาทำความรู้จักกับมัน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์กันมากขึ้นหน่อยดีกว่า....
Ural oil คืออะไร ?
อย่างแรกที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับราคาพลังงานฟอสซิล
คือ มันมีหลายเกรด มีหลายจุดส่งมอบ จึงมีหลายราคาอ้างอิง
1
เช่น อย่างของยุโรปเหนือ ทางนอร์เวย์ หรือของอังกฤษ
ในทะเลเหนือ คือ Brent oil
น้ำมันพวกนี้มีคุณภาพดีที่สุด เพราะขุดเจาะที่ความลึกมาก
มีสิ่งเจือปนนัอย จึงมีราคาอ้างอิงสูงที่สุดในตลาดโลก
1
โดยน้ำมันที่มีคุณภาพระดับนี้ ที่เทียบเท่าในโลกนั้นมีไม่มากแหล่งนัก ที่ชัดๆคือ เชลล์ออยล์ของอเมริกา และน้ำมันจากทรายน้ำมันของแคนาดาเท่านั้น
( ที่อื่นก็มี แต่น้อยกว่าคุณภาพเฉลี่ยโดยรวมของแหล่ง)
1
ในกรณีของรัสเซียนั้น น้ำมันพวกเขาก็มีราคาอ้างอิงเฉพาะ
คือ Ural oil นี่แหละ
1
Ural oil นั้นจัดเป็นน้ำมันที่คุณภาพแย่ที่สุด ในทุกราคาอ้างอิง ความหนืดสูง มีสิ่งเจือปนมาก มีน้ำผสมเยอะ
จัดเป็นเกรดน้ำมันเปรี้ยว มีความวุ่นวายในกรกลั่น ให้ผลผลิตน้ำมันสำเร็จรูปน้อยกว่าแหล่งอื่น
ราคาจึงต่ำที่สุดไปด้วย
5
ประกอบกับการขนส่งทางเรือ ณ.จุดส่งมอบ ค่อนข้างมีต้นทุนสูง ทำให้ต้องขายในราคาต่ำ เพื่อให้แข่งขันกับน้ำมันในตลาดอื่นได้
2
ดังนั้นลูกค้าหลักของน้ำมันรัสเซียจึงเป็นประเทศที่มีความเป็นไปได้ในการส่งทางท่อมากกว่า การส่งทางเรือ
2
ในกรณีนี้ ยุโรปยังเป็นตลาดใหญ่ที่สุดอยู่ เพราะทางจีนหรืออินเดีย เพิ่งเริ่มวางโครงข่ายท่อเพิ่มเติม
อาจต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าที่จีนจะซื้อได้ในปริมาณเท่ายุโรป ทั้งในส่วนของน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
...ซึ่งเวลาขนาดที่คาดการณ์คือ 10 ปี มีความเป็นไปได้ว่า เมื่อถึงวันนั้น โลกจะเปลี่ยนผ่านยุคของพลังงานฟอสซิลไปแล้ว ...
1
https://images.app.goo.gl/jxQ74WskUnfJZ8kw7
จากการที่น้ำมันรัสเซีย หรือ อูราลออยล์ มีคุณภาพต่ำ
มีค่าใช้จ่ายในการกลั่นสูง และได้ผลผลิตน้ำมันสำเร็จรูปน้อยกว่าน้ำมันแหล่งอื่น มันจึงไม่สามารถใช้ราคาอ้างอิงในระดับเดียวกันได้
และบางประเทศก็ไม่มีโรงกลั่นที่พร้อมจะใช้น้ำมันเกรดนี้
....ทุกโรงกลั่น อาจกลั่นน้ำมันได้ทุกเกรดก็จริง
แต่จะทำให้อายุของเครื่องกลั่นต่างๆ มีอายุการใช้งาน
สั้นลง ถ้าน้ำมันเกรดไม่ดี และอาจให้ผลผลิตน้ำมันสำเร็จรูปไม่คุ้มค่า บางประเทศจึงหลีกเลี่ยง...
1
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ น้ำมันรัสเซีย จึงมีราคาต่ำกว่า
ราคาน้ำมันแหล่งอื่นในตลาดโลกอยู่ราวๆ 20-30%
แล้วแต่ความต้องการของตลาดในช่วงนั้น
ในปีที่ผ่านมา หลังสงครามยูเครนเริ่ม ราคาอูราลออยล์
จะต่ำกว่าราคาแหล่งอื่นที่เฉลี่ย 20ดอลลาร์
ในช่วงพีคกลางปีที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดโลกมีราคาขายพุ่งไปถึง 140 $ รัสเซียจึงขายน้ำมันได้เพียง 111$/บาร์เรล ในช่วงสั้นๆเท่านั้น
ก่อนที่ อูราลออยล์ จะลงมาอยู่ที่ค่าเฉลี่ยปกติ
และมีแนวโน้มลดง มาที่ราวๆ 60-70$/บาร์เรลเท่านั้น
2
...และในปัจจุบัน ก็ร่วงลงมากที่สุด มาอยู่ที่ราวๆ 50
ดอลล่าร์กว่าๆเท่านั้น ร่วงลงมามากกว่าก่อนเกิดสงครามเสียอีก...
2
เพราะราคาขายน้ำมันตอนนี้ของรัสเซียอยู่ที่ 60$ อยู่แล้ว
1
การที่ G7 ไปตั้งราคาเพดานน้ำมันรัสเซียไว้ที่ 60$
จึงทำให้เซเลนสกี้ และทางโปแลนด์ไม่พอใจ
ว่าเพดานการจำกัดราคานั้นสูงเกินไป พวกเขาต้องการที่
40$/ บาร์เรล
2
ไม่ใช่ว่ามันทำไม่ได้ แต่เพราะรัสเซียขายราคานั่นอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่ว่า เพดานราคาน้ำมัน จะไม่มีประโยชน์ซะทีเดียว...
มีความเป็นไปได้ว่า G7 นั้น มองว่าในอนาคต รัสเซียจะไม่สามารถขยับราคาได้มากกว่านี้
หากน้ำมันมีจะการขยับตัวที่แพงขึ้น ในกรณีเศรษฐกิจ
ฟื้น หรือจีนมีการเปิดประเทศแบบเต็มที่ ซึ่งจะเพิ่มความต้องการของตลาด
พวกเขาก็จะยังบีบไว้ได้ที่ราคา 60$ ไม่ให้มากกว่านั้น
เพื่อตัดกำลังของรัสเซียทางเศรษฐกิจ
2
มองเผินๆ เราอาจบอกว่า ถ้ารัสเซียไม่พอใจราคา
พวกเขาก็ไม่ขายให้ได้ ไม่กระทบแน่
แต่ความจริงรัสเซียทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะช่องทางหาเงินอื่นของพวกเขาไม่มีมากนัก ลำพังก๊าซธรรมชาตินั้นคงไม่พอพยุงเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ได้
1
การจำกัดเพดานราคานั้น มันเหมือนกับการที่ G7
บีบผู้ซื้อทั่วโลก มากกว่าการที่จะบอกว่าพวกเขาเอง
จะซื้อในราคาที่ตัวเองตั้งเพดาน
เพราะจะอย่างไร ทั่วโลกก็มีปฏิสัมพันธ์ทางการค้ากับ
G7 อยู่มาก
ดังนั้น G7 จะใช้จุดนี้บีบชาติต่างๆให้ซื้อน้ำมันรัสเซียในกรอบราคานี้ หากไม่อยากมีปัญหากับพวกเขา
...เช่น เวียดนาม ที่ซื้อน้ำมันรัสเซียมากที่สุดในอาเซียน
แต่พวกเขามีพันธะกับ G7 ค่อนข้างมาก
เพราะเป็นประเทศส่งออกก และอยู่ในเครือข่าย CPTPP ซึ่งนำโดย สหรัฐและญี่ปุ่นที่อยู่ใน G7
1
...ดังนั้นเวียดนามจะต้องชั่งน้ำหนักว่า จะซื้อน้ำมันรัสเซียเกินเพดาน จนอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกหรือไม่
ได้คุ้มเสียหรือไม่ แบบนี้เป็นต้น
...และจะไม่ใช่เวียดนามชาติเดียว ที่จะต้องอยู่ในสภาพนี้
จากการกดดันของ G7 ไทยเราก็คงไม่รอด
1
...จะว่าไป มันอาจมีผลกับทั่วโลกด้วยซ้ำ เพราะ G7 คือปลายทางของสินค้ามากกว่าครึ่งบนโลกใบนี้
...ดังนั้น การกำหนดเพดานของ G7 นั้น ไม่ใช่เรื่องน่าขำแต่อย่างใดเลย แถมยังบีบให้ใช้บริษัทขนส่ง ประกันของพวกเขาอีก จะอย่างไร ก็กระทบกับรัสเซียแน่นอน
1
...ไม่งั้นทางรัสเซียคงไม่โวยวายอย่างที่เห็นแน่...
ราคาอูราลออยล์ จะค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับราคาอ้างอิงอื่น อย่างงฃปีนี้ช่วงพีคสุด มีระยะห่างของราคากับเบรนท์มากกว่า 30$/บาร
การที่ทางปูตินไปพูดที่การประชุมประเทศเอเชียกลาง
กับอดีตประเทศในเครือโซเวียตว่า
"ราคาพลังงาน จะเป็นสงครามระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย"
1
คำกล่าวนี้ ถูกต้องที่สุด และน่าจะเป็นการส่งสัญญานไปที่
ผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางด้วย
เพราะเพดานราคาซึ่งจำกัดนี้ อาจทำให้โอเปก ตัดสินใจ
ลดการผลิตลงอีกเพื่อดันราคาขึ้นไปให้สูงขึ้น
...นี่คือสิ่งที่รัสเซียต้องการ คือ ให้น้ำมันในตลาดมันขาด
ก็จะบีบให้เกิดการส่งออกอูราลออยล์ได้ง่ายเอง...
1
สามารถบอกได้ว่า ชะตากรรมของรัสเซียนั้น
อยู่ในมือโอเปค ก็คงไม่เกินเลย
2
แต่โอเปคจะบ้าจี้ตามรัสเซีย มันก็ไม่ง่าย
แม้จะมองเผินๆ ว่าพวกเขาจะได้ประโยชน์ไปด้วยก็ตาม
อย่างแรกคือเรื่องจีนและอินเดีย และพันธมิตรรัสเซียที่ได้ส่วนลดราคาพลังงาน มันกวนใจโอเปคมากไป
เพราะลูกค้ารายใหญ่คือ จีนและอินเดียนั้น มีข้อตกลง
กับรัสเซีย ว่าซื้อพลังงานด้วยส่วนลด 30%
หมายถึงว่า ด้วยราคาปัจจุบันที่ราว 70$ ต่อบาร์เรลนั้น
จีนและอินเดีย สามารถซื้อน้ำมันรัสเซียได้ที่ 45$ เท่านั้น
พวกเขาจึงไม่ดิ้นรนที่จะไปซื้อเจ้าอื่นเพิ่ม
เมื่อเป็นแบบนี้ เท่ากับรัสเซียไปตัดดีมานด์ของ
สองชาติยักษ์ในเอเชีย ที่มีต่อโอเปคให้น้อยลง
กลายเป็นรัสเซีย ซัพพอร์ตตลาดโลกด้วยราคาต่ำ ในสัดส่วนการใช้ ที่มากพอสมควร ไปโดยปริยาย
ซึ่งแน่นอนว่าโอเปกก็คิดหนัก และไม่ชอบแน่
ที่รัสเซียทำแบบนี้ เพียงแต่ยังไม่แตกหักก็เท่านั้น
และยิ่งรัสเซียจะหวังให้โอเปค ไปช่วยดันราคา
โอเปคก็จะยิ่งไม่ได้กำลังซื้อส่วนนี้กลับมา
เพราะมันเหมือนเร่งให้ชาติที่ได้ส่วนลด รีบสั่งของถูกจากรัสเซียเพิ่มอีกมากกว่า มันจึงไม่มีประโยชน์ ที่พวกโอเปคจะบ้าจี้ ตามรัสเซียเลย
2
และโอเปคเองก็ต้องคิดหนัก เกี่ยวกับผลกระทบต่อตัวเอง
เพราะไม่ใช่ว่าน้ำมันแพงแล้วมันดีกับพวกเขาเสมอไป
โอเปคเองก็ลงทุนในธุรกิจอื่นเช่นกัน
1
หากไปขึ้นราคาจนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงทั่วโลก โอเปคเองก็เจ็บหนักไปด้วย และไม่ได้ไม่เสียหาย หรือเสียหายกับพวกเขา น้อยอย่างที่ใครคิด
โอเปคหลายชาติ กำลังเริ่มก่อร่างสร้างธุรกิจ ที่ไม่เกี่ยวกับ
น้ำมัน เพื่อความอยู่รอดในอนาคต เมื่อยุคการเปลี่ยนแปลงพลังงานมาถึงโดยสมบูรณ์
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวมากไป จะทำให้ธุรกิจที่พวกเขาวางแผนไว้เพื่ออนาคตไม่โต หรือโตช้า
ซึ่งจะส่งผลกับแผนระยะยาวของพวกเขาเอง
ดังนั้น โอเปคจะไม่ทุบเศรษฐกิจโลก ด้วยการขึ้นราคาพลังงานมากจนเกินไป ตามที่รัสเซียต้องการแน่นอน
เราจะเห็นว่าล่าสุด ในการประชุมโอเปคพลัส ที่มีรัสเซีย
อยู่ด้วก็เสียงแตกในการลดกำลังการผลิต ตามที่รัสเซียเสนอ มันก็ด้วยเหตุผลนี้แหละ...
สงครามราคาพลังงาน คงต้องดูเกมส์กันอีกยาว
อย่างน้อยก็เท่าช่วงเวลาที่สงครามในยูเครนยังมีอยู่
มันเป็นการประลองกำลัง ระหว่างคนซื้อ กับ คนขาย
อย่างที่ปูตินพูดจริงๆ
...คนขายน้ำมัน มีของที่ทุกคนต้องการ เป็นตัวประกัน
...คนซื้อน้ำมัน มีเศรษฐกิจของทั้งโลก เป็นตัวประกัน
ใครจะอยู่ ใครจะไป ไม่มีใครรู้
เพราะเกมส์นี้ยังอีกยาวนานนัก และเกี่ยวข้องกับทั้งโลก
1
...ไม่ใช่แค่รัสเซียและตะวันตกที่เป็นตัวละครสำคัญ...
...จึงเดาผลของมันยากมากๆ...
แต่ที่แน่ๆ รัสเซียจะลำบาก และไม่สบายอย่างที่โฆษณาแน่
ทั้งชาวบ้าน และรัฐบาลปูติน เดือดร้อนไม่น้อยหรอก
1
ก็คิดดูระบบธนาคารโดนแช่แข็ง แบงค์รัสเซียเอาเงินไปลงทุนมาหมุนไม่ได้ ตลาดจีนที่หวังจะพึ่ง ช่วงนี้ก็ไม่อยู่ในสภาพที่ดี
แต่รัฐก็ต้องอุ้มธนาคารต่างๆ รวมถึงระบบเศรษฐกิจ
เอาไว้ ซึ่งมันใช้เงินมหาศาล
มันอาจมากกว่าค่าใช้จ่ายในสงครามหลายเท่าด้วยซ้ำ
แต่ตัวรัสเซียเองขายพลังงาน กำไรน้อยลง
รายได้น้อยลง เพราะอยากได้พวกในการทำสงคราม
เลยขายแบบลดแลกแจกแถมไป 30%
แล้วไอ้ชาติที่ได้ลด 30% นี่ก็ดันเป็นชาติใหญ่
เขาได้ถูก มันก็กระเทือนกับความต้องการส่วนที่เหลือ
ทั้งโลก ราคามันก็ไม่วิ่งอย่างที่รัสเซียต้องการสิ
ของตัวเองถูกอยู่แล้ว มันก็เลยถูกหนักเข้าไปอีก
1
เพราะงี้ผู้ผลิตพลังงานคนอื่น เค้าถึงเหนื่อยหน่ายรัสเซีย
จนเทรัสเซียมาแล้ว อย่างที่เห็นกัน ในการประชุม
1
ยากนะที่รัสเซียจะยืมมือโอเปคเล่นงานตะวันตก
ให้หนักกว่านี้...
...และหากการจำกัดเพดานของ G7 สร้างความกังวลให้บรรดาคู่ค้าของพวกเขา ในการซื้อน้ำมันรัสเซียอีกล่ะก็
ราคามันก็จะถูกแช่แข็งอยู่ที่ 60$ สำหรับอูราลออยล์
เพราะคนซื้อจะกดเอาไว้ด้วยข้ออ้างตรงนี้
...ด้วยอัตราเงินเฟ้อรัสเซียที่ 10% กว่าๆในปีนี้ ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันต่อบาร์เรลของรัสเซีย ขยับขึ้นมาที่ 20$/บาร์เรล
...เท่ากับว่า ถ้าขายในตลาดปัจจุบันโดยไม่มีส่วนลด รัสเซียจะมีกำไรประมาณ 20$ ต่อบาร์เรลเท่านั้น เมื่อหักค่าดำเนินการอื่น...
...และส่วนมากที่ขายให้จีนและอินเดีย หรือพันธมิตรอื่น
อาจมีกำไรราวๆ 10$/บาร์เรล เท่านั้น...
...มันพอไหม กับค่าใช้จ่ายในสงคราม และการเยียวยาระบบเศรษฐกิจของรัสเซียที่กำลังถูกทำลายไปเรื่อยๆ...
...บางที คำตอบมันไม่ต้องไปหาไกลหรอก...
...จำนวนคนรัสเซียที่หนีมาอยู่เมืองไทยชั่วคราวนั่นแหละ
...มันบอกเราได้ชัดเจนเลย ว่าสภาพรัสเซีย ในสายตาคนรัสเซียเป็นอย่างไร....
1
...พูดไม่ได้ ติดคุก ก็หนีมันซะเลยนั่นแหละ...
2
ปล. ตามข่าวที่ว่ารัสเซียขายน้ำมันได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน มีรายได้มากขึ้น อันนี้จริง เมื่อดูจากตัวเลขช่วงต้นสงคราม แต่มันเป็นการเทียบกับช่วงโควิด ซึ่งพลังงานมีราคาต่ำกว่าปกติมาก หากเทียบค่าเฉลี่ยในภาวะปกติ จะพบว่ส รัสเซียขาดทุน เสียรายได้ไปค่อนข้างมาก จากการขายพลังงาน
2
อ้างอิง
โฆษณา